รวมเป็นอาเซียนมีแต่ประโยชน์


รวมเป็นอาเซียนมีแต่ประโยชน์

 

รวมเป็นอาเซียนมีแต่ประโยชน์

 

            ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียน เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ประเทศในโลกประชาธิปไตยกำลังกังวลต่อการเผยแพร่ของลัทธิคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ความศรัทธาเชื่อถือต่อประเทศมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยสนับสนุนความเป็นชาตินิยม พึ่งพาตนเอง จึงการรวมกลุ่มเป็นประเทศอาเซียนนั้น

            หลังจากที่ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนทั้ง 5 ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพแล้ว ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว

            ต่อมา เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ไม่นานหลังจากนั้นลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 8 และ 9 ตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแข้งทางการเมืองภายในประเทศจนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว

            ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2549 โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามในความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันติมอร์ตะวันออกอยู่ในฐานะประเทศผู้สังเกตุการณ์เป็นเวลา 5 ปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์

            จาก 10 ประเทศ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวในนามของอาเซียนทำให้มีความแข็งแกร่ง การหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว กลุ่มประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์มากมาย

เศรษฐกิจฟูเฟื่อง

          เมื่อมีประเทศสมาชิกอาเซียนมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2533 มาเลเซียนได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเซียนตะวันออกซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก และภูมิภาคเอเซียโดยรวม แต่ข้อเสนอดังกล่างถูกยกเลิกไปในครั้งแรก เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้

            ในพ.ศ. 2535 มีการลงนามในแผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้า และการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฏหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเซีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่หรือที่รู้จักกันว่า “การริเริ่มเชียงใหม่” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเซียอีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หรือเรียกว่า ASEAN+3

 

อนาคตอันรุ่งโรจน์ของประชาคมอาเซียน

            ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา

            วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558

            ในเดือนพฤศจิกายน 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

            เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพี คิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก

            วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2553-2563

            ปี พ.ศ. 2555 ติมอร์ตะวันออกมุ่งหวังจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 11 โดยมีการยื่นจดหมายขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำในกรุงจากาตา ซึ่งอินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศยากจน ในขณะที่อาเซียนก็มีภาระต้องดูแลประเทศสมาชิกเดิมค่อนข้างมากอยู่แล้ว

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากหนังสือ รู้จักประชาคมอาเซียน สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์

หมายเลขบันทึก: 490539เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท