มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
มรสน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำแนะนำการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ


การเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ

    ความก้าวหน้าในวงวิชาการเกิดจากหลายปัจจัย หนึ่งในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการเผยแพร่ความรู้ความคิดในรูปของบทความวิชาการและบทความวิจัย
    การตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยก่อให้เกิดผลดีนอกเหนือจากการขยายกรอบความรู้ในหมู่นักวิชาการ เช่น ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การได้มาซึ่งตำแหน่งทางวิชาการ การมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก/ยอมรับ การได้รับเครดิตในการเสนอขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย เป็นต้น

คำแนะนำในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์

  1. องค์ประกอบของบทความมี 3 ส่วน
    1. ส่วนต้นประกอบด้วย ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อ 
    2. ส่วนเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และการอภิปรายผล
    3. ส่วนสุดท้ายประกอบด้วย เอกสารอ้างอิง
  2. ภาษาที่ใช้ในบทความควรกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และใช้คำให้คงที่เสมอต้นเสมอปลาย
  3. การเสนอผลการศึกษา หากมีตารางหรือภาพประกอบจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
  4. การอภิปรายผล เป็นส่วนที่แสดงภูมิความรู้ของผู้วิจัย ดังนั้นต้องอธิบายให้ชัดเจน เป็นเหตุเป็นผลและมีหลักฐานหรืองานอื่นๆสนับสนุน
  5. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลวิจัยไปใช้ ควรเสนอแนะจากผลที่พบในการวิจัย ไม่เสนอแบบเวอร์ หรือ ทำไม่ได้
  6. เอกสารอ้างอิง ควรมีเฉพาะเอกสารที่ปรากฏ หรือ ใช้อ้างอิงในบทความ

ผศ.ดร.วัลนิกา  ฉลากบาง

หมายเลขบันทึก: 489684เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ กำลังจะสงเรื่องตีพิมพ์พอดี

มหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมให้แก่บุคลากร เป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท