ComMedSci
วิทยาศาสตร์การแพทย์สู่ชุมชน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

รู้จัก ComMedSci กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


       ก่อนที่จะเดินหน้าไปบันทึกอื่นๆ ด้วยความที่เราเปิดพื้นที่ใหม่ ก็ขออนุญาตขอโอกาสแนะนำตัวให้สมาชิกชาว Gotoknow ได้รู้จักหากท่านใดเคยอ่านบันทึก เรื่องเล่าจาก ศวก.ที่ ๖ (ขอนแก่น) ของใบไม้ร้องเพลง ก็คงพอจะคุ้นๆหูกับคำๆนี้นะคะเอาเป็นว่าขอแนะนำกันเลย

Com Med Sci หรือ CMS มาจากคำว่า

Community Medical Sciences

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เริ่มดำเนินงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนมาตั้งแต่ปี 2549

 โดยมีแนวคิดหลักในการดำเนินงาน คือ

พัฒนาปรับเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่

ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของชุมชน

แล้วนำเทคโนโลยีไปถ่ายทอด

พร้อมผสมผสานกับการบริหารจัดการของชุมชน

เพื่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายในชุมชน

ไปสู่การดูแลความปลอดภัยด้านสุขภาพ

และคุณภาพชีวิตของชุมชนและประเทศด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน

 

(ที่มาhttp://www.dmsc.moph.go.th/webroot/SamutSongkhram/commedsci/origin.htm)

 

เป็นการดำเนินงานที่นำเทคโนโลยี นวัตกรรม องค์ความรู้ ที่มีในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผ่องถ่ายสู่ชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่

จากวันนั้นจนถึงวันนี้มีหลายปัญหาที่ถูกแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมเช่น

 

กรณีตะกั่วใน ตู้น้ำเย็นนำไปสู่การประกาศห้ามใช้ตะกั่วในการบัดกรีหม้อก๋วยเตี๋ยว

และการให้ยุติการใช้ตู้ทำน้ำเย็นที่ใช้ สารตะกั่วบัดกรีในโรงเรียนทั่วประเทศ

 การมีชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการการใช้น้ำมันทอดซ้ำที่ปลอดภัย

 นอกจากนี้แล้วยังทำให้ มีชุมชนไม่น้อยกว่า 520 ชุมชนสามารถเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยในจำนวนนี้มีชุมชนที่เข้มแข็งมีความสามารถที่จะเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ด้วยตนเองมากกว่า 50 ชุมชน

 นวัตกรรมมากมายที่ถูกคิดค้นโดยบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ช่วยเป็นเครื่องมือให้ อสม. หรือแม้กระทั้ง หน่วยบริการสาธารณสุขมูลฐานต่าง ๆ รวมถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามารถเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ได้เอง สะดวก รวดเร็ว ฉับไว

               

                                                                                                          

                                               

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก "ศูนย์ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์" ตามลิง์นี้เลยค่ะ

http://www.dmsc.moph.go.th/testkit

 

เรียบเรียงโดย ภาวดี น้อยอาษา  ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๖

วันพุธ ที่ 30 เดือน พฤษภาคม 2555

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ComMedSci ได้ที่ 
http://www.dmsc.moph.go.th/board/index.php?board=20.0 และ
http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/commedsci 
ถามตอบความเคลื่อนไหวใส่ใจคนทำงาน

หมายเลขบันทึก: 489604เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Wonderful to meet ComMedSci.

You are just what I have been looking for. If you are charged with the responsibility for: การดูแลความปลอดภัยด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของชุมชนและประเทศด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน then can you please look at คนถางทาง's
ทุกครั้งที่กินปลาทูนึ่ง..ควรคำนึงถึงเชิงตะกอน
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/488844

Surely, this is a high impact and worrying public health issue. It should not be passed around like a hot potato.

Let us hear the good news ;D

ขอบคุณค่ะคุณ sr ที่แวะมาและแชร์ปรัชญา

Oh, I said a wrong thing again, didn't I?

I meant to ask you if you can help in the matter told in

ทุกครั้งที่กินปลาทูนึ่ง..ควรคำนึงถึงเชิงตะกอน

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/488844

I didn't mean to 'share any philosophy' or 'ideas'.

I meant to ask for "ACTION".

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท