"การจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย"


อย่าด่วนตัดสิน วางมันลงแล้วฟังให้จบ พิจารณาก่อนเถิด

 

"การจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย"
อันดับแรกต้องมองว่าไม่ได้ขัดแย้งนะครับ มันคือบางคน บางกลุ่ม หรือมนุษย์ทุกๆคนคิดต่างกัน จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับยอมรับได้มากน้อยเพียงไร ผมไม่ตัดสินว่าเราแตกแยกกันนะ ผมว่าเป็นการสร้างความสามัคคีต่างหากลองนึกพิจารณาย้อนไปซิครับว่าปัจจุบันอาจจะมีสองกลุ่มใหญ่ๆหรือสามหรือสี่ก็แล้วแต่จะมองกัน ทีนี้ลองพิจารณาสิครับว่าเมื่อก่อนคนทางอีสานไกลเลยนะจะเป็นกลุ่มเดียวกับคนเหนือหรือไม่ ก็ไม่แน่ชัดนะ เพราะฉะนั้นคนทั้งประเทศก็คิดเห็นต่างกันเป็นหลายร้อยกลุ่มความคิดหรืออาจจะเป็นล้านๆความคิดเห็น ต่างคนต่างอยู่ก็ได้ แต่ลองพิจารณาตอนนี้สิครับกลับเหลือเพียงสอง สามกลุ่มใหญ่ๆในประเทศเท่านั้นครับ อีกสักหน่อยอาจจะเป็นกลุ่มเดียวก็ได้ ใครจะรู้
ประการที่สอง ต้องพลิกมุมมองใหม่ครับว่า ตนเอง เราเองนี้แหละที่ต้องติดตามดูความคิดการตัดสินของเราเองก่อน อย่าด่วนตัดสินอะไรต่อมิอะไร ดู ฟัง ให้จบก่อนครับ หยุด"พิพากษา ตีความ"ก่อน เรื่องวุ่นๆก็จะไม่เกิดครับ
ประการที่สาม เริ่มต้นที่ตนเองครับรับผิดชอบชีวิตตนเองให้ มีวินัย ให้เกียรติคำพูด คือ พูดแล้วทำจริงๆได้ไม่ได้อยู่ที่ทำหรือไม่ทำ ไม่มองไปข้างนอกก่อนนะครับ กลับมองที่ตนเองก่อน ปรับ พัฒนาที่ตนเองก่อน วิธีคิดกับชีวิตตนเอง ผู้คน สังคม รับผิดชอบพื้นที่ชีวิตตนเองให้เต็มที่ หยุดพร่ำบ่นทุกสิ่งที่เกิดในชีวิตตนเอง แล้วรับผิดชอบว่ามันเกิดจากเรา เราเดินเข้าไป หรือเราหยุดอยู่กับที่ในขณะที่บางอย่างเคลื่อนเข้ามา นั้นก็คือการอยู่ตรงนั้นอย่างไม่ปฏิเสธว่าจะไม่รับนะครับ ทุกๆคนเริ่มต้นที่ตนเองก่อนแล้วแบ่งปันครับ การแบ่งปันจะยังให้เกิดสันติภาพครับ
ประการที่สี่ พัฒนาการศึกษา ไม่ใช่ยัดงบ แดกงบ อมงบ เขียนรายงาน จบ! ไม่ใช่! ต้องเปิดพื้นที่ให้องค์กรอิสระครับ นศงให้คิดมากขึ้น ผิดไม่เป็นไร ให้เรียนรู้ครับอย่ายึดติดว่าเรานะทำ คิดมาดีแล้วรุ่นหลังๆต้องทำตาม ไม่! นะครับ อันนี้ก็ตัดสินและตีกรอบให้สังคม คิดตาม คิดแคบ ผูกขาด อยู่เหมือนเดิม ต้องปล่อยให้เรียนในระบบธรรมชาติคือจำเป็นและใช่ได้จริง นักวิชาการคิด หลักสูตรเขาไม่ได้เอาหลักสูตรตอนที่ว่าเมื่อเขาเกิดการเรียนรู้เก็บประสบการณ์ไอเดียจากการนั่งทำธุระส่วนตัวมาใส่ในหลักสูตรนิ ก็คิด เอามาจากตำรา คนเขียนตำราก็อ่านจากตำรา สุดทางมันคิดจากไหนเคยตั้งคำถามหรือไม่? ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ก็มี ชุมชนสมัยโบราณก็ไม่เห็นจะต้องมีหลักสูตรจากนักวิชาการก็ทุกคนก็สามารถอยู่ได้นิ? 
สรุปว่าเริ่มที่ตนเอง พลิกมุมมองการตัดสินพิพากษา พาตัวเรีนนรู้อยู่กับทุกสิ่งในชีวิตที่เกิดขึ้น ปล่อยวางความคัดแย้งในสังคมที่เราๆสื่อๆก็ตัดสิน ตีความแหละเดี๋ยวพอสื่อไม่นำเสนอว่าสังคมคัดแย้ง จัดเวทีนั้น นี้ โน่น เดี๋ยวก็จบไปเองครับ สมัยก่อนสื่อช้า การระดมคน มอบจึงช้าลำบาก เดี๋ยวนี้เฟดแป๊บเดียว ทั่ว ใช่ให้เป็นครับ 
หมายเลขบันทึก: 489442เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท