เส้นผมบังความสุข


เมื่อวันเสาร์ไป รพ.มหาราช เพื่อรับพี่สาวกลับบ้าน จากการผ่าตัด นิ่วในถุงน้ำดี หมวยน้อยไจ่ไจ๋งอแงอยากกินขนมจึงพาไปซื้อที่เซเว่น รพ.มหาราช นม.  เดินไปมาไปจ๊ะเอ๋กับหนังสือเล่มหนึ่ง "เส้นผมบังความสุข" ของพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล  ก็เกิดความสนในสะดุดตั้งแต่ชื่อหนังสือ  ก็เลยควักตังค์ในกระเป๋าซื้อมาอ่าน

        อ่านไปมา เออ! เกิดมาเป็นคนไม่ทุกข์ก็สุขสลับกันไปอยู่ที่กระบวนการคิดต่างหาก เหตุการณ์ทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตนั้น ถ้าเรามองอย่าง Positive  ก็สุข  ถ้ามองอย่าง Negative ก็ทุกข์  

    พระอาจารย์ท่านเขียนไว้ว่า " ความสุขเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกายและใจ ให้ดำรงอยู่ได้ด้วยดี อย่างน้อยก็ขอให้มีปกติสุข คือไม่มีโรคภัยหรือทุกขเวทนาบีบคั้น"

    พอมาถึงตรงนี้ ชลัญธร เริ่มพิจารณาตัวเองซะแล้ว  ชลัญธรเป็นพาร์กินสัน มีโรคภัยหรือทุกขเวทนาบีบคั้น แต่ก็ยังมีความสุข  แสดงว่า ชลัญ ผิดปกติสุข  อ้าวไปกันใหญ่

   อ่านต่อ "ความสุขของคนส่วนใหญ่ อยู่ที่การได้ตอบสนองกิเกส 3 ตัวคือ

    ตัณหา  คือความอยากได้อยากมี

    มานะ คือ ความถือตัวตนและอยากใหญ่

    ทิฐิ  คือ ความยึดมั่น ในความคิดของตัวกููว่า ถูก  ดี  ประเสริฐ 

    ถ้ากิเลส ทั้ง 3 ตัวไม่ถูกการตอบสนอง ก็ทำให้เกิดทุกข์

    อ๋อ!......เข้าใจล่ะ  เพราะกิเลส 3 ตัวนี่ชลัญน้อยก็ เลย  สุขได้ทั้งที่ มีโรคภัยเบียนเบียน

    ตัณหา  ชลัญมีน้อย ไม่ถึงกับอยากได้อยากมี เพราะรู้สึกว่าชีวิตตัวเอง  มาถึง goal ที่ตั้งไว้  อาจจะมากกว่า goal  ด้วยซ้ำ  เช่น  ความร่ำรวย ไม่อยากเพราะทุกวันนี้ มีเงินพอใช้จ่าย  มีบ้านอยู่ ที่อาชีพ  มีที่ทำกิน  ไม่มีหน้สิิิน  ตำแหน่งก็มีพอที่จะอยู่ในสังคม  เรียนโท เอก คงไม่จำเป็น  จบมาพาร์กินสันอย่างชลัญธร  คงใช้ประโยชน์ได้น้อย  อยากมีความรู้ ก็อ่านในอินเตอร์เนต ตอนนี้ก็รู้สึกว่าตัวเองเก่งกว่า  ดร.บางคนอีก ( หลงตัวเอง ว่าไปนั่น)ที่ว่าเก่งกว่านี่ไม่ใช่วิชาการ  ดร.บางคนวิชาการเก่ง  แต่การดำรงชีวิตไม่เก่ง แต่ชลัญวิชาการเด่นในส่วนที่ชลัญทำงานดำรงชีวิตเป็นมีความเป็นอยู่ที่พอเหมาะตามอัตภาพที่อยู่  เป็นต้น  

    มานะ คือ ความถือตัวตนอยากใหญ่  ทุกวันนี้ชลัญไม่ถือ  ไม่อยากใหญ่  โอ๊ยหนักตาย  นน.ร่วม 70 ถือไว้คงหนักแย่  ใหญ่กว่านี้คงไม่ไหวมั๊ง  น่าจะใหญ่พอแล้วแหล่ะ  อ๊ะ.... นอกเรื่องให้ตัวเองมีความสุข  คือชลัญจะมานะในสิ่งที่ทำให้ชลัญมีความสุข เช่นการได้  ใช้ความเจ็บป่วยของตนเอง บำบัดคนที่ เจ็บป่วยอยู่  หรือพยายามหาทางช่วย คนที่ยังทุกข์  เช่นเรื่องแผลกดทับนี่ชลัญ ลุยเต็มร้อย  ทั้งที่ หน้าที่ๆ ทำไม่เกี่ยวข้องกับแผลกดทับสักนิด  แต่เห็นแล้วอดไม่ได้ว่าต้องทำ

    ทิฐิ  นั้นชลัญ จะน้อย  เพราะจะให้เกียรติในคนอื่น ไม่ได้คิดว่าตัวเองเก่งกว่าใคร หรือดี ประเสริฐกว่าใคร  อย่างน้อยๆ  ชลัญก็แย่กว่าใครหลายคน คือ เป็นพาร์กินสัน ทั้งที่คนอื่นไม่เป็น  แล้วทุกข์กันทำไม  ?

       ทั้งหมดทั้งมวลนี้  ไม่ใช่ชลัญไม่มีความทุกข์เลย  แต่ ความทุกข์ของชลัญ มันเป็นเพียงความทุกข์ กาย หากเรากำหนดรู้ ได้ว่าทุกข์เรานั้นเกิดจากอะไร เราก็จะไม่เกิดทุกข์ใจ แต่หากเรา มีทั้งทุกข์กายด้วยโรคประจำตัว  แต่ต้องมาทุกข์ใจเพราะห่วง โน่น  นี่  นั่น  รับรองต่อให้รวยเป็นมหาเศรษฐี ก็ไม่สุข  มีตำแหน่งใหญ่โต  สามารถสั่งคนได้แทบทุกคนรับรองไม่สุข  แท้   เพราะความสุขมันไม่ได้เข้าไปยู่ในกระบวนการคิดแต่แรก 

     ถ้าความสุขกับความทุกข์ยังแยกกันอยู่  ตัวใครตัวมัน  เวลานึกถึงสุข  เจ้าความสุขถึงจะวิ่งออกมาเด่น  แต่เพียงชั่วครู่  พอมีเหตูการณ์มากระทบ  เจ้าความสุขกลับหายไปเร็วจังเลย  ทุกข์เข้ามาแทน  กว่าจะไล่มันหนีได้  ก็อาการสาหัส เพราะทุกข์

     แต่เมื่อไร สุขกับทุกข์ ผสานเป็นเนื้อเดียวกัน  เราก็จะยังสุขตลอดแม้มีทุกข์ เพราะแยกกันไม่ออก  มันอยู่ด้วยกันได้อย่างพอดี พอเหมาะ  แล้วเราจะรู้ว่า  ความสุขนั้นหาไม่ยากเลย  เพราะมันอยู่ ในทุกๆที่  เพียงแต่มองให้เห็น คิดให้เป็น  แล้วเราก็จะสุข แบบปกติสุขได้  แม้อยู่ในภาวะไม่ปกติ

ชลัญธร  ตรียมณีรัตน์  

                    

 กระบวนการคิด เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เราอยู่ได้อย่างสุข หรือทุกข์  อย่าพยายามคิดแบบแยกส่วน  พยายามคิด ให้ผสมผสานจะเกิดความพอดีในการอยู่อย่างสุข ที่ไม่มากเกินจนเมื่อเกิดทุกข์ แล้ว ต้องคร่ำครวญ หรือทุกข์ที่ไม่ทรมานเกิน จนมองไม่เห็นความสุขเลย

คำสำคัญ (Tags): #ความสุข#คิดบวก
หมายเลขบันทึก: 489343เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 05:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สุข ๆ ทุกข์ ๆ  มีคู่กันไป 
  • ถ้าไม่เคยมีทุกข์ ก็คงไม่ทราบว่า สุขเป็นอย่างไร
  • ดังนั้นทุกข์กับสุขก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาหาเราเสมอ
  • คงไม่มีใครทุกข์ตลอดกาล หรือสุขตลอดกาล
  • สุขบ้าง ทุกข์บ้าง  ก็มีสุขดีเนอะ
  •  

....ทุกอย่างเริ่ม..ที่ใจ...(แม่ชีในศาสนาคริสต์..องค์หนึ่ง..หายขาด..จากโรค..พากินสัน..จากความศรัทราและเชื่อมั่น..อันเกิดจากใจ..)...ยายธี

ขอบคุณ  Blankรัชดาวัลย์(อิงจันทร์)  ที่มาให้กำลังใจ  ใช่ค่ะชีวิตเราไม่สุขก็ทุกข์มี 2 อย่าง  อยู่ที่ว่าเราจะเลือดเห็นสิ่งไหนมากกว่า  สำหรับชลัญแล้ว  ไม่ได้เลือกที่จะเห็นทุกข์ ค่ะ  เพียงแต่ทุกข์มันติดตัวตอกย้ำให้เรารับรู้มันทุกวันไม่ต่ำกว่ามันละ 4 ครั้งที่ชลัญธร จะกลายเป็นผู้พิการ  แต่ก็พยายามให้ทุกข์แค่กาย  กำหนดรู้ว่าทุกข์จากอะไร  แล้วรอให้เวลาผ่านไป  ไม่ต้องทำอะไรมาก เดี๋ยวยา Action เมื่อไร ทุกข์ทางกายของชลัญก็หายไปค่ะ

...ผมเคยเขียนบันทึก ขอบคุณความทุกข์ เพราะทำให้ผมเข้าใจอะไรหลายอย่างในชีวิต เช่นเพิ่งเข้าใจในธรรมะของพระพุทธเจ้าทั้งที่ชีวิตผ่านมาสี่สิบกว่าปี มาจากความทุกข์ที่สอนเรา...

ขอบคุณ Blankยายธี มากค่ะที่มาให้กำลังใจ  ทุกวันนี้ชลัญพยายามทำสมาธิกำหนดรู้ ของอาการที่เกิด  แต่ดูท่า คงอีกยาวไกล   ปาฏิหาริย์เกิดได้กับคน  แต่สำหรับชลัญคิดว่า คงไม่มีปาฏิหาริย์เพราะตั้งแต่เกิดมาเป็นคนไม่มีโชค  ไม่เคยถูกหวย ไม่เคยจับสลากได้รางวัล  ชลัญคิดว่า คงยากที่จะเกิดปาฏิหาริย์ กับชลัญ ทุกวันนี้ที่ทำดีที่สุดก็คือ การยอมรับและอยู่กับมันให้ได้เท่าที่  กรรมลิขิตจะให้เราอยู่  ขอบคุณยายธีอีกครั้ง สำหรับความเมตตาและห่วงใย

เห็นด้วยว่า สุขหรือทุกข์อยู่ที่กระบวนการคิดจริงๆ จึงขออนุญาตเอาไปต่อยอดที่บันทึกนี้นะคะ >> สุขหรือทุกข์อยู่ที่เราคิดอย่างไร ความจริงเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อบ่าย แต่เข้าโพสต์บันทึกไม่ได้ เลยเพิ่งเอามาส่งค่ะ ^^'

ขอเป็นกำลังใจให้สำหรับความเจ็บป่วย สู้ๆนะคะ  ^__^

 
 

ขอบคุณมากBlank ที่ให้กำลังใจมาตลอด  "สุขใจที่ได้เป็นพาร์กินสันของชลัญ มัก็เป็นการตกผลึกความทุกข์ที่เราเผชิญและเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอ การที่เรายอมรับ และยินดีที่จะอยู่กับมัน  อยู่ด้วยกันต่างคนต่างทำหน้าที่  แข่งกันดูซิว่าใครจะชนะ  ความเจ็บป่วยเขาก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำให้เราป่วย  ส่วนตัวเราก็ต้องสู้กับเขาให้ได้  การมีสติตั้งมือรับกับมีนนี่ก็ท้าทายไม่เบา  ....  สนุกเหมือนกัน  อยากรู้เหมือนกันว่า  หนักกว่านี้มีอีกมั๊ย

มันไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอกครับ

ทุกข์ที่เกิดจากทางกายนี้มันโหดที่สุด

ทุกข์ทางใจ พอเปลี่ยนความความคิด ความทุกข์ก็เปลี่ยน

เพราะจิตคิดได้เพียงอย่างละครั้ง  พอเลิกคิด ก็เลิกทุกข์

แต่กายนี้  ถ้ามันเจ็บมันก็ทุกข์ครับ

ใช่ค่ะชลัญเห็นด้วยกับคุณ คนบ้านไกล ค่ะ มันเป็นสิ่งที่ยากมาก สำหรับทุกข์ทางกายของบางคนที่เป็นตลอดเวลานั้นยากจะบำบัดมันทรมานยิ่ง ชลัญมอง ในแง่ของโรคที่ชลัญเป็น ชลัญจะรู้ว่า อีกหน่อยเดี่ยวยาออกฤทธิ์ อาการจะดีขึ้น มันจึงเป็นการง่ายที่จะกำหนดรู้ แต่ทุกข์ใจที่ชลัญหมายถึง คือ ถ้าชลัญจมอยู่กับมันมันยากจะเปลี่ยนความคิด เพราะในคนอายุขนาดนี้ การเสียภาพลักษณ์ บุคลิกที่เปลี่ยนไปการถูกจัดอยู่กลุ่มผู้สูงวัยการจะให้เปลี่ยนความคิดทีละเรื่อง ดูจะยากกว่า เสียกว่า ชลัญจึงเลือกที่จะทุกข์กายมาก กว่าการทุกข์ใจ คือกำหนดรู้เพียงเรื่องเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท