33 ไปประเมินคลินิก DPAC


ไปประเมิน คลินิก DPAC มาค่ะ เลยอยากช่วยจัง

“พี่คะ...หนูเคยเข้าไปอ่านเรื่อง DPAC  ที่พี่เขียน ใน web  บ่อยๆ....” 

     

“ เวลาหนูจะทำกิจกรรมอะไร   บางครั้งหนูก็เอาจากบันทึกที่พี่เขียนมาใช้.....”

 

“ นี่ไง  แบบบันทึกการออกกำลังกาย –การกิน  เอามาจากตัวอย่างที่พี่ลงใน web........”

 

“ คนนี้ไง   พี่มนัญญา  หน้าตาเฉย.......”

 

 รู้สึกดีใจทุกครั้งที่ได้ยิน    ดีใจที่บันทึกทุกเรื่องราวในบล็อก  ทำไปปรับไปคนไทยไร้พุง       ใน  G2K  นี้  ได้รับการตอบรับมากจากเพื่อนร่วมวิชาชีพที่เข้ามาอ่าน     และได้นำไปต่อยอด   ขอบคุณ Gotoknow  จริงๆ

 

ไปประเมินที่จังหวัดลำปาง

 

ผู้เขียนในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบต้องนิเทศติดตาม    การเปิดให้บริการคลินิก DPAC  ในสถานพยาบาลต่างๆกับเครือข่ายโดยเฉพาะในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอน    ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน  พะเยาและแม่ฮ่องสอน    ซึ่งในปีงบประมาณนี้ได้มีโอกาสออกไปนิเทศติดตามบ้างแล้วในบางจังหวัด   ก็พบว่าส่วนใหญ่ได้มีการจัดตั้งเกือบทุกสถานพยาบาล     แต่ก็มีไม่กี่แห่งที่มีรูปแบบที่ชัดเจน     ผู้เขียนเองเข้าใจภารกิจของผู้รับผิดชอบว่าภาระงานท่านมาก     จึงสัญญาว่าจะเขียนบันทึกเพิ่มเติมเพื่อช่วยแบ่งเบาให้งานง่ายขึ้น    เหมือนเป็นการต่อยอดแบบก้าวกระโดด    ก่อนอื่นขอเล่าย้อนที่มาของคลินิก DPAC  เล็กน้อย  เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่เคยอ่านจะได้เข้าใจที่มา    

   

ภาพไปประเมินที่โรงพยาบาลจังหวัดพะเยา

 

 

ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ดำเนินการ “โครงการคนไทยไร้พุง”  โดยเน้นการมีกิจกรรมในรูปแบบขององค์กร,ชุมชน ในกลุ่มคนหมู่มาก  ซึ่งจะเป็นการผลักดันและสร้างกระแสให้คนหันมาสนใจในเรื่องการลด และควบคุมน้ำหนัก  โดยมีการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้เกิด  องค์กรต้นแบบไร้พุง  ,หมู่บ้านต้นแบบไร้พุง ,ตำบลต้นแบบไร้พุง และจังหวัดต้นแบบไร้พุง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง   แต่ก็ยังกลุ่มคนบางส่วนที่ไม่ได้ผล  และจำเป็นต้องให้คำแนะนำแบบรายบุคคล  จึงเป็นที่มาของความจำเป็นต้องนำรูปแบบบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีกิจกรรมทางกาย และการบริโภคอาหาร (Diet  Physical  Activity  Clinic : DPAC ) ตามแนวทางมาตรฐานกลางที่แต่ละศูนย์เขตได้นำร่องไว้นั้น   มาเปิดเป็นคลินิกให้บริการในสถานพยาบาลเพื่อรองรับกลุ่มคนส่วนนี้   โดยมีศูนย์อนามัยแต่ละเขตรับผิดชอบเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือในด้านต่างๆ  เช่น องค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายรวมทั้งการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนสื่อสิ่งพิมพ์   ตลอดจนต้องนิเทศติดตามเป็นระยะๆในพื้นที่ต่างๆ  

 

 

ซึ่งในปี   2555   นี้กรมอนามัยได้มีการกำหนดนโยบายและวางเป้าหมายดังนี้

1.  ผลักดันยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสู่ยุทธศาสตร์ระดับชาติ

2.  จัดตั้งคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(DPAC) ที่มีคุณภาพ

          •   มีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสถานบริการ รพศ./รพท./รพช. ทุกแห่งและ รพ.สต. อย่างน้อยจังหวัดละ  3 แห่ง     (และมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดทุกอำเภอๆละ  1 แห่ง)

         •    มีผู้รับบริการเข้ากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง ≥6 เดือน ร้อยละ 1 ของจำนวนผู้รับบริการที่เข้าคลินิกทั้งหมด

        •     ผู้รับบริการที่เข้ากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลทำให้สุขภาพดีขึ้น   (สมรรถภาพทางกายดีขึ้น ลดโรคลดยา)  ร้อยละ 5 ของกลุ่มเป้าหมาย

        •     ชมรม/กลุ่ม สมาชิกมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

 แต่เกณฑ์ในการประเมินติดตาม การเปิดคลินิกไร้พุง (DPAC)   ในปี 2555 นี้   เหมือนเดิม   คือ

 

เกณฑ์ประเมิน    

 

      

อ่านแล้วช่วยเติมส่วนที่ขาดด้วย     เกณฑ์ตัวไหนไม่มีก็ให้รีบดำเนินการ     บันทึกนี้ทบทวนเรื่องราวก่อนนะคะ    ส่วนกิจกรรมย่อยสัญญาว่าจะทะยอยเขียนให้อ่านค่ะ  

 

สู้...สู้...นะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 489188เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท