ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย


ความหมายของการวิจัย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

ความหมายของการวิจัย

Best  and  Kahn ให้นิยามการวิจัยว่าหมายถึง การวิเคราะห์ที่มีระบบระเบียบ และจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน อันนำไปสู่การพัฒนา  หรือได้มาซึ่งหลักการหรือวิธี อันสามารถนำไปใช้ได้ในการพยากร มีคุณลักษณะต่าง ๆการวิจัยจะต้องนำไปสู่การแก้ปัญหา เพื่อบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้าย  การวิจัยควรเน้นการพัฒนาข้อสรุปที่เป็นนัยทั่วไป  การวิจัยต้องอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่สังเกตดูได้ หรือหลักฐานเชิงประจักษ์  การวิจัยต้องมีการสังเกตที่ถูกต้อง  การวิจัยเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลที่จะใช้เป็นครั้งแรก หรือมิฉะนั้นก็จะเป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว  การทำวิจัยบางครั้งมีอยู่แล้วแต่มีการทำวิจัยที่มีรูปแบบแผนซึ่งนำไปสู่การวิจัยที่แข็งแกร่งได้ก็ถือว่าเป็นการทำวิจัย  การทำวิจัยต้องการความรู้ความชำนาญผู้วิจัยต้องรู้ถึงปัญหาที่จะทำ  การวิจัยต้องมีวัตถุประสงค์และเหตุผลถูกต้องตามหลักตรรกวิทยา  งานวิจัยที่จะทำนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับคำถามที่ต้องการคำตอบของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ 

การวิจัยเป็นกระบวนการที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการที่มีระบบระเบียบเพื่อหาคำตอบที่เราอยากรู้หรือสงสัยว่าข้อคันพบจะเป็นอย่างไร  การวิจัยไม่ใช่เพียงแต่การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การวิจัยไม่ใช่เพียงการถ่ายเท  ความจริงจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง  แต่การวิจัยต้องเป็นกระบวนการซึ่งพยายามหาคำตอบต่อตำถามที่มีอยู่ หรือหาข้อสรุปจากปัญหา  โดยกระบวนการในการหาคำตอบ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

            การค้นคว้าหรือวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่สงสัย หรืออยากทราบ หรือที่ตั้งสมมุติฐานไว้ ในการแสวงหาข้อเท็จจริงจะต้องเป็นการแสวงหาอย่างมีระเบียบแบบแผน  หรือการดำเนินการในรูปแบบอันเป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่การหาคำตอบโดยการเดาสุ่ม หรือใช้ความคิดเห็น หรือใช้ความคิดเห็นของผู้วิจัยเป็นหลัก ดังนี้

  1. เพื่อทดสอบและพัฒนาทฤษฏีใหม่
  2. เพื่ออธิบายชีวิตของคนในสังคมโดยให้ข้อมูลและข่าวสารที่เชื่อถือได้
  3. เพื่อสำรวจความเป็นจริงในสังคมเป็นการเพิ่มความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น
  4. เพื่อประเมินประเด็นต่าง ๆ ทางสังคมและผลกระทบที่เกิดขึ้น อันนำไปสู่หนทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
  5. เพื่อเข้าใจปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ประโยชน์ของการวิจัย

  1. ช่วยเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ
  2. ช่วยในการวินิจฉัยปัญหาของสังคมโดยรวม นั่นคือ ชี้ให้เห็นถึงต้นเหตุของปัญหาในเรื่องที่ทำการวิจัย และแนวทางตลอดจนวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ
  3. ช่วยผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการวินิจฉัยปัญหา รวมทั้งการติดตามและผลการปฏิบัติงาน  เรียกว่างานวิจัยสถาบัน
  4. ช่วยให้ผู้วางแผนหรือผู้กำหนดนโยบายสามารถวางแผน หรือกำหนดนโยบายจากรากฐานที่เชื่อถือได้ การวิจัยในลักษณะนี้เรียกว่า  การวิจัยเชิงนโยบาย

ลักษณะของการวิจัยทางสังคมศาสตร์

การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ การวางแผน (planning) การดำเนินการ (execution) และการรายงานผล(reporting) โดยทั้งสามขั้นตอนนี้สามารถแยกได้อย่างชัดเจน และดำเนินการตามขั้นตอนก่อนและหลัง ความแตกต่างระหว่างการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางสังคมศาสตร์ ก็คือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นการวิจัยที่อาศัยการทดลองเป็นหลัก และผลที่อกมาค่อนข้างตายตัว ส่วนการวิจัยทางสังคมศาสตร์นั้นมักไม่ใช่การทดลอง  โดยเฉพาะการทดลองในห้องปฏิบัติการ  แต่จะใช้การสังเกตพฤติกรรมเป็นหลักและ ผลลัพท์ ที่ออกมาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะสิ่งแวดล้อมของการวิจัยที่ทำแต่ละครั้ง  นั่นคือ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง  หรือหาความรู้ใหม่ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 

            การวิจัยทางวิทยาศาสตร์  จะเห็นว่า Davis(1995) เน้นเรื่องวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะนำมาใช้ในการทำวิจัยโดยเสนอรูปแบบในการสร้างทฤษฏี  แล้วพยายามโยงไปถึงการสร้างสมมุติฐาน ขั้นตอนนี้เรียกว่า การสร้างทฤษฏีโดยอาศัยการอนุมานมีสมมุติฐานแล้วผู้วิจัยจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง  เพื่อพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นนั้นจริงหรือไม่อย่างไร  ขั้นตอนนี้เรียกการสร้างทฤษฏี  โดยการทำการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วสรุปผลจากข้อมูลเหล่านั้น ขั้นตอนนี้เรียนว่าการสร้างทฤษฏีด้วยวิธีอุปมาน และเมื่อสรุปจากข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้แล้วจะทำให้เราได้ความรู้หรือข้อสรุปใหม่ ๆ ซึ่งเรียกว่าทฤษฏีจากข้อเท็จจริงที่ได้

            ระหว่างการวิจัยโดยวิธีการอนุมาน ซึ่งนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ในสาขาเศรษฐศาสตร์จะใช้กันค่อนข้างมากและการวิจัยโดยวิธีอุปมานซึ่งใช้มากในสังคมศาสตร์สาขาอื่น ๆ

 

ทฤษฏี(Theory)

 

สมมุติฐาน(Hypothesis)

ข้อมูลข่าวสาร(Observation)

 

ยินยัน(Confirmation)

 

วิธีการอนุมาน (Deduction)

 

วิธีการอุปมาน(Induction)

 

ทฤษฏี(Theory)

 

สมมุติฐานเบื้องต้น(Hypothesis)

รูปแบบ (Observation)

 

ข้อเท็จจริง (Confirmation)

 

 

 

 

 

 

จะเห็นว่าการทำวิจัยโดยใช้การอนุมาน กับการวิจัยโดยใช้การอุปมาน  จะมีกระบวนการดำเนินการตรงข้าม โดยวิธีการอนุมานจะเริ่มจากหลักทั่ว ๆ ไปไปสู่วิธีการโดยเฉพาะหรือเรื่องเฉพาะ จะเริ่มต้นจากภาพกว้างซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่ว แล้วทำให้แคบเข้าโดยมีสมมุติฐาน แล้วหาข้อมูลข่าวสาร มาพิสูจน์สมมุติฐาน และสรุปยืนยัน  เป็นการวิเคราะห์สิ่งที่มีอยู่แล้วมายังข้อเท็จจริงมีลักษณะเหมือนการทำวิจัยจากส่วนบนมายังส่วนล่าง

การทำวิจัยโดยวิธีการอุปมานจะทำให้ลักษณะกลับกันคือ เริ่มจากที่เฉพาะเจาะจง นำไปสู่สิ่งที่รู้โดยทั่วไป ซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นการทำจากด้านล้างขึ้นบน  โดยจะเริ่มการหาข้อเท็จจริง แล้วพยายามสรุปข้อเท็จจริงเหล่านั้นว่าจะมีรูปแบบหรือแบบแผน  แล้วจึงมีสมมุติฐานเบื้องต้นเพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลข่าวสารที่รวบรวมได้นั้นสอดคล้องกับทฤษฏีหรือหลักการที่มีอยู่หรือไม่  แล้วจึงสรุปผล  เรียกการวิจัยที่เริ่มต้นด้วยการสังเกตจากข้อเท็จจริง

 

 

 

 

        คิดและพยายามใหม่   

Think Try Agan

 

     ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์

 

 

 

              ตั้งคำถาม            

Ask Question

 

                      ค้นหาข้อมูล                  Do Baackground  Research

 

               ตั้งสมมุติฐาน                        Construct  Hypothesis

 

 

        ทดสอบสมมุติฐาน     

Test with Experiment

 

 

        วิเคราะห์และสรุปผล  

Analyze Results,Draw Conclusion

 

        รายงานผลที่ค้นพบ    

Report Results

 

        สมมุติฐานที่เป็นจริง    

Hypothesis is True

 

        สมมุติฐานผิดหรือเป็นจริงบางส่วน

Hypothesis is False or Partially True

 

 


 

 

ประเภทของการวิจัย

แบ่งตามรูปแบบ เช่น

  1. แบ่งตามวิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทฤษฏี  การวิจับเชิงประจักษ์  และการวิจัยเชิงปฏิบัติ
  2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  เป็นการวิจัยบริสุทธิ์ และการวิจัยประยุกต์
  3. แบ่งตามความมุ่งหมายในการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเพื่อคาดการณ์  การวิจัยเชิงพรรณนา  การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย  และการวิจัยเชิงชันสูตร
  4. แบ่งตามวิธีการเก็บข้อมูล เป็นการวิจัยเอกสาร การวิจัยโดยการทดลอง การวิจัยโดยการทำสำมะโน การวิจัยโดยการทำต่อเนื่องระยะยาว และการศึกษาเฉพาะกรณี

แบ่งตามลักษณะอื่น ๆ

  1. แบ่งตามเวลา  เป็นการวิจัยในอดีต การวิจัยในปัจจุบัน และการวิจัยในอนาคต
  2. แบ่งตามจำนวนสาขาวิชา  เป็นวิชาเดียวหรือหลายสาขาวิชา
  3. แบ่งตามระยะเวลาในการนำผลไปใช้ 
  4. แบ่งตามศาสตร์ความรู้  เป็นการวิจัยทางการแพทย์ การวิจัยทางการศึกษา การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ การวิจัยทางรัฐศาสตร์ และการวิจัยทางประชากรศาสตร์
  5. แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการนำผลไปใช้ เป็นการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา การวิจัยเชิงนโยบาย และการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ
  6. แบ่งตามลักษณะข้อมูล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ
  7. แบ่งตามระยะเวลาที่ใช้

 

หมายเลขบันทึก: 488869เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท