การกำหนดเป้าหมาย


เป้าหมายเป็นพื้นฐานการวางแผน การปฏิบัติงาน การประเมินผลงาน

                               การกำหนดเป้าหมาย

                                    (goal setting)

              

                                                              ประชุม โพธิกุล

เป้าหมาย เป็นถ้อยแถลงที่บอกทิศทางกว้างๆ เป้าหมายเป็นจุดมุ่งหมายทั่วไปหรือความมุ่งมั่นเป็นเรื่องทั่วไปไม่มีขอบเขตของเวลามิได้กำหนดผลลัพธ์ไว้ในช่วงเวลา

               รูปแบบเป้าหมาย

เมื่อเราวินิจฉัย เป้าหมาย ช่วยให้เราสามารถแยกประเภทความแตกต่างของเป้าหมายได้ มีเป้าหมายอยู่ 3 รูปแบบ (Larrie 1994:36)

              1.เป้าหมายหลัก (essential goals) เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินการเพื่อความก้าวหน้า กิจกรรมในทุกๆวันเพื่อการปรับปรุงเติมเต็มเพื่อผลสำเร็จ

              2.เป้าหมายในการแก้ปัญหา(problem solving goals) จุดมุ่งหมายเพื่อความเหมาะสมหรือเงื่อนไขที่ต้องการ เป็นกิจกรรมจำเป็นเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน ความเหมาะสมหรือเงื่อนไขที่ต้องการ

              3.เป้าหมายด้านนวัตกรรม(innovative goals) ทำบางสิ่งให้ดีขึ้นกว่าเดิม มิใช่กิจกรรมแก้ปัญหาแต่เป็นผลทางความคิดเกี่ยวกับการทำบางสิ่งให้ดีขึ้น กิจกรรมการทำแล้วทำให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ถูกขึ้น ง่ายขึ้นหรือมีความปลอดภัยมากขึ้น 

             หน้าที่ของเป้าหมาย( Mullin1996:293)

             1.เป้าหมาย ช่วยกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน เป้าหมายเน้นความมุ่งมั่นในกิจกรรมขององค์การและทิศทางความพยายามของสมาชิก

             2.เป้าหมาย เป็นพื้นฐานการวางแผนและควบคุมการจัดการที่สัมพันธ์กับกิจกรรมต่างๆขององค์การ

             3.เป้าหมายเป็นแนวทางของการตัดสินใจและวินิจฉัยเพื่อการปฏิบัติ เป้าหมายลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจและป้องกันภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้น

             4.เป้าหมาย มีอิทธิต่อโครงสร้างขององค์การและช่วยกำหนดว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไร

             5.เป้าหมายช่วยพัฒนาความมุ่งมั่นของแต่ละคนและกลุ่มในการทำกิจกรรมในองค์การ เป้าหมายมุ่งเน้นความตั้งใจให้เกิดพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย

             6.เป้าหมายบอกสภาพความเป็นจริงเป็นอย่างไร ธรรมชาติที่แท้จริงขององค์การและลักษณะของสมาชิกและบุคคลภายนอกขององค์การ

             7.เป้าหมายเป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ

             8.เป้าหมายเป็นพื้นฐานของการกำหนดวัตถุประสงค์และกำหนดนโยบายขององค์การ

           เป้าหมายของโรงเรียนโดยปรกติจะบอกถึงผลลัพธ์ที่ต้องการสำหรับนักเรียนโดยปรกติส่วนมากจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้

        เป้าหมายที่เกี่ยวกับผลลัพธ์สำหรับผู้เรียน

              1.พัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัจจัยต่างๆซึ่งมีส่วนในวิถีชีวิต

              2.พัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติที่จำเป็นในการมีส่วนร่วมในกระบวนการเมือง

              3.พัฒนาให้เกิดความรักในการเรียน มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกิจกรรมตลอดชีวิต

             4.พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในกิจกรรมทางศิลปะ

        เป้าหมายที่เกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้เพื่อผู้เรียน

              1.เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประสบการณ์ของนักเรียนใช้ไปอย่างมีความหมายและพัฒนาการทางภาษาผ่านเรื่องราว โคลง กลอนและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

              2.ให้โอกาสนักเรียนทุกคนได้พัฒนาตามความสามารถของเขา

               3.เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านประสบการณ์ตรงเท่าที่เป็นไปได้

              4.เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็กพิเศษเพื่อให้เขาเอาชนะอุปสรรคได้

         เป้าหมายเพื่อเป็นการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ

               1.เพื่อจัดทรัพยากรสำหรับแต่ละโปรแกรมให้ได้มาตรฐานของระบบโรงเรียน

               2.เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ของชุมชนในฐานะเป็นทรัพยากรของโรงเรียน

               3.จัดโปรแกรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู

               4.จัดการขนส่งการกีฬา กิจกรรมทั่วไปให้สัมพันธ์สอดคล้องกับต้นทุนที่ตำ่ของนักเรียน

           เป้าหมายที่เกี่ยวกับการจัดการของโรงเรียน

               1.เพื่อจัดโอกาสต่างๆสำหรับผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

                2.เพื่อพัฒนาระบบรางวัลให้เหมาะสมกับอายุของนักเรียนที่มีความสำเร็จเป็นเลิศ

               3.เพื่อบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องโดยคำนึงถึงหลักสูตร

               4.เพื่อจัดวิธีการให้ข้อมูลกับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องของโรงเรียนและความก้าวหน้าของนักเรียน     

                                     เอกสารอ้างอิง

 

Larrie A Rouillard Goal and goal setting  Great Britain,Kogan Page,1994.

 

หมายเลขบันทึก: 487923เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท