จีน : ยักษ์ที่กำลังหลับใหล จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ ๒๑ (โดยสังเขป)


ยุคแห่งความหลับใหลของจีน

จะต้องย้อนกลับไปในช่วงของจีนยุคโบราณว่า ในขณะนั้นประเทศจีนยังคงปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยเฉพาะสมัยราชวงศ์ซาง (Shang Dinasty) ชาวจีนทำการทำเกษตรกรรม การประดิษฐ์อักษรภาพ ๕๐๐๐ ตัวเป็นครั้งแรก มีการทำนายโชคชะตาโดยใช้กระดูกเสี่ยงทาย เป็นต้น แต่ที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจของยุคนี้คือการเกษตรกรรม เพราะเนื่องจากว่ารัฐบาลจีนในสมัยนี้ไม่ส่งเสริมการค้าขาย แต่จะเน้นไปที่การใช้สอยที่ดิน เพื่อเป็นประโยชน์เท่านั้น ซึ่งรายได้หลักของรัฐบาลจีนในสมัยนี้มาจากภาษีที่ดินและการเก็บภาษีเพื่อผูกขาดสินค้าบางประเภทเท่านั้น

ในเวลาต่อมา ประเด็นที่ทำให้จีนยังเป็นผู้ที่อ่อนด้อยในทางเศรษฐกิจนั้น ก็เกิดจากความอ่อนแอทางการเมืองภายในของจีนเอง นั้นคือ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ในช่วงสมัยราชวงศ์ชิง ประเทศจีนยังคงมีความวุ่นวายทางการเมืองอันเกิดจากภัยชาติตะวันตก ที่เข้ามาในประเทศจีน จีนต้องรบกับอังกฤษในสงครามฝิ่น (Opium War) สาเหตุคือ รัฐบาลจีนไม่พอใจอังกฤษที่นำเข้าฝิ่นเข้ามาขายให้กับคนจีน รัฐบาลจีนจึงสั่งห้ามคนจีนสูบฝิ่น และได้เผาทำลายคลังสินค้าฝิ่นของอังกฤษด้วย ประเด็นนี้เองจึงทำให้อังกฤษโกรธมาก สงครามจึงระเบิดขึ้น จีนต้องพ่ายแพ้สงครามฝิ่นในครั้งนี้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ

๑.ประเทศจีนต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไปให้แก่ชาติตะวันตก โดยต้องทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกไปหลายฉบับ

๒.จีนต้องเสียเกาะฮ่องกงให้อยู่ในความดูแลของรัฐบาลอังกฤษ เป็นระยะเวลากว่า ๙๙ ปี

สาเหตุของความพ่ายแพ้คือ อาวุธยุทโธปกรณ์ของจีนนั้นไม่ทันสมัยเท่าอังกฤษ อังกฤษมีปืนใหญ่ (Grand Cannon) ที่สามารถยิงได้ในระยะไกล ในขณะที่จีนนั้นยังมีเพียงเรือกลไฟ (Steam-boat) ที่ยิงได้ไม่ไกลนัก

ประการต่อมาคือ คนจีนมักคิดว่าชาติของตนนั้นคือชาติที่มีความยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีอำนาจและความสามารถในการปกครองประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย จึงทำให้คนจีนนั้น ไม่เกรงกลัวผู้ใดในโลก

                และจากความพ่ายแพ้นี้เองก็ทำให้การเมืองในประเทศจีนนั้น วุ่นวายอย่างมาก เกิดกบฏขึ้นมาในประเทศเช่น กบฏไถ่ผิง,กบฏนักมวย นำมาซึ่งความพยายามที่จะล้มรัฐบาลราชวงศ์ชิงลงให้ได้ ท้ายที่สุดจึงเกิดขบวนการจัดตั้งเพื่อการโค่นราชวงศ์ชิง ที่นำโดย ดร.ซุนยัตเซ็น สำเร็จได้ในที่สุด

                ยุคประชาธิปไตยของ ดร.ซุนยัตเซ็น แห่งพรรคก๊กมินตั๋ง(KMT) เป็นบรรยากาศของการสร้างความเจริญให้แก่ชาติบ้านเมือง แต่ก็ได้เกิดเหตุการณ์อันเกิดมาจากความไม่พอใจต่อสนธิสัญญาแวร์ซาย (Versailles Treaty) ซึ่งนำไปสู่ขบวนการ ๔ พฤษภาคมขึ้น จึงมีการก่อตั้งพรรคการเมืองที่สำคัญคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP)[๑]

                และเมือ ดร.ซุนยัตเซ็นเสียชีวิตลง ก็ทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นอย่างหนักภายในระบบการเมืองของจีน เกิดสงครามกลางเมืองหลายๆครั้ง รวมไปถึงภัยจากต่างชาติที่เข้ามาซ้ำเติม คือญี่ปุ่น ที่ได้บุกเข้ามาโจมตีประเทศเทศจีนผ่านทางเกาหลี พรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของ เจียง ไค เช็ค จึงต้องขอความร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดย เมา เซ ตุง แต่ท้ายที่สุด พรรคก๊กมินตั๋งเองก็ไม่สามารถที่จะล้มญี่ปุ่นได้ ประกอบกับ เจียง ไค เช็ค เชื่อว่าภัยคอมมิวนิสต์ในประเทศจีนนั้นยิ่งใหญ่กว่า จึงพยายามกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่สำเร็จ พรรคก๊กมินตั๋งจึงเกิดศึก ๒ ด้านทั้งญี่ปุ่นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน อีกทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ยิ่งนับวันยิ่งเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ ประกอบกับสหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือคนผิดคน อเมริกายังเข้าใจว่าพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ยังคงร่วมมือกันอยู่ จึงได้มอบอาวุธไปให้แก่เมา เซ ตุง เพื่อไปต่อสู้กับญี่ปุ่น ประกอบกับเจียง ไค เช็ค ทำนิสัยที่น่าเบื่อหน่ายจนอเมริกาไม่อยากจะช่วยเหลือใดๆอีกแล้ว ท้ายที่สุด พรรคคอมมิวนิสต์จึงกลายเป็นพรรคที่มีทั้งกำลังทหาร อาวุธ และสมาชิกพรรคจำนวนมาก พรรคก๊กมินตั๋งจึงต้องพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแต่เพียงผู้เดียว เปลี่ยนแปลงการปกครองในรูปแบบของสังคมนิยม ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๙

ระยะแห่งการปลุกยักษ์ทางเศรษฐกิจของจีน

             ในช่วงนี้ประเทศจีนเริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยการใช้นโยบายการยึดที่ดินแบบระบบนารวมและนารัฐ โดยการยึดที่ดินทำกินจากนายทุน และเริ่มสร้างระบบทางเศรษฐกิจด้วยวิธีการก้าวกระโดดอย่างหนัก โดยใช้ทรัพยากรโดยเฉพาะแร่เหล็กนั้น นำมาใช้อย่างสิ้นเปลือง ท้ายที่สุดประเทศจีนจึงตกอยู่ในภาวะทุกขภิกขภัยอีกครั้ง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก

จำเติ้ง เสี่ยง ผิงได้........แต่ลืมเมา เซ ตุงไปเสียแล้ว

หลังจากนั้น ประเทศจีนพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยการสร้างพันธมิตรใหม่ทางด้านเศรษฐกิจ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ คือ นายโจว เอิน ไหล และเมา เซ ตุง ได้เสียชีวิตลง มีการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ระหว่างแก๊งค์ ๔ คน กับ กลุ่มนาย หว่าง โก๊ะ ฟง (ฮั่ว กั๋ว เฟิง ) และ เติ้ง เสี่ยว ผิง มีชัยชนะ รัฐบาล “หว่าง-เต้ง”  จึงได้บริการประเทศ และได้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจคนสำคัญที่ทำให้จีนกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ มี ๓ ประการที่เป็นเช่นนั้น คือ

๑. ทางด้านการเมืองจีนยังรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ โดยใช้ “ทฤษฎีสามโลก” (Theory of Three World) แบ่งโลกออกเป็นสามกลุ่มคือ[๒]

                โลกที่ 1 : กลุ่มมหาอำนาจ เป็นประเทศจักรวรรดินิยม เช่น เอมริกา รัสเซีย

                โลกที่ 2 : กลุ่มจักรวรรดินิยมชั้นรอง ได้แก่ แคนนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรีย นิวซีแลนด์และบางประเทศในยุโรป

                โลกที่ 3 : กลุ่มประเทสกำลังพัฒนา ที่อยู่ใน เอชีย แอฟริกา และ อเมริกา

                จีนให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศโลกที่สาม เชื่อว่า เป็นกลุ่มที่มีพลังในการปฏิวัติ และมีพลังในการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองระหว่างประเทศได้ จีนจึงเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประเทสโลกที่สาม โดยสร้างความสัมพันธ์เข้าไปช่วยเหลือ ทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม มากกว่าจะมุ่งเข้าครอบงำอุดมการณ์ทางการเมือง

๒. การใช้นโยบายสี่ทันสมัย (Four Modernization) รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนในยุคนี้ได้ใช้ระบบการพัฒนาประเทศใน ๔ ด้านคือ ๑.ด้านเกษตรกรรม ๒.ด้านอุตสาหกรรม ๓.ด้านวิทยาศาสตร์ ๔. ด้านเทคโนโลยี มีการปฏิวัติโครงสร้างทางการปกครองของรัฐบาลกลาง และองค์กรจัดตั้งต่างๆ ของพรรค โดยมีเจตนาลดปริมาณข้าราชการลง ๑ ใน ๓ สร้างระบบเกษียณอายุขึ้นมาใช้  เพื่อให้คนรุ่นใหม่ๆ ได้ขึ้นมาทำงานในช่วงต่อไป ทำการปราบคอรัปชั่นอย่างจริงจัง ซึ่งช่วงนี้เรื่องคอรับชั่นเป็นเรื่องอื่อฉาว (Scandal)[๓] อย่างมาก ทั้งยังยกเลิกระบบคอมมูนส์ และนำระบบสหกรณ์ขึ้นมาใช้แทนด้วย

๓. “แมวขาวแมวดำ ไม่สำคัญ ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน” เป็นวาทะ (Discourse) ที่เป็นเสมือนเป็นการปลุกยักษ์ทางเศรษฐกิจของจีนได้อย่างแท้จริง โดยไม่ว่าท่านเป็นใคร จะฝักใฝ่พรรคการเมืองใดก็ตาม หรือมีแนวคิดทางเศรษฐกิจอย่างไร แบบเสรีหรือผูกขาด ก็ขอให้ท่านจงมาร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนด้วยกัน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยื่น

 จากวาทะดังกล่าวจึงทำให้คำว่า “จำเติ้งแต่ลืมเมา”นั้นคงจะเป็นจริง เพราะคนจีนทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะใส่ใจการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยนับจากระยะการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในปี ค.ศ. ๑๙๗๖ เป็นต้นมา เศรษฐกิจมวลรวมของประเทศดีขึ้นมามาก จีนส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจเหล่านี้ส่งผลให้จีนคอมมิวนิสต์มีเงินสำรองต่างประเทศมากที่สุดในโลก โดยตอนนี้ จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และจะกลายเป็นเจ้าโลกหรือ (Hegemony) แทนที่สหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ ๒๑ นี้อย่างหนีไม่พ้น ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็ต้องพยายามขัดขวางทุกวิถีทางด้วย

เขียนและเรียบเรียงโดย

โอภาส แย้มครวญ

วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕  ๑๖.๓๐ น.                       

 



[๑]  มาตยา อิงคนารถ. ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ = History of modern China : HI 462. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.หน้า ๘๕-๘๗

[๒]  วาทิน ศานติ์ สันติ. (๒๕๕๔) อารยธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี. จีน : การสร้างฐานะของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทางเลือกใหม่ในภาวะสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1980). สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ จาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/458104

[๓] http://www.mindfully.org/WTO/China-Wealth-Gap11may02.htm เรื่องราวของช่องว่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจน อันเกิดจากปัญหาการคอรัปชั่น เป็นปัญหาต่อการพัฒนาชาติจีนในอนาคต สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕

รวมไปถึงคำบรรยายในชั้นเรียนจากท่านรองศาสตราจารย์มาตยา อิงคนารถ และรองศาสตราจารย์การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน

ที่มาของภาพ

http://en.wikipedia.org/wiki/File:Sun_Yat-sen_2.jpg

http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์์:Flag_of_the_People%27s_Republic_of_China.svg

http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:China,_Mao_%282%29.jpg                     

หมายเลขบันทึก: 487826เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท