ภาระโรคจากบุหรี่ ที่กลายมาเป็นภาระลูก


    Ico64_pic1no49     

   ในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก เคยอ่าน สื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ “เรื่องภูติยาสูบ” ของสำนักควบคุมยาสูบ กรมควบคุมโรค เป็นเรื่องของเด็กชายที่อาศัยอยู่กับพ่อสองคน แต่พ่อทำงานหนักและสูบบุหรี่มีควันเหม็นแทบไม่มีเวลาที่พ่อลูกได้เล่นหรือ พูดคุยกัน  เด็กน้อยเหงาจนภูตยาสูบ ได้เค้ามาชักชวนหลอกล่อให้เด็กน้อยเป็นเพื่อน  เด็กน้อยจะตัดสินใจอย่างไร ?  พ่อแม่หลายคนที่สูบบุหรี่และรู้ว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อลูก ก็มักจะหาที่สูบที่ลูกไม่เห็น แอบสูบ โดยที่ไม่ได้คิดเลยว่า ช่วงเวลาที่หายไปกับการสูบบุหรี่ อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ลูกกำลังต้องการท่านอยู่ก็ได้ และการที่ไม่สูบต่อหน้าหรือสัมผัสควันโดยตรงก็ไม่ได้ปลอดภัยกับลูกน้อยเลย เพราะกลิ่นและสารนิโคตินที่ติดตามตัวหรือ เสื้อผ้า ก็ส่งผลร้ายต่อสุขภาพลูกได้ไม่น้อยทีเดียว

  แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทยได้ทำการ ศึกษาถึงการสูญ เสียสุขภาวะจากการสูบบุหรี่ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงภาระโรคหรือปีสุข ภาวะที่สูญเสียไปจากการสูบบุหรี่ในประชากรชายเท่ากับ 603,747 ปี ประกอบด้วยการสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร 511,295 ปี และ การสูญเสียจากการเจ็บป่วยพิการ 92,452  ปีสุขภาวะ เทียบกับประชากรหญิงที่สูญเสียปีสุขภาวะจากการสูบบุหรี่ไป 90,666 ปี ประกอบด้วยการสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร 77,949  ปี และ และคนไทยสูญเสียชีวิตจากมะเร็งปอดที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ชายสูญเสียชีวิตก่อนวันอันควร ถึง 106,720 ปี และหญิง 35,431 ปี และ การสูญเสียจากการเจ็บป่วยพิการชาย 698 ปีสุขภาวะ และหญิง 324 ปีสุขภาวะ  โดยโรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดจากบุหรี่ที่ทำให้เกิดภาระโรค (ชาย = 107,417 ปี; หญิง = 35,754 ปี) มองถึงวัยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ก็ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของผู้ใกล้ชิด ซึ่งการสูญเสียปีสุขภาวะของเด็กวัย 0-4 ปี อันดับแรกจากกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะปริกำเนิดถึงร้อยละ 24 รายโรคที่นำมาศึกษาในกลุ่มนี้ประกอบด้วยภาวะน้ำหนักแรกเกิดต่ำ และ การขาดอ๊อกซิเจน ซึ่งจากงานวิจัย ที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย ที่ศิริกุล  อิศรานุรักษ์สรุปไว้ในบทความ ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย : ปัญหาสุขภาพคนไทยที่ยังแก้ไม่ตก ว่าปัจจัยด้านอนามัยเจริญพันธ์ ที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักน้อย ส่วนหนึ่งมาจากการที่มารดาสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักแรกเกิดต่ำ มารดาสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่  ระหว่างตั้งครรภ์จะมีผลกระทบทำให้เด็กน้ำหนักตัวน้อย นอกจากนั้นภาวะการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจในเด็กที่จะตามมา  ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม สูงกว่าเด็กทั่วไป มีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วน กลางในระยะยาวผลจากการวิจัยในการเก็บข้อมูลที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหา ราชินี พบว่า เด็กซึ่งอยู่ในครอบครัวที่สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่จะทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคในกลุ่มปอด เช่น ปอดอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบมากถึง 4.3 เท่าของเด็กปกติ และโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างเป็น 3.8 เท่าของเด็กปกติ ส่วนโรคหืดนั้นอยู่ที่ 2.9 เท่าของเด็กปกติ  ส่วนเด็กที่ได้รับควันบุหรี่นอกบ้านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลุ่ม ปอด 3.4 เท่าของเด็กปกติ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง 2.9 เท่าของเด็กปกติ และในขณะที่มารดาตั้งครรภ์แล้วได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นโดยที่ตนไม่ได้สูบ ส่งผลให้เด็กในครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืด 2.9 เท่าของเด็กปกติซึ่งการศึกษาของแผนยุทธศาสตร์ฯ พบว่าในกลุ่มเด็ก 5 – 14 ปี กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังจัดเป็นอันดับ 4 ของกลุ่มโรคที่ทำให้สูญเสียสุขภาวะ  เด็กเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ เราจะยอมปล่อยให้ เด็กๆ ต้องรับผลกระทบนี้ต่อไป คงถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ ที่จะรัก (ครอบครัว) และ เลิก (บุหรี่) เพื่อ ตัวเองและคนในครอบครัวต่อไป

 

 Ico64_ptobacco1

ขอบคุณข้อมูลจาก

ผลการศึกษาเบื้องต้น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย

บทความภาระโรคที่เป็นผลจากการสูบบุหรี่ของประเทศไทย ปี 2552

http://www.thaincd.com/media/paper-manual/others.php

http://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_21.php

http://advisor.anamai.moph.go.th/factsheet/child/born.html

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บุหรี่ ภาระโรค
หมายเลขบันทึก: 487583เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท