การวิจัยแบบบูรณาการ: ความหมาย แนวคิดและหลักการ


การวิจัยแบบบูรณาการ

การวิจัยแบบบูรณาการ:  ความหมาย  แนวคิดและหลักการ

ชุติมา  เมฆวัน

                การวิจัยแบบบูรณาการปัจจุบันอาจเป็นคำที่ได้ยินได้ฟังกันมามากแล้ว  โดยการวิจัยแบบบูรณาการนี้เป็นการผนวกรวมเอาระเบียบวิธีของการวิจัยมาผสมผสานกับแนวคิดของการบูรณาการเพื่อใช้ในการค้นหาข้อเท็จจริงหรือองค์ความรู้ต่างๆ  หรือที่เรียกว่าการวิจัยนั่นเอง  การวิจัยแบบบูรณาการในที่นี้จะขอแยกคำออกเป็น  2  คำคือคำว่า  “การวิจัย”   และ “บูรณาการ”  เพื่ออธิบายความหมายและแนวคิดของคำทั้งสองก่อน จากนั้นจึงจะขอนำเสนอความหมายและหลักการของการวิจัยแบบบูรณาการ  ดังนี้

                1) การวิจัย  

                ความหมายของการวิจัยนั้นนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการวิจัยสรุปได้ดังนี้

นที เทียมศรีจันทร์, (2543) การวิจัย (RESEARCH) เป็นเครื่องมือและเป็นปัจจัย พื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาทางด้าน การศึกษา  เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง และ ความมั่นคง  ของชาติ รวมทั้งยังช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆของมนุษย์  โดยการติดตามวิทยาการความก้าวหน้าในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของการวิจัยให้เกิด ผลผลิต ผลลัพธ์ และ ผลกระทบ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง

                สัมพันธ์  เตชะอธิกและคณะ,  (2548) การหาความรู้  ความจริง  ด้วยกระบวนการที่เชื่อถือได้ในการศึกษาพื้นที่หรือเรื่องราวของกลุ่มคน  โดยมีข้อสงสัยว่าทำใมจึงป็นเช่นนั้น  เบื้องหลังเป็นอย่างไร  มีการกำหนดโจทย์ปัญหาไว้ล่วงหน้า แล้วจึงดำเนินการค้นหาคำตอบ  ซึ่งใช้กระบวนการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ  ถ้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ต้องมีการกำหนดโจทย์ปัญหาที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร  แต่ในงานวิจัยเชิงคุณภาพจะกำหนดโจทย์เป็นลายลักษณ์อักษร  เพื่อกำหนดสิ่งที่อยากรู้ไว้ในใจก็ได้

                วรรณี  แกมเกตุ,(2551) การวิจัยคือกระบวนการ  ในการแสวงหาความรู้ความจริง  ของปรากฏการณ์ต่างๆด้วยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์  ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการที่มีระบบ  มีเหตุผล  และมีความน่าเชื่อถือ

                จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า  การวิจัยนั้นเป็นการค้นหาความรู้  ข้อเท็จจริงโดยใช้กระบวนการที่เป็นระบบระเบียบ  มีแบบแผน  และเชื่อถือได้ 

1)    การจัดแบ่งประเภทของการวิจัย

                                        การจัดแบ่งประเภทของงานวิจัยนั้นสามารถจัดแบ่งได้หลายประเภท  ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้จัดแบ่งประเภทของการวิจัยไว้คล้ายคลึงกันดังนี้

วรรณี  แกมเกตุ,( 2551) ได้จัดแบ่งประเภทวิจัยออกเป็น 6 แบบ คือ ประโยชน์ของการนำผลไปใช้ จุดมุ่งหมายของการวิจัย ลักษณะข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัย กรอบเวลาของการเกิดปรากฎการณ์ และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย

บุญเรียง  ขจรศิลป์ (2543  อ้างถึงในปริวัตร   เขื่อนแก้ว) แบ่งประเภทของการวิจัยไว้หลายรูปแบบตามเกณฑ์ในการแบ่ง ได้ดังนี้

  1. 1.                    ใช้ลักษณะวิธีวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่ง John W. Best (1981) Walter R.Borgt และ M.K. Gall (1979) แบ่งการวิจัยการศึกษาออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ โดยยึดลักษณะวิธีวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้ 

1.1             การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research)

1.1.1              การวิจัยเชิงบรรยาย (Description research)

1.1.2              การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)

1.1.3              การวิจัยเชิงสังเกต (Observation research)

1.1.4              การวิจัยเชิงเหตุผลเปรียบเทียบ (Causal comparative research)

1.1.5              การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational research)

1.2             การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study)

1.3              การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research)

1.3.1              การวิจัยเชิงทดลองอย่างแท้จริง (True experimental research)

1.3.2              การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research)

นอกจากนี้บุญชม ศรีสะอาด (2544  อ้างถึงในปริวัตร   เขื่อนแก้ว) ยังได้แบ่งประเภทของการวิจัยที่แตกต่างเพิ่มเติมอีก  3  ชนิดคือ

  1. 1.               แบ่งตามสาขาวิชา แบ่งได้เป็นหลายด้าน ยกตัวอย่างได้บางด้าน เช่น

1.1                     การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับสังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

1.2                     การวิจัยทางมนุษยศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ เช่น ภาษาศาสตร์ ดนตรี ศาสนา โบราณคดี ปรัชญา เป็นต้น

1.3                     การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยทางชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรม แพทย์ เป็นต้น

  1. 2.               แบ่งตามชนิดของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1                     การวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ความจริง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิในสภาพปัจจุบันและมักใช้วิธีการทางสถิติมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

2.2                     การวิจัยเชิงวิพากษ์วิจารณ์หรือเชิงไม่ประจักษ์ (Nonempirical research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ ความจริง โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วในเอกสาร หนังสือ ตำรา ฯลฯ มักใช้การวิพากษ์วิจารณ์แทนการใช้วิธีการทางสถิติ

  1. 3.               แบ่งตามการควบคุมตัวแปร แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

3.1                     การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีการจัดสถานการณ์ทดลอง และควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องแล้ววัดผลตัวแปรตามออกมา

3.2                     การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เป็นการวิจัยที่สามารถควบคุมตัวแปรอิสระที่ไม่ต้องการได้เพียงบางตัว เนื่องจากไม่สามารถสุ่มตัวอย่างให้เท่ากันได้

3.3                     การวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความจริงของสถานการณ์ ใช้การสังเกตการณ์เป็นสำคัญ และสรุปผลโดยอาศัยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน อนุมาน และอุปมาน

                 กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า  การจัดแบ่งประเภทของการวิจัยนั้นมีการจัดแบ่งประเภทไว้หลายรูปแบบ  ซึ่งแล้วแต่ว่าจะใช้กรอบการจัดแบ่งประเภทในลักษณะใด  เช่นการจัดแบ่งตามข้อมูลการนำเสนอ  การจัดแบ่งตามระเบียบวิธีของการวิจัย  การจัดแบ่งตามลักษณะวิธีวิจัย  การจัดแบ่งตามสาขาวิชา  แบ่งตามประโยชน์ที่ได้รับ  แบ่งตามวิธีการศึกษา  แบ่งตามชนิดของข้อมูล  แบ่งตามเวลา  หรืออื่นๆ  แต่อย่างไรก็ตามแม้การจัดแบ่งประเภทของการวิจัยจะมีหลากหลายแต่การวิจัยนั้นจะต้องดำเนินการอย่างมีระบบ  ระเบียบ  เป็นขั้นตอนตามขั้นตอนและกระบวนของการวิจัยดังกล่าวข้างต้น

2)              การบูรณาการ

1. ความหมายของการบูรณาการ

                         การบูรณาการมีนักวิชาการได้ให้ความหมายที่สอดคล้องกันดังนี้

          บัณฑิตยสถาน, 2542  คำว่าบูรณาการของ  ราชบัณฑิตยสถาน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ไม่มีคำ ว่า “บูรณาการ” โดยตรง แต่มีคำ ว่า “บูรณ-, บูรณ์” ซึ่งเป็นคำ กริยาวิเศษณ์ หมายถึง เต็ม อาทิ บูรณาการรวมหน่วย เป็นคำ นาม หมายถึง การนำ หน่วยที่แยกๆกันมารวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและ บูรณะ เป็นคำ กริยา หมายถึง ซ่อมแซมทำ ให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่นบูรณะวัด

สุวิทย์  มูลคำ และคณะ, 2543  บูรณาการ หมายถึงการนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ ( Integrated Curriculum ) คือหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาหลอมรวมเข้าด้วยกันทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เช่นเดียวกัน การเรียนการสอนที่ดำเนินการด้วยวิธีบูรณาการเราเรียกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ( Integrated  Instruction ) คือเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา  และเน้นที่การเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู

                วัฒนา  ระงับทุกข์, 2542 ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า “ การนำศาสตร์ต่างๆมาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ชนาธิป  พรกุล,2543 ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า “ การเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกชนิด  ที่บรรจุอยู่ในแผนของหลักสูตร  เป็นการเชื่อมโยงแนวนอนระหว่างหัวข้อและเนื้อหาต่างๆที่เป็นความรู้ทั้ง 3 ด้าน  ได้แก่  พุทธิพิสัย  ทักษะพิสัย  และจิตพิสัย  การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง  การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้  ข้อมูลข่าวสารมาก  จึงเกิดเป็นหลักสูตรที่เรียกว่า  หลักสูตรบูรณาการ  (Integrated  curricula)  ซึ่งพยายามสร้างหัวเรื่อง  (Themes)  ใน  โปรแกรมวิชาโดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กัน  และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย”

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,2546 ได้ให้ความหมายว่าการบูรณาการ  ว่าคือการผนวก การประสาน การเติมเต็มการเชื่อมโยง การรวมกัน ร่วมกัน

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. 2536. (อ้างถึงในนที เนียมศรีจันทร์,นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,2547)  บูรณาการในความหมายที่เป็นภาษาอังกฤษ ผู้เขียนเห็นว่ามีคำ ในภาษาอังกฤษ

บางคำ มีความหมายทำ นองเดียวกันกับคำ ว่า “บูรณาการ” ดังนี้

Integration เป็นคำ นาม หมายถึง 1.การทำ ให้รวมเป็นหน่วยเดียวกัน, การ

ผสมกัน, การรวมกัน และ 2. [คณิต] วิธีการของจำ นวนเต็ม

Integrate เป็นคำ กริยา หมายถึง vt. 1.เชื่อมผนึกเป็นส่วนเดียวกัน, ทำ ให้…

สมบูรณ์ (หรือครบถ้วนบริบูรณ์) 2.รวม, รวมเป็นส่วนเดียวกัน และ 3.จำนวนเต็ม

                จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าความหมายของการบูรณาการนั้น  หมายถึงการเชื่อมผสมประสานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3) วิจัยแบบบูรณาการ

จากความหมายของคำว่า  “วิจัย”  และ “บูรณาการ”  ข้างต้น  เมื่อนำมารวมกันเป็นคำว่า  วิจัยแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นการหมายรวมของการวิจัย(การค้นคว้าหาความรู้และข้อเท็จจริงอย่างเป็นระเบียบ  แบบแผน )โดยใช้การผสมผสานทั้งเรื่องคน  ความรู้ งบประมาณ  วิธีการที่เชื่อมโยงสอดรับเพื่อให้เกิดความรู้และข้อเท็จจริงอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม นอกจากนี้นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการวิจัยเชิงบูรณาการไว้ดังนี้

ชัยอนันต์ สมุทวณิช (อ้างถึงในนที เนียมศรีจันทร์,สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,2547) “การวิจัยบูรณาการ หมายความว่า การเชื่อมโยงความรู้ การแสวงหาความรู้ การศึกษาค้นคว้ากับการใช้ทรัพยากรอันมีจำกัด เพื่อก่อให้เกิดพลังสูงสุดในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

                การวิจัยแบบบูรณาการหมายถึง  การวิจัยที่สร้างความเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ  ให้เป็นเนื้อเดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมูลค่า/คุณค่าเพิ่ม  ตัวอย่างของการบูรณาการได้แก่การต้มยาและยาสมุนไพร  ที่จะต้องนำวัตถุดิบมาผสมผสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน  การวิจัยแบบบูรณาการจึงควรมีลักษณะสำคัญคือ1) การวิจัยที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆให้เป็นเนื้อเดียวกัน2) สร้างมูลค่า3) เกิดผลดีกับประชาชนจำนวนมาก

                นอกจากนี้สำนักงานวิจัยแห่งชาติ  ยังได้กล่าวถึงการวิจัยการวิจัยแบบบูรณาการ ในเอกสารแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ  ปี  2549  อีกว่างานวิจัยแบบบูรณาการ  เป็นการวิจัยที่ผนวกสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีการรายงานผลงานวิจัยแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) กับหน่วยงานบริหารนโยบายระดับชาติเพื่อนำไปสู่การดำเนินนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศการวิจัยแบบบูรณาการจะช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนของงานวิจัย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัย หน่วยงานนโยบายระดับกระทรวง และภาคเอกชน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน มีการกำหนดภารกิจต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่ทันต่อปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ

                เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นจะขอยกตัวอย่างกรอบการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยแบบบูรณาการของ  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ปี2547(อ้างถึงในนที เนียมศรีจันทร์) ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกรอบข้อเสนอการวิจัยแบบบูรณาการทั้งด้านวิชาการและงบประมาณดังนี้

1) ข้อเสนอการวิจัยในเชิงบูรณาการ : ด้านวิชาการ มีประเด็นพิจาณาหลัก ๆ ดังนี้

    1.1 เป็นการวิจัยที่ส่วนใหญ่เป็นระดับแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัย (ResearchProgram) ดำ เนินการบูรณาการโดยการเชื่อมโยงแผนงานวิจัยย่อย (Research Sub-program) โครงการวิจัย (Research Project) และหรือโครงการวิจัยย่อย (Research Sub-project) ที่ธรรมชาติของการวิจัยมีความแตกต่างกันเข้าด้วยกัน เพื่อเน้นให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักเดียวกัน ในแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยที่จัดทำ ขึ้นนี้

      1.2 เป็นการวิจัยที่แต่ละสายอาชีพ (Career Path) มีปัญหาเป็นแบบองค์รวม(Holistic Problems) ซึ่งประกอบด้วยหลายสาเหตุ จึงมีความจำ เป็นต้องใช้ผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญและชำ นาญการเฉพาะทาง (Excellence) ต่าง ๆ มาร่วมกันคิดและมาร่วมกันทำ การวิจัยกันเป็นทีมวิจัยหรือคณะวิจัย (Team Researching) เพื่อขจัดแต่ละสาเหตุของปัญหาในแบบองค์รวมโดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักเดียวกัน

   1.3 เป็นการวิจัยแบบสหสาขาวิชาการหรือพหุสาขาวิชาการ ( Multidisciplines ได้แก่ :

1.3.1 ประเภทหลายสาขาวิชาการ (Multidisciplinary Study) คือ มีมากกว่า2 สาขาวิชาการ

1.3.2 ประเภททวิสาขาวิชาการ ( Interdisciplinary Study ) คือมี 2 สาขาวิชาการ

1.4 เป็นการวิจัยแบบเอกสาขาวิชาการ (Monodiscipline) ได้แก่ :

1.4.1 ประเภท 1 สาขาวิชาการ (Intradisciplinary Study) ที่ประกอบด้วยสหกลุ่มวิชาหรือหลายกลุ่มวิชา (Multi-subdisciplines)

2) ข้อเสนอการวิจัยในเชิงบูรณาการ : ด้านงบประมาณ มีประเด็นพิจารณาหลักๆ ดังนี้

2.1 เป็นการวิจัยที่หลายหน่วยงานอันประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน และหรือภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันคิดและมาร่วมกันทำ การวิจัยกันเป็นทีมวิจัยหรือคณะวิจัย(Team Researching) โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักเดียวกัน

2.2 เป็นการวิจัยที่มีลักษณะเป็น เครือข่าย (Network) ในเชิงหุ้นส่วน (Partnerships)ที่รวมกันเป็นกลุ่ม (Cluster) ในรูปสมาคม (Consotium) โดยการร่วมสมทบค่าใช้จ่ายในการวิจัย

และหรือมีส่วนร่วมในการนำ ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

2.3 เป็นการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ

ระยะปานกลาง (พ.ศ. 2548-2550) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล หรือเป็นการวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนหรือนโยบายสำคัญของรัฐบาล (HotIssue)

2.4 เป็นการวิจัยที่มีผู้รับผิดชอบหลัก (Lead Minister) และผู้รับผิดชอบรอง

(Supporting Minister) ที่ชัดเจน

                จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการวิจัยเชิงบูรณาการนั้นเป็นงานวิจัยที่ สามารถผสมผสานองค์รวมของความรู้  วิธีการ  งบประมาณ  มาสร้างองค์ความรู้และข้อเท็จจริงได้อย่างมีคุณภาพ

 

เอกสารอ้างอิง

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ . การคิดเชิงบูรณาการ กรุงเทพฯ:ซัคเซส มีเดีย, บจก.,  2546

เกษม  วัฒนชัย.วิจัยเพื่อสังคมไทยทศวรรษหน้า...ผ่านสายตา 3 นักวิชาการอาวุโสแห่งยุคสมัยชาวบ้าน.  ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2552.

ชนาธิป  พรกุล.  CAFS  :  A student – Centered  Instructional  Model.  กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2543.

นที เทียมศรีจันทร์.บทสรุปการจัดทำข้อเสนอการวิจัยในเชิงบูรณาการสำหรับผู้บริหาร : ฉบับกระเป๋า.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2547

ปริวัตร   เขื่อนแก้ว2553.การจัดการความรู้ด้านการวิจัย อ้างถึงในwww.polpacon7.ru.ac.th/ค้นเมื่อ 10  ตุลาคม  2553http://gotoknow.org/blog/pariwat/105250

วรรณี  แกมเกตุ.วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551

วินิดา เจียระไน.การบูรณาการรายวิชาในหลักสูตรการอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2550

วัฒนา  ระงับทุกข์.  แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.  กรุงเทพฯ  :  แอลทีเพรสจำกัด ,2542

สัมพันธ์  เตชะอธิก และคณะ.การพัฒนาความเข็มแข็งขององค์กรชาวบ้าน.  ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2548

สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.  การวิจัยการวิจัยแบบบูรณาการ. เอกสารแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ.กรุงเทพฯ:สำนักงานวิจัยแห่งชาติ, 2549 

สุวิทย์  มูลคำและคณะ.  Child center  :  Storyline method  :  การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.  กรุงเทพฯ:ที.พี.พริ้น  จำกัด ,2542.

หมายเลขบันทึก: 487490เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท