งานพยาบาล...สู่....งานวิจัย


การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : ประสบการณ์สำเร็จของพยาบาลวิชาชีพในการสร้าง R2R ในโรงพยาบาล

งานพยาบาล...สู่...งานวิจัย

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

     หลังจากที่ได้สร้างวัฒนธรรมการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยในโรงพยาบาลโพธาราม มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ในฐานผู้ประสานงาน/ดำนนินงานหลัก พบว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความพยายาม มุ่งมั่นในการสร้างผลงานวิชาการ/งานวิจัย ก็คือ พยาบาล แม้ว่าจะมีภาระงานที่มากล้นมือ ความตั้งใจที่จะพัฒนาการพยาบาลให้ดีขึ้น มีคุณภาพสูง เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด เห็นจะเป็นพยาบาลเท่านั้น ที่สามารถทำได้

       ถ้าใครๆได้มาเห็นว่า พยาบาลที่ต้องดูแลคนไข้หนักๆ งานสารพัดรอบตัว เดินเกือบทั้ง 8 ชม. ความรับผิดชอบสูงต่ออาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย ความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน รองรับอารมณ์ผู้ป่วยหรือญาติบางราย...ฯลฯ ยังมีกำลังใจที่จะสร้างผลงานวิจัยจากงานประจำ เพียงหวังว่า จะเพิ่มคุณภาพการพยาบาลและการดูแลรักษาผู้ป่วย ผู้บริหารจึงควรสนับสนุนส่งเสริมยิ่งนัก...

       ดิฉันได้เห็นแล้วที่ รพ.โพธาราม จึงอยากชื่นชมพยาบาลอย่างมากที่สุด ในฐานะที่เป็นพยาบาลด้วยกัน ความรู้สึกที่ดีดี ที่พยาบาลมีให้แก่ผู้ป่วยนั้นมีคุณค่ายิ่งนัก ถือเป็นความหวังดีที่มีต่อกันและบริสุทธิ์ยิ่งนัก  และผู้บริหารทุกระดับของรพ.โพธารามให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ บางหน่วยผู้บริหารลงมือเองด้วยซ้ำเนื่องจากท่านเห็นประโยชน์ที่มีคุณค่ายิ่ง ด้วยเหตุนี้ ดิฉันอยากเชิญชวนให้ทุกท่านที่ได้อ่าน ช่วยสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้แก่พยาบาลทั่วประเทศที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ และเพิ่มศักยภาพของทีมพยาบาล เพื่อผู้ป่วย

      งานวิจัย ถือเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้และเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิชาการที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เคยกล่าวไว้ว่า การวิจัยเป็นการปฏิบัติทางสังคมที่ทำให้เกิด"ความรู้"เอาไว้ต่อสู้กับ "ความเห็น" ดิฉันเชื่ออย่างนั้นเช่นกัน เพราะหลักฐานทางวิชาการที่สามารถยืนยันได้ น่าเชื่อถือนั้น ย่อมเป็นที่ยอมรับของสังคม แต่เป้าหมายสำคัญ คือ ความปรารถนาดีของพยาบาลที่ต้องการให้ผู้ป่วยปลอดภัย พึงพอใจในการบริการ

       สุดท้ายนี้  การพัฒนาคุณภาพงานบริการด้านสุขภาพ น่าจะถือเป็นการวิจัยที่มีประโยชน์สูงสุด ถือว่าเป็นการทำR2Rที่เริ่มจากใจ  มิใช่จากการมีความรู้ทางวิชาการ มิได้เริ่มจากระเบียบวิธีวิจัยที่ยุ่งยาก พยาบาลที่ทำR2R มิได้หวังผลเหมือนนักวิจัยมืออาชีพที่ต้องการผลงานเพื่อประโยชน์ส่วนตน หากแต่ทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยโดยแท้จริง จึงอยากให้ผู้บริหารของทุกองค์กร สนับสนุนบุคลากรของโรงพยาบาลในการสร้างงานวิจัยจากงานประจำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรโดยบุคลากรที่มีศักยภาพสูง...น่าภาคภูมิใจยิ่งนัก

 

หมายเลขบันทึก: 487454เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท