โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอวังเหนือ


โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอวังเหนือ

       โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเจ้าหน้าที่  คปสอ.วังเหนือ  

            ด้วยแนวคิด    ปัญญาญาณในการดูแล : Caring Wisdom

         (นายไชยวัฒน์ อินญาวิเลิศ,สสจ.ลำปาง : ผู้นำข้อมูลเผยแพร่)

                                           

      ภาพกิจกรรมที่น่าสนใจมากๆ

 

 

                                   รายละเอียดของโครงการ

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเจ้าหน้าที่ คปสอ.วังเหนือ

(ปัญญาญานในการดูแล : Caring Wisdom)

 

กิจกรรมของโครงการ

          1.จัดทีมดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเจ้าหน้าที่

          2.ตรวจสุขภาพประจำปีและสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของ

เจ้าหน้าที่ คปสอ.วังเหนือ

          3.นำผู้ที่มีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยน

พฤติกรรม  โดยใช้หลักสูตรปัญญาญานในการดูแล : Caring Wisdom

ของ  สวนพันดาว  จังหวัดเชียงใหม่  (ศุกร์ – อาทิตย์  รวม 3 วัน 2 คืน)

          4.ติดตามและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

          5.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 ในสัปดาห์ที่ 12 (3 เดือน)

 

ระยะเวลาดำเนินการ     

          เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนสิงหาคม  2555

 

ตัวชี้วัดโครงการ

          1.บุคลากร คปสอ.วังเหนือที่มีผลการตรวจระดับไขมัน(Cholesterol )

ในเลือดผิดปกติและบุคลากรที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า  25.0 kg/m2 เข้าร่วม

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ  60

          2.พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากร คปสอ.วังเหนือ        กลุ่มเป้าหมาย

ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพดีขึ้นจากเดิม อย่างน้อยร้อยละ 10

 

          วิเคราะห์การดำเนินงาน ปรับพฤติกรรม 7 ขั้นตอน

ระดับคะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน

แนวทางการดำเนินงานของโรงพยาบาลวังเหนือ

1

ขั้นตอนที่ 1

มีทีมดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วยผู้เกี่ยวของในพื้นที่ดำเนินการ

  • มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับ คปสอ.รวมมีคณะกรรมการ   18   คน 

     โดยคณะกรรมมาจากตัวแทนของหลายหน่วยงาน  เช่นตัวแทนจากกลุ่มงานเวชฯ,NCD,งานโภชนาการ,งานกายภาพบำบัด  และตัวแทนจาก รพ.สต เป็นต้น

2

ขั้นตอนที่ 2

มีการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ดำเนินการและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

  • มีการศึกษาข้อมูลสุขภาพจากข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีของเจ้าหน้าที่

             จากการศึกษาข้อมูลมีเจ้าหน้าที่ ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีไขมันในเลือดสูง(Cholesterol และ Triglyceride ) และมีค่า BMI เกินมาตรฐาน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน เข้าร่วมรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  รวมทั้งสิ้น  60  คน

3

ขั้นตอนที่ 3

มีการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม(ขั้นที่ 3)     โดยมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชนประกอบด้วย

1)        การให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย(ปัจจัยนำ) โดยวิธีการที่สอดคล้องกับประเด็นและกลุ่มเป้าหมาย

2)        การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(ปัจจัยเอื้อ) อาทิ คลินิก DPACT คลินิกที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น การสร้างสถานที่ออกกำลังกาย ฯลฯ

3)       การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(ปัจจัยเสริม)อาทิ การมีต้นแบบ การบังคับใช้กฏหมายฯลฯ

  • § แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคปสอ.วังเหนือ

-    ประเมินผู้มีความเสี่ยงจากผลการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่

-    ผู้มีความเสี่ยงเช่น มีไขมันในเลือดสูง(Cholesterol และ Triglyceride ) และมีค่า BMI เกินมาตรฐาน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน เข้าร่วมรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  รวมทั้งสิ้น  60  คน  โดยใช้หลักสูตรปัญญาญานในการดูแล : Caring Wisdom ของ  สวนพันดาว  จังหวัดเชียงใหม่(ศุกร์ – อาทิตย์  รวม 3 วัน 2 คืน)

-    จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  โดยทีมงานมีกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม  และมีการติดตามทุกเดือน  โดยจะติดตามกลุ่มเป้าหมายทุกวันศุกร์สิ้นเดือนเวลา 15.00 น.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการรวมตัวกัน  และได้แลกเปลี่ยนประสบการซึ่งกันและกัน

-    สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการ หลังการอบรม 6 เดือน

 

4

ขั้นตอนที่ 4

  • มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชนตามแผนที่กำหนด(ขั้นที่ 4)  และเพิ่มเติมกิจกรรมดังนี้
  • มีการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ (ขั้นที่ 5)
  • มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมดำเนินการและประเมินผลการจัดกิจกรรม (ขั้นที่ 6)
  • จัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

         โดยดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  โดยใช้หลักสูตรปัญญาญานในการดูแล : Caring Wisdom ของ  สวนพันดาว  จังหวัดเชียงใหม่  (ศุกร์ – อาทิตย์  รวม 3 วัน 2 คืน)

  • เฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมสุขภาพ

      โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  โดยทีมงานมีกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม  และมีการติดตามทุกเดือน  โดยจะติดตามกลุ่มเป้าหมายทุกวันศุกร์สิ้นเดือนเวลา 15.00 น.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการรวมตัวกัน  และได้แลกเปลี่ยนประสบการซึ่งกันและกัน

  • การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมดำเนินการ

(จะจัดให้มีการดำเนินการในเดือนมิถุนายน 2555)

 

5

ขั้นตอนที่ 5

ผลการประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค     (ขั้นที่ 7)  ระดับอำเภอ

5.1 ร้อยละของเครือข่ายเป้าหมาย

5.2 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสม

 

  • รอสรุปหลังเสร็จสิ้นโครงการ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 487411เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท