จริงหรือ?...ที่คุณบอกว่าไม่มีเวลา...มาลองอ่านดูกันมั้ย


   “ไม่มีเวลาจริงหรือ”

                   ชีวิตคนเราเมื่อพิจรณาให้ดีแล้ว มันสั้นนักมีเกิดและดับเป็นธรรมดาโลก แต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่  มนุษย์ผู้มีปัญญาจึงควรที่จะ

                  ดำรงชีวิตอย่างชาญฉลาด พระพุทธเจ้าเคยอบรมสั่งสอนมนุษย์ไว้ว่าทรัพย์สินที่พึงได้จากการประกอบกิจการงานต่างๆนั้นควรแบ่งออกเป็น4 กองเท่าๆกัน  

                              กองแรก เก็บสะสมไว้ใช้ยามขัดสน  

                                        กองสอง  ใช้จ่ายเพื่อทดแทนผู้มีพระคุณ  

                                        กองสาม ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว

                                        กองสี่  ใช้เพื่อสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่สังคม

             มนุษย์ทุกคนไม่ยอมแบ่งเวลามาดูบุคคลที่รัก และตนเองเลยทุ่มเทกับงานทั้งหมด การคิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่โง่เขลาเป็นที่สุด ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่าๆกัน ถ้าอยากจะเป็นมนุษย์ที่ชาญฉลาด ควรจะแบ่งปันเวลาให้เสมือนหนึ่งการแบ่งปัน “กองเงิน”

ไม่ต้องแบ่งเท่าๆกันก็ได้แต่แบ่งให้เหมาะสมเท่านั้นคือ...........

                                         8   ชั่วโมง สำหรับการทำงาน เพื่อก้าวหน้ามั่นคงในชีวิต

                                         8   ชั่วโมง สำหรับการพักผ่อน เก็บเรี่ยวแรงไว้ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ

                                         5   ชั่วโมง สำหรับการเดินทาง เพื่อประกอบกิจการต่างๆ

                                         2   ชั่วโมง สำหรับโลกส่วนตัวของตนเอง

                                         59  นาที สำหรับดูแลรักความสะอาดของที่อยู่อาศัยและช่วยเหลือสังคม

                และ1   นาที ของคุณมองให้คนที่รักและห่วงใยคุณเพราะ 1 นาทีนี้มีค่ามากเกินคณานับได้ในความรู้สึกของเขาคนนั้น จงอย่ากล่าวว่า “ไม่มีเวลา” มนุษย์ผู้ชาญฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิตจึงไม่ใช่ผู้ที่เก่งแต่การทำงานอย่างเดียว

ต้องเป็นที่รู้จักแบ่งสัดส่วนเวลาวันละ 24 ชั่วโมง ของตนเองได้อย่างลงตัว วันละ 24 ชั่วโมงของตนเองที่มีไว้สำหรับการทำงาน

นี่แหละคือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดที่รู้จัก  “ใช้เวลา”และวันนี้คุณจะอ้างเหตุผลว่า “ไม่มีเวลา” อีกหรือ……

                                   เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น

                                   อย่ามัวคิดว่าใครเป็นคนทำ

                                   แต่จงคิดจะแก้ไขได้อย่างไร

                          

                               ที่มา   :  นวพันธ์ปิยวรรณ และ สุปราณี วัชระมงคล

                                ผู้ย่อ  :   นางกัลยา   สุขกระจ่าง

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 486588เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2012 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นข้อความที่น่าอ่านมาก ทำให้การแบ่งเวลาของเราดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท