ตัวอย่างแผนการเรียนรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าเรียนรู้ 3/1 โดย ชาตรี สำราญ


แผนการเรียนรู้ย่อยที่  1

ตอน  “ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ฉันควรรู้จัก ”   เวลา   1   ชั่วโมง

 

 

แนวคิดสำคัญ     

การเขียนอธิบายถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติใน    ชุมชนเป็นการสร้างความมั่นใจและเข้าใจต่อเรื่องที่เรียนรู้  ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ความจริงจากสภาพความเป็นจริง จะสามารถนำมาเขียนบรรยายได้ดีกว่าเรียนรู้จากการท่องจำตำรา

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

รู้จักสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน

 

จุดประสงค์การเรียนรู้  (นำทาง)

1.1    สามารถเขียนอธิบายถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติใน ชุมชนได้

1.2    สามารถวาดภาพและเขียนแผนผังสิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติในชุมชนได้

 

สาระการเรียนรู้

1.1    การเขียนอธิบายถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน

( ดูเอกสารประกอบการสอน ภาคผนวก 1 )

1.2    การวาดภาพ และ เขียนแผนผังแสดงสิ่งแวดล้อมทาง    ธรรมชาติในชุมชน

 

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ :                การทำงานร่วมกัน

ทักษะที่ต้องการเน้น           :               ทักษะการเขียน

กิจกรรม

คำถามนำ

กิจกรรม

1.1    สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชนของเรามีอะไรบ้าง ?   มีเหตุผลใดจึงเรียกสิ่งนั้น ๆ ว่า “สิ่งแวดล้อมทาง     ธรรมชาติ”

1.2    ถ้าเราจะเขียนแผนผังพร้อมวาดภาพแสดงที่ตั้งของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่จะเขียนได้แบบใด

  1. นักเรียนร่วมกันจัดกลุ่มตาม   

        ลักษณะชุมชนเล็ก ๆ ที่ตน

        อาศัยอยู่ ( สมาชิกในกลุ่ม

         จะมีจำนวนไม่เท่ากัน )

 

  1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกัน

พิจารณาว่า

2.1    เราเรียนเรื่องนี้ทำไม

2.2    มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสิ่งแวด

      ล้อมทางธรรมชาติใน

 

คำถามนำ

กิจกรรม

 

      ชุมชนของเรา และมีเหตุ  ผลใดจึงเรียกสิ่งนั้น ๆว่า “ สิ่งแวดล้อมทาง   ธรรมชาติ ”

2.1   สิ่งแวดล้อมทาง     ธรรมชาติที่เรารู้จักนั้นเราสามารถเขียนแผนผังแสดงที่ตั้งและวาดรูปประกอบได้แบบใด

2.2   เรามีวิธีการใดที่จะค้นหาคำตอบมาเสนอกลุ่มชั้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. นักเรียนทุกกลุ่มร่วมกันปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
  2. นักเรียนทุกกลุ่มนำสิ่งที่ทำสำเร็จแล้วไปปิดที่ฝาผนัง

 

คำถามนำ

กิจกรรม

 

        4.1   แผนผังแสดงที่ตั้งของ

                สิ่งแวดล้อมทาง    

                ธรรมชาติในชุมชน

                พร้อมภาพวาด

4.2      คำอธิบายถึงสิ่งแวด

ล้อมทางธรรมชาติใน

         ชุมชน

นักเรียนกับครูร่วมกันสรุปถึงความหมายของคำว่า “สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ”  แล้วตรวจสอบผลสรุปที่แต่ละกลุ่มเขียนไว้ ปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

 

 

สื่อ / นวัตกรรม / แหล่งเรียนรู้

วัสดุอุปกรณ์         

  1. กระดาษปรู๊ฟแผ่นใหญ่ ( สำหรับเขียนความคิดและแผนผัง )           
  2. ปากกาเคมี 
  3. สีไม้หรือสีเมจิก
  4. กระดาษกาวย่น
  5. เอกสารประกอบคำสอน ( ดูภาคผนวก 1 ) มีจำนวนเท่าจำนวนกลุ่มนักเรียน

 

วัดและประเมินผล

  1. ครูคอยสังเกตพฤติกรรมและวิธีการทำงานของนักเรียนแล้วสรุปประเมินคุณภาพของการเรียนรู้ตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพของงาน ( Rubrics ) ที่กำหนดไว้          ( ตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพผลงานที่แนบมาหลังแผน )
  2. นักเรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเขียนประเมินผลตามอิสระ  ครูค่อยนำมาวิเคราะห์  สรุปประเด็นภายหลัง ( ฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ

 

เกณฑ์ประเมินคุณภาพผลงานตามจุดประสงค์การเรียนรู้

 

ระดับ

ความเข้าใจในการทำงาน

คุณภาพของงาน

4

เขียนอธิบายให้เห็นสภาพ สิ่งแวดล้อมในชุมชนได้ชัดเจน ข้อมูลบอกแหล่งเรียนรู้ที่นำมาอ้างอิงชัดเจน  แสดงความคิดเห็นผ่านการวิเคราะห์  สังเคราะห์ จากประสบการณ์ความจริงที่กระทำและพบเห็นในชีวิตประจำวัน นำมาเขียนได้อย่างสมเหตุสมผล  มีการตรวจสอบความถูกต้องของงานตลอดเวลา  ภาพและแผนผังที่นำประกอบถูกต้องตามหลักวิชาการและความเป็นจริง

ผลงานมีต้นฉบับร่างแสดงให้เห็นถึงกระบวนการและวิธีการคิด  วิธีการทำงาน  มองเห็นภาพการทำงานที่ผ่านการคิด ปรับปรุงแก้ไข  แสดงให้เห็นภาพความคิดซับซ้อน  ชัดเจน  ผลงานที่สำเร็จรูป  สะอาดสวยงาม  น่าหยิบอ่าน

 

ระดับ

ความเข้าใจในการทำงาน

คุณภาพของงาน

3

เขียนอธิบายให้เห็นสภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้ชัดเจน  มีข้อมูลบอกแหล่งเรียนรู้ที่นำมาอ้างอิงบ้าง  แต่ไม่กี่แหล่ง   แสดงความคิดผ่านการวิเคราะห์  สังเคราะห์  สิ่งที่นำมาเขียนเหตุผลน่าเชื่อถือ  ตรวจสอบผลงานตลอดเวลา  ภาพและแผนผังที่นำประกอบถูกต้อง ดูแล้วเข้าใจ

มีต้นฉบับร่างแสดงให้เห็นกระบวนการและวิธีการคิด  วิธีการทำงาน  ผลงานสะอาด  สวยงามน่าหยิบอ่าน  แต่ขาดภาพแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงแก้ไข ผลงานและความคิดซับซ้อน

2

เขียนอธิบายให้เห็นภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เพียงพออ่านเข้าใจ  ขาดข้อมูล   อ้างอิง  ภาพและแผนผังขาดความชัดเจน

ขาดฉบับร่างที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงาน ไม่เห็นภาพกระบวนการคิด  มองดูรู้ว่าคิดแล้วทำโดยไม่ได้ไตร่ตรอง

19

1

เขียนอ่านไม่ค่อยเข้าใจ

แผนผังดูแล้วไม่เข้าใจ

ขาดกระบวนการคิดทำงานไม่มีหลักฐาน

 

บันทึกหลังสอน

 

                บันทึกหลังสอน  ครูควรสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  แล้วบันทึกไว้อย่างละเอียดว่า

                มีปัญหาอะไรบ้าง   ทำไมจึงเกิดปัญหานั้น ๆ

                มีวิธีการแก้ไขอย่างไร

                ผลที่เกิดแบบใด

 

ข้อเสนอแนะ  ( ของผู้สอน)

                แสดงความคิดเห็นว่า  ครู ( ผู้สอน ) ควรทำอย่างไรต่อไป

 

ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา

                .............................................................................................

...........................................................................................................

...........................................................................................................

 

  อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ    https://docs.google.com/docume...   

หมายเลขบันทึก: 486147เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2012 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท