"ค้นสุข"สัญจร


"ค้นสุข"สัญจร จากดอยสูงสู่ทะเลอันดามัน

"ค้นสุข"สัญจร
จากดอยสูงสู่ทะเลอันดามัน

เพราะความสุขจาก “วัตถุ” คงการันตีความต้องการของชีวิตไม่ได้ อีกครั้นจะหวังลาภลอยคอยโชคก็ยากจะรู้เวลาแห่งความสมหวัง เหตุเช่นนี้การรู้จักตัวเอง และฝึกฝนสร้างความสุขจาก “ภายใน” จึงน่าค้นหากว่าไหนๆ

ทำให้อยากพูดถึงอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ อันมาจากสถาบันปัญญาปีติ โครงการสุขแท้ด้วยปัญญา เครือข่ายพุทธิกาจัดกิจกรรมเรียนรู้ตัวเองแก่เยาวชนจิตอาสาผ่านการเดินทางภายใต้ชื่อเก๋ๆ "จากดอยสูง สู่ทะเลอันดามัน”โดยครั้งนี้เป็นคิวของเยาวชนจากพื้นที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ที่จะร่วมเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากเหนือไปสู่ใต้ ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต จ.ระนอง และกรุงเทพฯ เมื่อ31 มี.ค. – 10 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งแน่นนอนว่าด้วยกิจกรรมที่เต็มเอี๊ยด ทำให้ผู้เข้าร่วมต่างได้ประสบการณ์ และแง่คิดใหม่ๆ จนน่าเก็บมาฝาก

ขอเริ่มที่ “นางสาวสุนันทา ชาตรีอาทิตย์” ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้จากดอยสูงฯ ด้วยเพราะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านห้วยมะโอ ต.แม่สามแลป อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งบอกว่า เธอไม่เคยมีโอกาสเห็นทะเลมาก่อน การมาเรียนรู้ครั้งนี้นอกจากจะทำให้เห็นความสวยงามของทะเล แล้วยังเห็นด้านเศรษฐกิจ เพราะที่ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวเยอะ แตกต่างจากที่หมู่บ้านของเธออย่างสิ้นเชิงไม่มีนักท่องเที่ยวเพราะอยู่บนดอย เดินทางลำบาก โดยหลังจากการเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ “เธอ” ได้เปิดหูเปิดตาในสิ่งที่ไม่เคยเห็น แล้วยังได้ความรู้ใหม่ๆในการทำการเกษตรจากวิทยากรผู้เข้าร่วมอบรม รู้ถึงการปลูกพืชขึ้นที่เหมาะสมกับพื้นที่ และหาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม “ที่ระนองเราได้เรียนรู้การทอผ้า เราเลยเห็นว่าการทำผ้าของเขาไม่เหมือนกันกับของเรา ของเขาถ้าคนที่ชำนาญเขาทำได้เร็วกว่าเรา แต่ผ้าของเขาจะบางกว่า บ้านเราก็ทอผ้าเหมือนกัน เรื่องนี้จึงได้มีการแลกเปลี่ยนกัน”

ขณะที่ “ด.ญ.สุดาพร ใจฟู” นักเรียนชั้นม.2 โรงเรียนฮอดพิทยาคม จ.เชียงใหม่ เล่าว่า เคยเข้าร่วมโครงการสุขแท้ด้วยปัญญามาแล้ว การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้เราได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมที่ต่างออกไป เช่นวิถีชาวมุสลิมในภาคใต้ ได้เห็นว่าในพื้นที่ต่างๆ มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมได้ดี คือเด็ก ๆ ให้ความสนใจในวัฒนธรรมพื้นบ้าน นี่เป็นอีกจุดเริ่มต้นหนึ่งที่ทำให้คิดว่าในปีนี้ จะเขียนโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์เรื่องความเป็นอยู่วิถีชีวิต “พอเราเห็นเขาทอผ้าจากวิถีชีวิต เราเลยอยากอนุรักษ์ไว้ เช่น เด็กๆ เยาวชนแถวบ้านเขาจะอยู่แบบไม่สนใจวิถีชีวิต อย่างตัวหนูเอง เมื่อก่อนคุณปู่คุณย่าสานตะกร้า เราก็ไม่ได้สนใจ คิดว่าทำไมต้องสานเองก็ไปซื้อมาก็ได้ แต่พอมาในครั้งนี้ ความคิดเราก็เปลี่ยนไป เพราะเป็นวิถีชีวิตเป็นวัฒนธรรมที่ควรรักษาไว้”

ส่วนมุมมองของ“นางสาววศิกา หยกสิริผลลาภ” จาก อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ที่เล่าว่า หลังจากได้เรียนรู้ในพื้นที่ต่างๆ คิดว่าแต่ละที่มีความต่างกัน เช่น ประสบการณ์ที่จ.ภูเก็ต ซึ่งมีการอนุรักษ์ป่าชายเลน ก็คล้ายคลึงกับโครงการอนุรักษ์ป่าในชุมชนเหมือนกัน เพียงแต่มีข้อกำหนดบางข้อที่เรายังไม่มีเช่น การอนุรักษ์ป่า ถ้ามีคนบุกรุกเราควรป้องกันอย่างไร โดยอาจจะมีกรรมการหมู่บ้าน มีเด็กไปช่วยกันปลูก ช่วยกันดูแล ซึ่งความคิดนี้จะกลับไปบอกต่อให้คนในชุมชนได้รับทราบร่วมกัน

ก่อนที่ปิดท้ายที่พี่ใหญ่อย่าง “นิติศักดิ์ โตนิติ” ผู้อำนวยการสถาบันปัญญาปีติ ที่ขมวดปมตอนท้ายอย่างน่าสนใจว่าเข้าร่วมในโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา ปี 2 – 3 ซึ่งเมื่อได้เริ่มเรียนรู้หลักการดำเนินการที่ว่า คิดถึงประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าตนเอง ไม่หวังพึ่งพาความสุขจากวัตถุเพียงอย่างเดียวแล้ว ได้เชื่อมั่นในความเพียรแห่งตนไม่หวังลาภลอยคอยโชคอีกต่อไป ทำให้เกิดการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลมีประโยชน์เกื้อกูล มากขึ้น
สถาบันปัญญาปีติ ซึ่งมีแนวคิดในการจัดตั้งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสสำหรับ จัดการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเอง ด้วยความเชื่อมั่นว่า “มนุษย์” มีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อเข้าถึงสัจจะความจริง จากการดำเนินชีวิตของตนในเบื้องต้น ได้ด้วยความเกื้อกูลกันและกันของสรรพสิ่ง ที่ดำรงอยู่ รายรอบตัวของเรา อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน มุ่งเน้นการเติบโตภายในอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

“ในการจัดกิจกรรมแต่เรามองเห็นว่าการมาในครั้งนี้ จะเป็นตัวเสริมให้น้องๆ ด้วยเมื่อเขาตั้งใจที่จะทำงานนี้ อะไรที่เหมาะสมกับความตั้งใจของเขาเราก็พยายามทำในด้านของเรา ก็เลยคิดว่าใช้เรื่องราวที่เขาตั้งใจทำทั้งเรื่องป่าอนุรักษ์กับผ้าทอ แล้วก็ลองระดมทุนรายย่อยดู คิดว่าคุณค่าของบทเรียนที่จะทำให้ชีวิตน้องๆ ได้ เพราะเรื่องนี้มันดีงาม มันเป็นความสุขที่เราต้องคิดเป็น เห็นตรง ก็ตรงกับสุขแท้ด้วยปัญญาพอดี”นิติศักดิ์ว่าถึงแนวคิดกิจกรรมเดินทางจากเหนือสู่ใต้เพื่อทบทวนตัวเอง
ทั้งนี้จะว่าไปนี่แค่เรียกน้ำย่อย เพราะโครงการสุขแท้ด้วยปัญญาประจำปี 2555 กำลังเปิดโอกาสให้แก่เยาวชนผู้ถวิลหาแนวทางการเติบโตด้านสติปัญญา และสุขภาวะของจิตใจเช่นเคย และแน่นอนว่าสำหรับผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องมูลค่าของความสุขแห่งวัตถุในระดับที่เกินความพอดีแล้ว 

หมายเลขบันทึก: 485932เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2012 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท