ให้นักศึกษายกตัวอย่าง Malware มา 5 ชนิด พร้อมกล่าวถึงรายละเอียด พร้อมวิธีป้องกันและแก้ไข


ตัวอย่าง Malware มา ชนิด พร้อมวิธีป้องกันและแก้ไข
  • รายละเอียดของ Malware 5 ชนิด
1. Virus (ไวรัส) แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์ของคุณโดยการเพิ่มจำนวนตัวมันเองขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ไวรัสต้องส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ เวลาที่ส่ง E-mail โดยแนบเอกสาร หรือไฟล์ที่มีไวรัสไปด้วย, การทำสำเนาไฟล์ที่ติดไวรัสไปไว้บนไฟล์เซริฟเวอร์, การแลกเปลี่ยนไฟล์โดยใช้แผ่นดิสก์เก็ต เมื่อผู้ใช้ทั่วไปรับไฟล์ หรือดิสก์มาใช้งาน
2. Worm (หนอน) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (E-mail) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายรุนแรงกว่าไวรัสมาก
3. Trojan (ม้าโทรจัน) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ และโทรจันยังมีอีกหลายชนิด
4. Spyware (สปายแวร์) แต่ไม่ได้มีความหมายลึกลับเหมือนอย่างชื่อ แต่กลับถูกใช้สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เสียมากกว่า ในอันที่จริง สปายแวร์จะได้รับความรู้จักในชื่อของ แอดแวร์ ด้วย ดังนั้นคำว่าสปายแวร์จึงเป็นเพียงการระบุประเภทของซอฟต์แวร์เท่านั้น ส่วนความหมายที่แท้จริง สปายแวร์ หมายถึงโปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนา
5. Phishing (ฟิชชิง) การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น การบอกแก่ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทำให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและใส่ข้อมูลที่สำคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงค์ไปนั้น มักจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง
  • วิธีการป้องกัน และแก้ไขกรณีตรวจพบ Malware
1. ตรวจสอบ E-mail ทุกฉบับที่ส่งเข้ามา ว่ามาจากบุคคลที่รู้จักหรือไม่ ข้อมูลต้นทาง และปลายทางของ E-mail ถูกต้องมีหัวข้อเรื่องที่ติดต่อชัดเจน
2. หากมีไฟล์แนบมากับ E-mail จะต้องทำการ SCAN ตรวจหาไวรัสก่อนการใช้งานทุกครั้ง แต่ปกติโปรแกรมสแกนไวรัสก็จะสแกนให้อยู่แล้ว
3. เอกสาร Word Excel อาจมีไวรัสประเภท Macro Virus แฝงมาได้ ควรจะดูแหล่งที่มาให้ดี ไฟล์จำพวก .COM, .EXE, ZIP หรืออื่นๆ ที่แนบมากับ email อาจมีไวรัสประเภท Worm, Trojan หรืออื่นๆได้ไม่ควรเปิดทำการอัพเดทแพตช์ระบบวินโดวส์และโปรแกรมแอพพลิเคชันอย่างสม่ำเสมอ
4. ติดตั้งโปรแกรม Anti Virus ซึ่งมีให้เลือกใช้งานหลากโปรแกรมหลายยี่ห้อ ทั้งโปรแกรม Anti Virus เชิงพานิชย์และแบบฟรีแวร์ จะใช้โปรแกรมใดยี่ห้อใดก็แล้วแต่ความชอบ  
5. ติดตั้งโปรแกรม Anti Spyware เช่นเดียวกับโปรแกรม Anti Virus และ Personal Firewall คือ มีให้เลือกใช้งานหลากโปรแกรมหลายยี่ห้อ ทั้งโปรแกรมเชิงพานิชย์และแบบฟรีแวร์ และที่สำคัญคือต้องทำการอัพเดทสปายแวร์ซิกเนเจอร์อย่างสม่ำเสมอ
6. ไม่ติดตั้งโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น โปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์  โปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจาก BitTorrent  เป็นต้น เนื่องจากที่ทางสแกนไวรัส.comสำรวจส่วนมากแล้วโปรแกรม จะมีมัลแวร์แอบแฝงมาด้วย
7. ปิดการใช้งานฟังก์ชัน Autoplay เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสที่แพร่ระบาดผ่านทางสื่อเก็บข้อมูลแบบพกพาใช้เป็นช่องทางในการรันไฟล์ไวรัสโดยอัตโนมัติ
8. ไม่เข้าเว็บไซต์ที่มีการแอบแฝงโค้ดประสงค์ร้าย โดยข้อนี้อาจจะต้องใช้โปรแกรมหรือฟีเจอร์บางอย่างช่วยในการแยกแยะ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Site Advisor ของ McAfee เป็นต้น
9. ไม่เข้าเว็บไซต์ที่ Google แจ้งเตือนว่า "อาจเป็นเว็บไซต์อันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ" เพราะจะมี script บางอย่างแถมมาติดในเครื่องของคุณได้
คำสำคัญ (Tags): #malware#virus#worm
หมายเลขบันทึก: 485846เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2012 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท