พยาบาลห้องพักฟื้น


พยาบาลห้องพักฟื้น / ผู้ป่วย / การผ่าตัด

   การเป็นพยาบาลห้องพักฟื้น  ที่คอยดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด  สิ่งที่ดีที่จะทำให้ปลอดภัยคือ  การเรียนรู้เกี่ยวกับวิสัญญีวิทยาด้วยตนเอง  จากการปฏิบัติงานทุกวัน  (เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย)  ซึ่งขอเรียกการเรียนรู้เช่นนี้  ว่า  ห้องเรียนกลับทาง(แต่เดิมเรียนแล้วถึงจะรู้  แต่สำหรับฉัน รู้ก่อนแล้วจึงมาศึกษาเรียนด้วยตนเอง  ทั้งจากแพทย์  เพื่อนร่วมงาน  ตำรา  และอื่น ๆ )  เรื่องแรกที่ฉันกำลังรู้เรียนคือ

                                                  การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด

โดย  ปฐม  ห์ลีละเมียร

(จากหนังสือ  “ตำราวิสัญญีวิทยา  โดย  อังกาบ  ปราการรัตน์  และวรภา  สุวรรณจินดา  ปี  2548  สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.")

การประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด  โดยทั่วไปแบ่งผู้ป่วยออกเป็น  6  กลุ่มตาม  American  Society  of  Anesthesiologists  (ASA)  ดังนี้

 

ASA  class

หมายถึง

อัตราตาย (%)

1

ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติดี

0.06 -0.08

2

ผู้ป่วยที่มีโรคทาง Systemic  เล็กน้อย  สามารถทำงานต่าง ๆ ได้ปกติ

0.27-0.4

3

ผู้ป่วยที่มีโรคทาง Systemic  รุนแรงปานกลาง  ซึ่งจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

1.8-4.3

4

ผู้ป่วยที่มีโรคทาง Systemic  รุนแรงมาก  ซึ่งอาจมีผลทำให้เสียชีวิต  หรือ  เกิดทุพพลภาพจนไม่สามารถปฎิบัติงานได้

7.8-23

5

ผู้ป่วยที่มีโอกาสเสียชีวิตภายใน  24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะได้รับการผ่าตัดหรือไม่

9.4-51

E

ผู้ป่วยซึ่งได้รับการนำมาผ่าตัดแบบฉุกเฉิน 


  การแบ่งผู้ป่วยตาม  ASA  จะทำให้วิสัญญีแพทย์สามารถประเมินสภาพของผู้ป่วย  และเตรียมพร้อมในการให้การระงับความรู้สึกโดยเฉพาะการเตรียม  Monitoring  นอกจากนั้นการแบ่งตาม  ASA ก็อาจใช้ประเมินอัตราการเสียชีวิต  (mortality)  ในระยะ perioperative  ได้

  จุดมุ่งหมายการประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด คือ

  1. สร้างสัมพันธภาพระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย
  2. ซักประวัติ  และตรวจร่างกาย
  3. สั่งตรวจทางห้องปฎิบัติการที่จำเป็น
  4. ประเมินความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึก  โดยแบ่งตาม  ASA  และการผ่าตัด  ถ้าจำเป็นอาจต้องเลื่อนหรือยกเลิกการผ่าตัด  โดยปรึกษากับแพทย์เจ้าของผู้ป่วย
  5. เตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด  ทั้งการให้ข้อมูล การขอใบยินยอมสำหรับให้ยาระงับความรู้สึก  และอธิบาย  ถึงข้อดีและผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยด้วย
  6. สั่งยา  premedication และเตรียมวางแผนสำหรับการให้ยาระงับความรู้สึก  และดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การให้คำแนะนำผู้ป่วย  Nerve  Block

       อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเพื่อสามารถให้ความร่วมมือ โดยอธิบายดังนี้

              วิธีการทำ  แพทย์จะฉีดยาเข้าไปที่เส้นประสาทเพื่อให้เกิดอาการชา  โดยเมื่อยาชาเข้าไปตำแหน่งแล้ว  ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต  ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตำแหน่งใด  ให้แจ้งแพทย์ทราบทันที  เช่น  ข้อศอก  ปลายนิ้ว  เป็นต้น  ไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อป้องกันการหลุดจากตำแหน่ง หลังจากนั้นแพทย์จะเดินยาตำแหน่งที่เกิดอาการช็อตนั้นทันที

              ข้อดี 

              1. ฤทธิ์ของยาระงับปวดจะอยู่ได้  4-24  ชั่วโมง(แล้วแต่ชนิดของยา  และปริมาณยาที่ได้รับ)

              2. ผู้ป่วยจะตื่นดีไม่ง่วงซึม  (รับรู้ว่าการผ่าตัดดำเนินไปอย่างไรบ้าง)

              3. คลื่นไส้อาเจียนน้อย

              4. หลังผ่าตัดสามารถดื่มน้ำ/อาหารได้ทันที

              ข้อเสีย

              1. มีอาการชา  ไม่มีความรู้สึกที่บริเวณที่  block  ขยับแขนหรือขาไม่ได้ อาจรับรู้แรงสั่นสะเทือน  แรงดัน  โดยไม่รู้สึกเจ็บ

              2. ถ้าไม่ระมัดระวังแขนหรือขา  อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะเคลื่อนไหวร่างกายได้

              การดูแลหลังผ่าตัด

              ควรมีการเฝ้าระวังบริเวณแขนขาที่ยังชาและอ่อนแรง  หลีกเลี่ยงการกระแทกหรือบาดเจ็บ  โดยใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงจนกว่าจะหายชา  และกล้ามเนื้อกลับมามีแรงดี

อ้างอิงจาก

วลัยพร  พันธ์กล้า บทที่  15  เรื่อง  Nerve  Block  ในตำราวิสัญญีวิทยา  โดย  อังกาบ  ปราการรัตน์  และวรภา  สุวรรณจินดา  ปี  2548  สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บันทึกเหตุการณ์  (เล่าสู่กันฟัง)

     18/04/2012 ผู้ป่วยมารับการผ่าตัด  แต่ในขณะที่รอผ่าตัดนั้น  ได้มีอาการแน่นหน้าอก  หายใจไม่สะดวก  ดังนั้นเมื่อ  Monitor  EKG  ขณะผ่าตัด  พบว่า  เกิด  PVC  ขึ้น  ซึ่งทำให้หลังการผ่าตัด  ผู้ป่วยต้องไปพักฟื้นที่ห้อง  ICU  ทันที  เพื่อความปลอดภัย  ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

 

      18/07/2012 

      ในการให้บริการของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกที่ไขสันหลัง  จะพบได้ว่ามีสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขสบายหลังการผ่าตัดควรมีวิธีใดบ้าง  เพื่อสร้างประสบการณ์ในการผ่าตัดของผู้ป่วย  ให้รู้สึกดีดี  ไม่ฝันร้ายกับการผ่าตัด  แม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนั้นพยาบาลอย่างฉันซึ่งเป็นคนเล็ก ๆ  ในวันนี้  ขอแบ่งปันสิ่งที่คิดขึ้นจากประสบการณ์ที่เฝ้าดู  เรียนรู้  สอบถาม  และค้นพบร่วมกับผู้ป่วย  ทีมงาน  ดังนี้

      ตารางแสดง  การพยาบาลห้องพักฟื้น  สร้างความสุขสบายให้กับผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง

     ผลของยาชา                 การพยาบาล                                           หมายเหตุ
ผู้ป่วยชาตั้งแต่สะดือจนถึงปลายเท้า วันความดัน+จับค่า 02 ที่ขา เพื่อให้ผู้ป่วยหลับสบาย  1 ชั่วโมงในห้องพักฟื้น
ในกรณีที่ผู้ป่วยหนาวสั่น(ผลของยา) ห่มผ้าหนา ๆ และมีเครื่องทำความอบอุ่น ทำให้ผู้ป่วยหลับได้และยังช่วยทำหให้หลอดเลือดหดตัวดีขึ้น
การประเมินการปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ ประเมินร่วมกับผู้ป่วย  รวมถึงก่อนการผ่าตัดถ้าต้องรอผ่าตัดนานให้ปัสสาวะก่อนเข้าห้องผ่าตัด เนื่องจากผู้ป่วยจะทราบว่า  หน้าท้องอย่างไรที่จะมีลักษณะของปัสสาวะเต็มแล้ว  รวมถึงการระงับความรู้สึกทางไขสันหลังทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมให้ปัสสาวะได้ปกติ
จัดการสิ่งแวดล้อมในห้องพักฟื้น ปิิดม่าน  และเคลียร์สถานที่่ให้ผู้ป่วย ในห้องพักฟื้นสามารถดูแลผู้ป่วยได้  4  คน  บางครั้งผู้ป่วยหญิงนอนเคียงข้างกับผู้ป่วยชาย  ดังนั้นต้องใช้ม่านกั้นป้องกันความอึดอัด  ฯลฯ

       อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่พยาบาลที่ทำงานดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดคิดขึ้นจากการดูแลผู้ป่วยเดือนละประมาณร้อยกว่าคน  รวมถึงคิดว่า  ถ้าฉันเป็นผู้ป่วยฉันต้องการอะไรบ้าง  สิ่งที่คิดในวันนี้จะยังพัฒนาต่อเนื่องไป  โดยมีสโลแกนว่า  "ผู้ป่วยคือพระราชา"

       ดังนั้นถ้าผู้ที่มีประสบการณ์อื่นใด  ส่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้  เพื่อผลของทางวิชาชีพที่จะพัฒนาต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #recovery room
หมายเลขบันทึก: 485494เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2012 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าเป็นรพช.ซึ่งมีแต่วิสัญญีพยาบาล

คงต้องประเมินดูค่ะว่า PVC เป็นแบบไหน และยิ่งถ้า V/S เปลี่ยนแปลงแย่ลง BP drop สงสัยได้ Off case ชัวร์ค่ะ เราไม่กล้าดมยาสลบแน่นอน อาจต้องส่งต่อ.. ไปให้ "น้องจุ๋ม" ดูแลต่อ

 

ขอบคุณร่วงหน้านะคะ

ยินดีที่ได้รู้จักวิสัญญีอีกคน

เผื่อวันหลังมีปัญหาคาใจ

พยาบาล recovery คนนี้ขอสอบถามนะคะ

จุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท