งานถาวร : ๒. - มาประจำที่คลัง ๕ สัตหีบ.


โตนี่ - ฟาง. GotoKnow.

* ตามที่ผมเขียนบอกมาแล้วว่าน่าเสียดาย..ฟิล์มที่ผมถ่ายภาพแท่นเจาะน้ำมัน  ในอ่าวไทยด้วยตัวเองนั้น ได้ชำรุดก่อนเขียนเรื่องนี้  อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้นำภาพที่เกี่ยวข้องมาจากเน็ท..อย่างน้อยผู้อ่านจะได้นึกภาพออกว่าแท่นเจาะน้ำมันต่างๆนั้นหน้าตาเป็นเช่นไร ? ขอขอบคุณเจ้าของภาพเดิมมา ณ ที่นี่ด้วยครับ.

 

 

๑๒. เเท่นขุดเจาะน้ำมัน - ในอ่าวไทย.  

พออาหารเข้าตู้แล้ว ลูกน้องมือขวาของผม คือ นายเบิ้ม นายบุญเพ็ง  ทิพพล. ก็จะทำการเสียบไฟตู้อาหารเพื่อให้ได้ความเย็นตามต้องการ  เมื่อทางเจ้าของเรือบริษัทไทโป. พร้อมที่จะให้ตัวแทนนำของมาลงเรือ    เขาก็จะเรียกบริษัทที่เกี่ยวข้องให้นำของมายังพื้นที่ลำเลียง...ทางผมก็จะสั่งให้รถเทรลเลอร์นำตู้อาหารไปลงเรือ แล้วจัดจนท.ตามไปเสียบไฟในเรืออีกครั้ง เนื่องจากไฟเรือ เป็นคนละระบบกัน. ตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งใช้บรรจุของจากฝั่งไปยังแท่นขุด-เจาะน้ำมันมีอยู่หลายแบบครับ   ของที่จะต้องบรรจุและนำส่งไปยังแท่นเจาะน้ำมันนั้น ปกติจะส่งไปตามที่ลูกค้าแจ้งขอมา..ส่วนใหญ่ทางเราจะส่งเฉพาะอาหารเท่านั้น ! แต่บริษัทอื่นจะใช้ตู้คอนเทนเนอร์แห้ง บรรจุอุปกรณ์เกี่ยวกับการขุด - เจาะ. เพื่อการขนส่งในแต่ละครั้ง  ตู้เหล่านั้นก็จะเป็นตู้แบบปกติ - Ordinary Container. จะต้องนำของเข้าและออกทางประตูหน้าเท่านั้น !   ยังมีตู้อีกแบบหนึ่งเป็นแบบพิเศษ ที่ต้องเปิดเพื่อนำของเข้าและออก เฉพาะด้านบนเท่านั้น เรียกว่าแบบเปิดด้านบนหรือโอเพ่นท๊อป. - Openned top. นอกจากนี้การขนของและอุปกรณ์จากฝั่งไปตามแท่นต่างๆ จะต้องส่งไปกับตระกร้า - Basket. ตระกร้าดังกล่าวนี้..มิใช่ตระกร้าแบบที่แม่บ้านใช้ไปใส่กับข้าวสดจากตลาดน๊ะครับ เดี๋ยวผู้อ่านสตรีอาจจะสงสัยว่า..ตระกร้าแบบนี้จะใส่อะไรได้. ตระกร้าจริงเป็นเหล็กกว้าง๑.๕ - ๒ เมตร ยาว๓ - ๕ เมตร.   พื้นเป็นเหล็กมีตระแกรงรอบด้าน.กันของตก. ที่หูทั้งสี่จะมีแพ๊ดอาย - Pad eyes.พร้อมรูเพื่อใช้เสียบเสกล - Scale. เพื่อใช้สลิงมายกในการขนย้าย. แต่มีตระกร้าบางอันจะมีรูเสียบที่ช่วงกลางของขอบพื้นเพื่อใช้รถฟ๊อล์คลิฟท์ทำการยก - ย้าย. ขออภัยที่ไม่สามารถบอกมาตรฐานได้.. น่าจะขึ้นอยู่กับผู้สั่งทำเพราะตระกร้านี้อาจนำไปใส่ของที่มีความยาวไม่เท่ากัน.ส่วนอาหารแห้งและสดที่ต้องนำส่งไปนั้น เราจะนำใส่ตู้ได้เพียงสามแบบ ดังนี้  :                        

 ๑.  ตู้แห้ง. - Dry  Container.  ตู้แบบนี้จะบรรจุเฉพาะอาหารแห้งเท่านั้น  น้ำดื่มต่างๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ทั่วๆไป   เพื่อส่งไปยังแท่นขุดเจาะ.บริษัทอื่นๆมักจะบรรจุอุปกรณ์  หรือเครื่องมือบางชนิดที่ใช้ในการขุดเจาะ  ไปกับตู้แห้งประเภทนี้. ไม่ผิดระเบียบแต่อย่างใด ?

 ๑๓. เรือขุด - เจาะน้ำมัน.Statoil Petrojarl.

 * ถ้าต้องนำน้ำยาหรือเคมีต่างๆไปพร้อมกัน  จะต้องแยกพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ..เพื่อมิให้เกิดการหกหรือปนเปื้อนไปกับอาหาร มิฉะนั้นถ้าจนท.ที่รับผิดชอบตรวจพบ..จะถูกแจกสต๊อปการ์ดทันที. เป็นภาษาในการขุด-เจาะน้ำมันและใบ สต๊อปการ์ดที่ว่านี้เป็นเสมือนใบสั่งจราจรนั่นเอง ! Stop Card. เวลามีการประชุมเขาจะพูดถึงเสมอว่า..บริษัทหรือบุคคลใดทำผิดกฎ และเมื่อรับใบสต๊อปการ์ดมาแล้วจะมีการให้รางวัลกับผู้เขียนที่เขียนได้ดี  ข้อเสียที่เคยพบคือพนักงานบางคนทำงานไม่เต็มที่..เพราะจ้องเขียนแต่สต๊อปการ์ดเพื่อจะเอารางวัล..ช่วงที่ผู้เขียนยังทำงานอยู่..บริษัทเชฟร่อนมีการให้รางวัลผู้เขียนบัตรสต๊อปการ์ดดีเด่นเสมอ. แต่ผู้เขียนไม่เคยได้รับเพราะไม่เคยเขียนกับเขาเลย.แม้แต่ใบเดียว. * อันนี้เป็นความรู้ครับ..ถ้าจำเป็นต้องส่งอาหารแช่แข็งไปนอกตาราง..เร่งด่วน.ที่ปฎิบัติอยู่เดิมนั้น..ผมจะนำของใส่ภาชนะแล้วนำน้ำแข็งแห้งมาใส่รวมไปด้วย ต้องกะระยะเวลาเรือเดินให้พอดี  หรือใกล้เคียงเพราะน้ำแข็งแห้งนั้นจะอยู่ได้เพียง ๒๔ ช.ม.เท่านั้น ! - Dry Ice. ถ้าเกิดความเสียหายขึ้น ทางบริษัทยินดีจะตัดเงินจากพนักงานเสมอ. สามารถส่งไปพร้อมตู้แห้งและตู้ ชิลเลอร์.  ที่ผมเขียนเช่นนี้เพราะจำได้ว่าครั้งหนึ่งอาหารเสียหาย. มิใช่ความผิดของผม. เพื่อให้ท่านได้ทราบและระมัดระวัง. แม้ทางบริษัทได้ทำประกันไว้ทุกเที่ยวแล้วก็ตาม. แต่อยากได้อีกต่อกระมัง ! คลื่นลมแรงและเรือไม่สามารถออกทะเลได้.ทางบริษัทส่งคนมาถามผมว่าถ้าทางบริษัทจะหักเงินจากคุณ ๑๐ %คุณจะขัดข้องหรือไม่ ? ผมไม่ได้ตอบรับหรอกครับแต่คำพูดของผม..ทำเอาคนถามนิ่งอึ้งไปนานพอสมควร..ลองอ่านดูหน่อยสิครับ..”ผมยอมให้ตัดเงินก็ได้..แต่ถ้าบริษัทมีกำไรบริษัทจะให้ผมกี่เปอร์เซ็นต์ ?” ในที่สุดความเงียบก็เข้ามาปกคลุมชั่วขณะ..หลังจากนั้นไม่มีใครมาถามเพื่อจะตัดเงินจากผมอีกเลย..

๒. ตู้แช่ผัก. - Chiller Container.  ตู้ชนิดนี้จะนิยมแช่ผักและผลไม้ตลอดจนน้ำดื่ม และของกินที่ต้องแช่เย็นธรรมดาเท่านั้น.

๑๔. ว่างก็ตรวจความพร้อมของตู้อาหาร. - ที่คลัง ๕ สัตหีบ.ปี. ๒๕๔๓

๓.ตู้แช่แข็ง. - Freezer  Container.  ตู้นี้จะแช่ไอศครีม และหมู ไก่ ปลา เนื้อ หรืออื่นๆ.  ที่ต้องมีการแข็งตัวตลอดเวลา. * ตู้ตามหมายเลข ๒ - ๓ นั้น ปกติจะสามารถใช้แทนกันได้ ถ้าเกิดมีการชำรุด  ระหว่างขน - ย้าย.ระบบไฟนั้นเราสามารถ ปรับความเย็นได้สองระดับ. ไฟที่ใช้นั้นตั้งแต่ ๓๘๐ - ๔๔๐ โวลท์ แถมยังใช้ได้ทั้งไฟกระแสตรง และกระแสสลับ ไฟบ้าน และไฟเรือนั่นเองครับ. ส่วนน้ำยาที่ใช้กับระบบทำความเย็นนั้น  สามารถใช้ได้สองชนิดคือ อาร์ - ๑๒ และอาร์ - ๒๒ . ถ้าครั้งใดต้องส่งอาหารเพิ่มแบบเร่งด่วนและไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะนำไปฝากกับทางเรือ. ทั้งอาหารแห้งและแช่แข็ง. เรื่องแบบนี้บางทีก็ขึ้นอยู่กับ..สัมพันธภาพระหว่างทางเรือและจนท.ผมเองชอบดื่มและมักจะชวนลูกเรือบ้าง - กัปตันเรือบ้างไปดื่มด้วยเสมอๆจึงไม่ค่อยมีปัญหา..แน่นอนครับเงินตัวเองทั้งนั้น แม้บางครั้งทำเพื่องานของบริษัท ฯ  Would you mind if I need to bring some foods into your cabin load ? ..Sure. ทั้งกัปตันและลูกเรือที่เคยดื่มด้วยกันมักจะตอบว่า..ชั่ว..เอ๊ย !ชัวร์เสมอ.เวลาซ่อมทำตู้อาหารทุกครั้งถ้าจะให้ดีและสะดวกในการตรวจสภาพ  ควรทำการบันทึกไว้เสมอเพื่อจะสะดวก ในการตอบคำถามของช่าง ในครั้งต่อไป.  ที่สำคัญที่สุดก็คือชุดสลิงที่ใช้เกี่ยวกับตัวตู้ เพื่อใช้ในการยกตู้ ขึ้น-ลง จากเรือและแท่นขุดเจาะ อุปกรณ์ และตู้คอนเทนเนอร์ทุกชนิดที่ใช้    ในงานขุด-เจาะน้ำมันนั้น..จะต้องมีใบเซอร์. Certificate. รับประกันทุกชิ้น. ทั้งสลิงและตัวตู้.เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้ผ่านการตรวจสภาพมาแล้วนั่นเอง ! ผมเคยเห็นมาแล้วที่ท่าสี่นี่เอง.เครนกำลังยกตู้อาหารของบริษัทแห่งหนึ่งลง ขณะที่ตู้อาหารลอยอยู่สลิงขาดห้อยลงมา ๑ หู และเป็นจังหวะที่หัวหน้าใหญ่ กำลังเดินตรวจการทำงานอยู่แถวๆนั้นพอดี.จึงถูกห้ามนำตู้ใบนั้นลงเรือ.แม้ผมหยิบยื่นสัมพันธภาพด้วยการให้ยืมสลิงไปใช้ก่อน   แต่ทางนั้นได้แต่ขอบคุณและขอนำกลับไปดำเนินการใหม่ที่บริษัทของตนเอง นี่ถ้าเจ้านายทราบคงจะไม่พอใจเพราะแอบไปทำดีกับบริษัทคู่แข่ง ทำไมไม่เห็นใจผู้ปฎิบัติที่อยุ่หน้างานบ้าง  บางครั้งมันต้องพึ่งพาหรือช่วยเหลือกันบ้าง..ใครจะใจดำใจร้ายก็ช่าง !

๑๕. อาหารการกินบนแท่นขุดเจาะกลางอ่าวไทย.  - ขอบคุณภาพจากเน็ทคุณอร.

ผมทหารเรือเก่าครับถูกสอนมาว่า..ถ้าพบศัตรูน้ำจืดหมดในทะเล  ยังไงๆก็ต้องช่วยเหลือเขาก่อน. ถ้าไม่เคยเป็นทหารคงจะยากที่จะเข้าใจ..ปกติแล้วการนำอาหารแช่แข็งมาใส่ตู้นั้นทางเราจะได้รับแจ้งล่วงหน้าเสมอ. จากทางสำนักงานใหญ่หรือจากแผนกบุคคล.หลังจากนั้นพนักงาน. นายเบิ้ม. ก็จะทำการทดลองไฟและระบบความเย็น   ตู้แบบแช่แข็งนั้นปกติจะต้องเดินเครื่องไว้ไม่น้อยกว่า ๒๔ ช.ม.น้ำแข็งจึงจะเกาะข้างผนังตู้จนหนา มิฉะนั้นถ้านำอาหารแช่แข็งมาแช่ อาจทำให้เน่าเสียได้..ถ้าความเย็นไม่เท่ากัน. อาหารที่นำมานั้นปกติจะมากับรถส่งอาหารที่มีตู้แช่ในตัวเอง มาถึงก็เพียงแต่ย้ายจากตู้ของรถมาเข้าตู้ที่เตรียมไว้..เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน. ยังไงๆอาหารก็ไม่มีทางเสียไปได้เว้นแต่กรณีย์ที่ผมกำลังกล่าวถึง..บ่ายวันหนึ่งผมออกไปติดต่องานนอกท่าเรือ พอกลับเข้ามาจึงพบว่าตู้อาหารแช่แข็งที่ได้เตรียมไว้นั้น  เปิดอ้าออกเต็มที่มีพนักงานตัวเตี้ยและพนักงานขับรถของบริษัทยืนนับของอยู่ภายในตู้ ผมยืนดูอยู่นานจนต้องตะโกนให้สองคนนั้นออกมา..

ผู้เขียน  : เฮ้ยออกมาเลย !เอ็งเปิดตู้อ้าไว้ทำไม ? เอ็งรู้ไหมว่ากว่าตู้จะเย็น ขนาดนี้ใช้เวลานานแค่ไหน ?

พนักงานส่งอาหาร : เงียบแต่เดินออกมาข้างนอก..เสียงอ่อยๆว่า..ผมกำลังเชคของครับ.

ผู้เขียน  : ถามหน่อยสิว่าก่อนนำของออกมาจากโกดังที่กรุงเทพฯเอ็งเชคมาหรือยัง ?

พนักงานส่งอาหาร : เชคมาแล้วครับ..

ผู้เขียน  : ระหว่างทางเอ็งจอดรถแล้วเอาของลงหรือเปล่าล่ะ ?

พนักงานส่งอาหาร : เปล่าครับ..เสียงยังคงอ่อยตามเดิม.

ผู้เขียน  : แล้วเอ็งจะเชคทำห่าอะไรล่ะ ?  ถ้าไม่จอดแล้วขนลงมันจะหายไปได้ยังไง ? รีบขนเข้าแล้วอย่าเปิดอ้าไว้อีกน๊ะ..ผมทำเสียงดังสิครับเพราะถ้าเกิดอะไรขึ้นทางสำนักงานใหญ่มักจะตำหนิผมเป็นคนแรก  เขาไม่สนใจว่าใครมาเปิดตู้ไว้ด้วยซ้ำ..

พนักงานส่งอาหาร : พอขนอาหารเข้าตู้เสร็จพี่แกรีบกลับกรุงเทพฯทันที  น่าจะเข็ดไปอีกนาน.

ต่อมามีคนพยายามบอกผมว่าพี่ตู้เขาจบป-ตรีมา. ผมไม่สนหรอกครับถ้าจบโทมาผมก็ต้องด่าครับ ถ้ามาแสดงความโง่ให้ผมเห็น ดีน๊ะที่ผมไม่ยอมเรียนให้สูงกว่านี้ กลัวว่าจะยิ่งเรียนยิ่งโง่น่ะสิ !

๑๖. การยกคนและของจากเรือขึ้นสู่แท่นเจาะน้ำมัน. - ในอ่าวไทย. ขอบคุณภาพจากเน็ท.

ต่อมาได้มีหนังสือเวียน แจ้งมาว่ามีบริษัทแห่งหนึ่งได้ส่งอาหารไปที่แท่นขุดเจาะ  ขณะที่เครนยกขึ้นจากเรือเอ้า ! สลิงขาดอีกครับ..ถูกต้องครับ..ตู้ตกน้ำ. ไปไล่กันเอาเองเถอะครับว่า  บกพร่องกันมาตั้งแต่ช่วงไหน ? ต่อมาทางกรุง เทพฯ ได้มาติดต่อเพื่อหาที่พักแถวๆสัตหีบ เพื่อให้พนักงานขุดเจาะเข้าพักก่อนเดินทาง เพราะจะมีการส่งพนักงาน ไปยังแท่นขุดเจาะในเร็วๆนี้แล้วครับ  คณะจากทางกทม.ได้มากันหลายคนตั้งแต่ เอ็ม ดี หน.แผนกบุคคลและพนักงานคนใหม่  ที่จะมาทำให้กับบริษัทซานตาเฟ่  Santafe.  ชื่อพี่วีรศักดิ์ มานัส ชีวิตพี่แก อยู่แต่บนแท่นขุดเจาะทั้งใน และนอกประเทศ. คนขับรถพาเราตระเวนไป ทั่วพื้นที่สัตหีบ - บ้านฉาง ดีน๊ะว่าไม่ค่อยมีเวลา..มิฉะนั้นอาจเลยไปถึงระยองแน่ๆ. มาจบลงที่โรงแรมสมัยสงครามเวียตนามคือรร.สวอนเลค นั่นเองครับ Swan Lake Hotel. อีกราวหนึ่งสัปดาห์ต่อมา..เริ่มมีพนักงานมาอบรมและเข้าพักที่นี่..เพราะเมื่อจบการอบรมแล้ว พนักงานชุดแรกจะต้องเดินทางไปยังแท่นขุดเจาะกันเลย.การอบรมใช้เวลาราวสาม - สี่วัน โดยการหมุนเวียน กันมาเข้ารับการอบรม..ผู้ที่เกี่ยวข้องก็คือหน.และผู้ช่วยแผนกบุคคลซึ่งมาจากกทม.ผมได้มีส่วนร่วมด้วยบางโอกาส..จนกระทั่งเริ่มมีการรับ-ส่งพนักงานอย่างแท้จริง.

* กำลังจะเริ่มสนุกแต่..เสียดายจัง..พื้นที่หมดเสียแล้ว.

                                                                                                                                                                                    

 

 

หมายเลขบันทึก: 485465เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2012 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท