บทบาทของรัฐบาลเกาหลีในการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยไอซีที : จากแนวคิดสู่การปฎิบัติ


แนวนโยบายด้านไอซีทีของประเทศเกาหลี เร่ิมต้นกับการพัฒนาคน ด้วยการสร้างความตระหนักในการใช้ไอซีทีและปลูกจิตสำนึกด้านไอซีทีให้กับคนในเกาหลี

บทบาทของรัฐบาลเกาหลีในการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยไอซีที : จากแนวคิดสู่การปฎิบัติ

 

แนวนโยบายด้านไอซีทีของประเทศเกาหลี เร่ิมต้นกับคน ด้วยการสร้างความตระหนักในการใช้ไอซีทีและปลูกจิตสำนึกด้านไอซีทีให้กับคนในเกาหลี

            นับตั้งแต่ปี 1993 ที่ประเทศเกาหลีเปิดตัวโนยายของรัฐด้านสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อเตรียมไปสู่การจัดทำนโยบายภายใต้แนวคิดเรื่องสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารและนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใข้ไอซีทีซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา เป็นผลให้มีการจัดทำกฎหมายนโยบาย การปฎิรูปองค์การในการจัดการ และมาตรการในการทำงานเพืื่อรองรับนโยบายดังกล่าว โดยแผนแม่บทแห่งชาติเกี่ยวกับสังคมด้านข้อมูลข่าวสารของเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับกรอบแนวคิดพื้นฐานโดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ใน ๕ ด้านกล่าวคือ การพัฒนา e- Government การสร้าง สนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชย์ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อตอบสนองต่อการประกอบการ การพัฒนาอุตสากหรรมไอซีที ตลอดจนการพัฒนาระบบการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยในการเข้าถึงใช้งานข้อมูลข่าวสาร

โดยในปี  2003 แนวคิดของรัฐบาลเกาหลีไต้ได้ปรับเปลี่ยนจากการสนับสนุนมาเป็นบทบาทด้านการให้บริการเป็นหลัก (Facility Base over to the Service Base)

โดยหากพิจารณาจากมาตรการในการจัดการเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว เกาหลีให้ความสำคัญกับ “การสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกด้านไอซีทีให้กับประชาชน” ที่จะใช้ประโยชน์จากไอซีทีก่อนเป็นลำดับแรกๆคู่ขนานไปกับการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  ซึ่งเข้าใจได้ว่า หากไม่ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการใช้งานไอซีทีและเกิดความต้องการหรืออยากใช้งานแล้ว ถึงแม้จะมีพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก้าวหน้าเพียงใด มีแอพพลิเคชั่นดีเพียงใดก็ตาม แต่หากประชาชนไม่เห็นคุณค่าและไม่อยากใช้งานการพัฒนาเหล่านั้นย่อมไม่เกิดประโยชน์ได้ ดังนั้น ในระยะแรกของการทำงานตามนโยบายสังคมแห่งข้อมูข่าวสารของเกาหลีจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนเป็นหลัก

ในแง่ของตัวชี้วัดความสำเร็จของนโยบายสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารและเตรียมไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้โดยไอซีทีมีการกล่าวถึงความสามารในการใช้งานไอซีทีเพื่อการพัฒนาตนเอง และ สังคม เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความสำเร็จของนโยบาย

เป็นผลใหมีการจัดทำมาตรการในการจัดการเพื่อรองรับแนวนโยบายดังกล่าวโดยสามารถแบ่งเป็นช่วงเวลาของการพัฒนาระบบโครงสร้างทั้งโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างระบบกฎหมายได้เป็น ๔ ช่วง คือ ช่วงแรก การสร้างความตระหนักในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ โดยการปลูกจิตสำนึกด้านไอซีทีให้กับประชาชน พร้อมไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ช่วงที่สอง  การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เอื้อต่อการทำงาน ช่วงที่สาม มีการปฎิรูปกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงและเกิดเสถียรภาพในการใช้งาน และ ช่วงสุดท้าย ขยับเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้โดยสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ในการพัฒนากฎหมายด้านไอซีที ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่สามของแนวนโยบายขอรัฐบาลเกาหลีใต้ คือ การทำให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงและเสถียรภาพในการใช้งาน พบว่า เกาหลีมีปฎิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารโดยมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งด้านพาณิชย์อิเล้กทรอนิกส์ ด้านการศึกษา ด้านสังคม กล่าวคือ (๑) พรบ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ๒๕๔๒ (๒) พรบ.ลายมือชื่อิเล็กทรอนิกส์ ๒๕๔๒ (๓) แผนการศึกษา eKorean Education (๔) พรบ.ลดความเหลื่อมลำ้ด้านดิจิตอล ๒๕๔๔ และ (๕) กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งระบบการบริหารจัดการภาครัฐในระบบออนไลน์ ๒๕๔๔ เพื่อให้กฎหมายเข้ามาช่วยทำให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในการใช้งาน

การเคลื่อนไหวด้านการปฎิรูปองค์กรการจัดการ : เคลื่อนไหว ไม่หยุดน่ิง

            ความน่าสนใจของการจัดการเพื่อตอบสนองต่อนโยบายด้านสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร เกาหลีใต้เป็นประเทศหนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรในการจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน และ สร้างประสิทธิภาพของการทำงาน ในด้านไอซีทีประเทศเกาหลีมีการปฎิรูปองค์กรในการจัดการเพื่อรองรับการสร้างสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร

เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงานที่มีการจัดทำโดยองค์กรต่างๆการทบทวนและนำไปสู่การปฎิรูปโครงสร้างด้านหน่วยงาน องค์กรที่รับผิดชอบขนานใหญ่ใน ๔ กลุ่มหลัก กล่าวคือ

(๑) ด้านการบริหารจัดการนโยบาย รับผิดชอบโดยกระทรวงมหาดไทย Ministry of Public Administration and Security (MOPAS) ที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการทำงานตามแนวนโยบายของประเทศในการสร้างสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้ไอซีที โดยมี NIA ที่ีรวม KADO ด้้วยกัน เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการทำงาน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างและพัฒนาสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร การขยายแนวคิดด้านวัฒนธรรมแห่งข้อมูลข่าวสาร และการสร้างความชัดเจนของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร

(๒) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงและสร้างความเท่าเทียมในการใช้งาน มีคณะกรรมการแห่งชาติด้านการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีหน่วยงานด้านปฎิบัติการหลักคือ องค์การแห่งเกาหลีด้านความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสาร หรือ Korea Information Security Agency (KISA) ที่มีการยุบรวมอีกสององค์กรเข้ามาอยู่ภายใต้ KISA คือ องค์การแห่งชาติด้านการพัฒนาอินเทอร์เน็ต หรือ National Internet Development Agency (NIDA) and องค์การแห่งเกาหลีด้านการพัฒนาการจัดการไอทีในระดับระหว่างประเทศ หรือ Korea IT International Cooperation Agency (KIICA)

(๓) ในการพัฒนาไอซีทีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมของเกาหลี มีหน่วยงานหลัก คือ องค์การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีแห่งชาติ หรือ National IT Industry Promotion Agency (NIPA) ที่มีการรวมหน่วยงานอีกสามหน่วยงานมาไว้ด้วยกัน กล่าวคือ องค์การสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมไอทีแห่งเกาหลี หรือ Korea IT Industry Promotion Agency (KIPA) สถาบันการพัฒนาความก้าวหน้าด้านไอที หรือ Institute for Information Technology Advancement (IITA), และ สถาบันแห่งชาติด้านการพัฒนาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Korea Institute for Electronic Commerce (KIEC)

(๔) ในด้านการพัฒนาเนื้อหาข้อมูล มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ องค์การพัฒนาเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์แห่งชาติ หรือ Korea Creative Content Agency (KOCCA) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม ท่องเที่ยวและกีฬา โดยมีการรวมหน่วยงานอีก ๕ หน่วยงานมารวมกับ องค์การพัฒนาเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์แห่งชาติ คือ  หรือ Korea Culture and Content Agency (KOCCA), สถาบันด้านวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ Korea Broadcasting Institute (KBI), องค์การอุตสาหกรรมเกมแห่งชาติ หรือ Korea Game Industry Agency (KOGIA), ศูนย์เนื้อหาด้านวัฒนธรรม และ หน่วยงานด้านเนื้อหาดิจิตอลที่อยู่ภายใต้สังกัดองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีแห่งเกาหลี นอกจากนั้น ในด้านการพัฒนาเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา มีหน่วยงานหลักคือ  KERIS  ภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ดูแลรับผิดชอบในการพัฒนาเนื้อหาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อออนไลน์ นอกจากการพัฒนาเนื้อหาสื่อออนไลน์จากส่วนกลาง การกระตุ้นให้ครูและเด็กนักเรียนใช้สื่อออนไลน์เหล่านี้แล้ว หน่วยงานนี้ยังมุ่งเน้นให้ครูกับนักเรียนสามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิตอลได้เองด้วยโดยมีการจัดการอบรมให้ความรู้ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ลดช่องว่างในการเข้าถึงและเพ่ิมโอกาสในการใช้งานเพื่อการพัฒนา

ในการสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจนนำไปสู่ความอยากใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกปลูกในจิตสำนึกของคนในประเทศแล้ว ประเด็นต่อมาที่รัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญก็คือ การเพ่ิมทักษะและความสามารถในการใช้งานให้กับประชาชนในประเทศ ในส่วนนี้เกาหลีได้จัดทำมาตรการสำคัญใน ๓ ลักษณะ (๑) การบริหารจัดการนโยบายอย่างเป็นเอกภาพจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ให้มีแนวคิดในการทำให้ประชาชนเกาหลีเกิดความตระหนักในการใช้งานไอซีทีและมีความสามารถในการใช้งานไอซีที (๒) การจัดการอบรมให้ความรู้ในการใช้งานไอซีที โดยมีการจัดทำนโยบายรองรับ เช่น ในปี 2000 มีนโยบายด้านการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน ๑๐ ล้านคน หรือ แผนการพัฒนาการศึกษาในระบบออนไลน์ในประเทศเกาหลี (e-Korean Education Plan) และ การจัดตั้งศูนย์สารสนเทศด้านวัฒนธรรม รวมถึง การใช้ที่ทำการไปรษณีย์เป็นพื้นที่ในการอบรมให้ความรู้กับประชาชนทั่วไป เช่น ผู้สูงอายุ สตรีที่เป็นแม่บ้าน เกษตรกร การใช้ไอซีทีในระหว่างสมาชิกในครอบครัว และ (๓) การลดช่องว่างในการเข้าถึงและใช้งานโดยการสร้างความเท่าเทียมในโอกาสในการเข้าถึงและใช้งานให้กับกลุ่มคนด้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการ

ในเอกสารชื่อว่า Korea’s Informatization Policy to Deliver ICT Use in Everyday Life จัดทำโดย  Korea Agency for Digital Opportunity and Promotion หรือ KADO (ในปี 2009 หน่วยงานได้ยุบไปรวมกับ NIA) ได้นำเสนอตัวอย่างความสำเร็จคนขับรถแท็กซี่สามารถใช้เว็บไซต์ของตนเองในการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการทำงานและการประกอบธุรกิจของตนเอง รวมไปถึงกรณีผู้ประกอบการรายย่อยสามารถใช้ไอซีทีในการเพ่ิมประสิทธิภาพให้กับการประกอบธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตโดยการสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการให้คำปรึกษาด้านการประกอบธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ Cyber Korea Supermarket

หมายเลขบันทึก: 485345เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2012 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ดูเกาหลีเขามีนโยบายและแผนที่เป็นระบบและยังคำนึงถึงคนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่อาจเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี่ น่าประทับใจ เคยมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกลุ่มนักสังคมสงเคราะห์ของเกาหลีที่มาดูงานและอบรมในเมืองไทยเขาเล่าเรื่องการสนุบสนุนของ Samsung ที่มีต่อกลุ่มปฏิบัติงานกับผู้เข้าไม่ถึงบริการสวัสดิการสังคมต่างๆแล้วดีใจกับความตั้งใจส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพของคนได้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท