ตามรอยเพลี้ยหอยมันสำปะหลัง


เพลี้ยหอย มันสำปะหลัง

หลังจากการเก็บตัวอย่างจากแปลงมา 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 2 มีนาคม 55 หลังจากที่ไปเจอตัวอย่างในวันที่ 25 กุมภาพันธ์แล้ว สภาพที่พบครั้งนั้นเพลี้ยหอยเริ่มเข้าทำลายพบไม่มาก ได้เจอกับคนศวพ.พิจิตรที่เล่าแถวขาณุฯ ก็เจอรุนแรงกับพันธุ์น้องแบม

ครั้งที่ 2 เก็บอีกครั้ง วันที่ 29 มีนาคม 55 แล้วตามไปดูที่ห้องแล็ปในวันที่ 5 เมษายน เนื่องจากเกษตรกรบางพืนที่กังวลมาก และได้ทราบเบื้องต้นจากพี่อัมพรว่าตัวอย่างที่เก็บไปครั้งก่อน เปิดฝาเพลี้ยหอยดูเกือบทุกฝามีแตนเบียนเข้าทำลาย และมีไม่น้อยกว่า 3 ชนิดมีชนิดหนึ่งทำงานได้ดีมาก จึงไม่น่าห่วงอะไรว่าจะกลายเป็นแมลงที่เป็นปัญหา แต่ที่ห่วงกว่าคือกลัวว่าเกษตรกรจะกังวล ใจร้อน ไม่เข้าใจ ไปฉีดยาฆ่าแมลงทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ตายไป

จากที่คนแมลงประเมินสถานการณ์แล้วจึงไม่มีคำแนะนำในการป้องกันกำจัดโดยเฉพาะไม่มีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลงใดๆ จึงอยากบอกทุก ๆคนให้ทราบด้วย แล้วยังรู้สึกตื่นเต้นอยู่ที่เปิดฝาเพลี้ยหอยจะเจอไม่ตัวหนอนก็ดักแด้ หรือไม่ก็เจอตัวเต็มวัยที่กำลังจะออกมา ดูได้ง่ายจากกล้องส่องพระ ลองดูแล้วจะรู้ว่ามีมิตรดีๆ อยู่ในไร่มันสำปะหลังของเราเต็มไปหมด ขอเพียงแต่เราไม่เอายาฆ่าแมลงไปฉีดเท่านั้น แมลงศัตรูที่มีอยูในธรรมชาติก็สามารถควบคุมได้

หมายเลขบันทึก: 484892เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2012 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปลายเดืนเมษายนไม่พบแล้ว หายไปเองด้วยการควบคุมทางธรรมชาติ ยืนยันด้วยแปลงป้าสัมลิ้ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท