ผู้ถูกยกเว้นการเผาศพ......ที่อินเดีย


มองเหมือนคนอินเดียเป็นคนตัดอาลัยได้อย่างง่่ายดาย แต่แท้จริงแล้ว ความอาดูรในหัวใจ ย่อมมีเสมอกันในการพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก

   เรื่องราวริมฝั่งคงคายังมีให้เล่าไม่รู้จบ อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ มีบุคคลห้าประเภท ที่ไม่สามารถนำไปเผา แต่พวกเขาก็ยังมีสิทธิ์ล่องสังขารในแม่น้ำคงคาได้ โดยใช้วิธีถ่วงน้ำให้จมลงสู่ก้นสมุทร นี่เป็นเพียงการจัดการซากศพเท่านั้น แต่ดวงวิญญาณ ก็ยังคงเชื่อมั่นว่า จะได้เดินทางสู่สวรรค์ โดยการนำพาไปของสายน้ำคงคาเดียวกันนี้

 ประเภทของผู้ถูกยกเว้นการเผานั้นก็คือ

1.นักบวช

2. สาวพรหมจรรย์

3. ทารก

4. คนถูกงูกัดตาย

5. คนถูกฟ้าผ่า

  เพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้ เป็นผู้บริสุทธิ์ ให้ใช้ก้อนอิฐที่มีน้ำหนัก มัดติดกับศพแล้วถ่วงลงน้ำไป การจัดการงานศพ ถือเป็นเรื่องที่เรียบง่าย ไม่ยิ่งใหญ่เหมือนบางประเทศ มองเหมือนคนอินเดียเป็นคนตัดอาลัยได้อย่างง่่ายดาย แต่แท้จริงแล้ว ความอาดูรในหัวใจ ย่อมมีเสมอกันในการพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก

 เช่นครั้งเมื่อผู้เขียน ได้ไปเป็นอาสาสมัครช่วยงานที่วัดไทยกุสินารา ผู้เขียนได้ลงไปช่วยคุณหมออินเดียตรวจคนไข้ที่เป็นคนท้องถิ่นด้วย (แต่ปัจจุบันอาสาสมัครคนไทยจะดูแลแต่คนไทยเท่านั้น-ที่คลินิกกุสินารา) วันหนึ่งมีหญิงสาววัยรุ่น หน้าตาร่วงโรยโศรกเศร้า ผู้เขียนฟังคำสนทนาของหมอกับคนไข้ไม่ออก แต่สักครู่เธอก็ร้องไห้ คุณหมอปลอบโยนสักครู่ เธอก็ดูดีขึ้น ผู้เขียนฟังเสียงสูงๆต่ำๆ ที่เจือด้วยความเอื้ออาทรและไพเราะนั้นอยู่เงียบๆ พอคนไข้จากไป คุณหมอก็เขียนภาษาอังกฤษให้ทราบว่า คนไข้นั้นคิดถึงพ่อที่ตายไป เป็นอย่างมากจนนอนไม่หลับ และเศร้าตลอดเวลา ...

  คนเหมือนกัน ความรู้สึกนึกคิดก็ไม่ได้ต่างกันมากมาย เราจึงเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมสุขกันทั้งโลก

 เขียนเรื่องความตาย แล้วก็รู้สึกว่าใจมันสงบลึกๆ อาจเป็นการตอกย้ำภายในของเราเองว่า เราก็กำลังเดินทางไปสู่จุดนั้น บางครั้งก็เป็นผู้จาก บางครั้งก็ถูกจาก หมุนเวียนเปลี่ยนไป ครั้งแล้วครั้งเล่าในวัฏฏสังสารนี้ น่าเสียดายที่เราจำมันไม่ได้เลยสักครั้ง ความช่างลืมของมนุษย์บางครั้งก็ทำให้เราไม่ต้องผูกพันกับอดีตแห่งภพชาติที่แล้วๆมา แต่บางครั้งไฉนสัญญาณบางอย่างก็มาเตือน ทำให้เราเหมือนหวนกลับไป ณ ที่คุ้นเคยอีกครั้งๆๆๆ

  หลับฝันดี ฝันถึงคงคา นที เพื่อเพิ่มความสดชื่นแก่ชีวิตในวันถัดไปนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 484269เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2012 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ไม่ทราบทำไมคนอินเดียถึงเข้าใจว่าคนที่ถูกงูกัดตายกับคนที่ถูกฟ้าผ่าเป็นผู้บริสุทธิ์คะ

ขอบคุณค่ะ

มรณานุสติ ทำให้เราไม่ประมาทกับชีวิต

ขอบคุณค่ะพี่รุ่ง

แวะมาเยี่ยมเยือนเรื่องที่เกี่ยวอนุทวีปแห่งนี้ครับ

มาด้วยความสงสัยค่ะ

คนที่ถูกงูกัดตาย....

แล้วงูตายหรือคนตายค่ะ

ถ้าคนตายแล้วใครค่ะที่มา

ภาพแรกดูงามมีมนต์ขลังดีจังค่ะ .. สิ่งแวดล้อมทำให้วิธีการแสดงความเศร้าโศกออกมาได้ไม่เท่ากัน แต่ความทุกข์จากการพลัดพราก..เชื่อว่าไม่ต่างกันในแต่ละชาติพันธ์นักค่ะ

สวัสดีค่ะคุณปริม ต้องขออภับทุกๆท่านด้วยนะคะ ที่ไม่ได้เข้ามาตอบเลย มีภารกิจยุ่งๆนิดหน่อยค่ะ ส่วนคำถามนั้น ดิฉันจะขอให้เพื่อนชาวอินเดียตอบให้ภายหลังนะคะ ยังไม่ทีาบสาเหตุ หรือความเชื่อที่ชัดเจน หากท่านใดมีข้อมูล กรุณาตอบให้ก่อนนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ขอบคุณที่คุณปริมติดตามอ่านด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณPoo ใจที่ละเอียดอ่อนมีสติ ก็จะเห็นทุกสิ่งอย่างได้ลึกซึ้ง และนำมาเป็นมรณานุสติได้เสมอ บางทีรถติดบนถนน ก็มีศพบรรทุกบรหลังคารถมาจอดใกล้ๆ บางทีเดินบนถนน เขาเหนื่อยก็วางศพพักไว้ริมถนนนั้น ดูๆแล้วก็แปลกๆ ง่ายๆ ยังไงก็ไม่รู้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณโสภณ เปียสนิท มาเยี่ยมเพราะความคิดถึงอินเดียใช่ไหมเอ่ย ความจริงคุณโสภณอยู่อินเดียมานาน ต้องมีเรื่องเล่ามากมายแน่นอน ทุกวันนี้ อินเดียยังมีความเปลี่ยนแปลงในชนบทน้อย ชอบใจที่เขาปลูกข้าว หรือพืชใๆ พร้อมๆกัน มองแล้วเหมือนเดินหลงอยู่ในทุ่งนาเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณBonnie คือถ้ามีคนถูกงูกัดตาย(คนตาย) ญาติๆจะพามาปลงศพที่แม่น้ำนี้ค่ะ แต่ถ้าอยู่ไกล ก็มาไม่ไหว ต้องจัดการศพใกล้แม่น้ำลำคลอง เพราะเชื่อว่า เป็นน้ำที่มาจากแม่น้ำคงคา

สวัสดีค่ะคุณหปมอ ป ขอบคุณมากค่ะ ที่ช่วยเสริมเรื่องการพลัดพราก ทำให้เป็นทุกข์เหมือนๆกัน ขนบธรรมเนียม และวิธีการแต่ละอย่าง ย่อมมีความหมายเฉพาะ ดิฉันกำลังขอให้เพื่อนที่อินเดีย ช่วยเล่าสิ่งเหล่านี้ แล้วจะนำมาเผยแพร่นะคะ

ขอบคุณเป็นที่สุด กับดอกไม้กำลังใจที่ทุกท่านมอบให้ คุณภูคา คุณpoo คุณปริม คุณดาบทิม คุณเพ็ญศรี คุณโสภณ คุณหทอ ป ขอให้มีความสุข กับทุกบันทึกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท