สระลดรูป แปลงรูป 3/2 จบ ชาตรี สำราญ


คำในภาษาไทยนั้นมีความซับซ้อนซ่อนอยู่มากมาย ทำให้ผู้เรียนที่เข้าไม่ถึง เกิดความสับสนและไม่เข้าใจต่อคำหรือภาษาเหล่านั้นได้

5.  สระออ   มีวิธีใช้ดังนี้

                        5.1  คงรูป  คำจำพวกนี้จะต้องมี    กำกับอยู่เสมอ  เช่น  พอ  พ่อ  ยอ  ย่อ  รอ  หลอ  ขอน  คลอง  พลอง  นอก  นอน  กอด  ตอบ  ชอบ

                        5.2  ลดรูป  ตัดตัว   ออก  แต่คงมีเสียง   กำกับอยู่ เช่น  บ   บ่   ที่แปลว่า  ไม่  แต่ถ้าแปลว่า เกือบบ้า  คือ บ้าบอ  ต้องมี ต่อท้ายอยู่ด้วยทั้งนี้รวมถึง บ่อน้ำ ด้วย

                        ในกรณีคำบาลีสันสกฤตที่พยางค์หน้าเป็น  ป  แต่ไทยเรานำมาแผลง เป็น บ.  เช่น   บดี   บพิตร   บรม   บวร  บริวาร  บริขาร  บริกรรม  บริจาค  บริบูรณ์  บริโภค  บริเวณ  บริษัท   บริสุทธิ์   บริภาษ  ปรมัตถ์   และยังมีคำบาลี สันสกฤตบางคำที่ออกเสียง   จ  ท  ธ  น  ม   ว  ศ   ษ   ส   ห  อ   แล้วมีตัว    ตามหลังพยัญชนะเหล่านั้น  เช่น

            จ  =   จรดล     จรลี

            ท  =   ทรพา  ทรพี   ทรชน  ทรชาติ  ทรพิษ    ทรยุค   ทรยศ   ทรลักษณ์  

            ธ  =  ธรณี

            น  =  นรชน   นรชาติ    นรสิงห์

            ม  =  มรณะ   มรดก

            ว  =  วรกาย  วรโฉม  วรลักษณ์

            ศ  =  อศรพิษ

            ษ  =  อักษรลักษณ์   อักษรเลข  อักษรศาสตร์

            ส  =  สรสิทธิ์   สรลักษณ์

            ห  =  หรดาล   หรดี   หรคุณ   มหรสพ

            อ  =  อรชุน   อรพินท์    อรสุม

           

            6.  สระเออ  มีวิธีใช้ดังนี้

                        6.1  คงรูป  ใช้ในพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด  เช่น  เธอ  เกลอ   เจอ  เผลอ  และยังมีคำเพียง  3  คำที่ยังคงรูป  เออ  อยู่คือ  เทอญ   เทอม   เยอว

                        6.2  ลดรูป    ลด    ออกในเมื่อคำนั้นมีมาตราแม่เกย  สะกด  เช่น  เชย   เขย   เลย   เอย   เตย

                        6.3  แปลงรูป   แปลง    เป็น อิ  ในเมื่อมีตัวสะกด (ยกเว้น ย สะกด ซึ่งอยู่ในแม่เกย ดู 6.2 )  เช่น

 

ก + เออ + ด =  เกิด     

ถ + เออ + ด =  เถิด     

ป + เออ + ด =  เปิด    

จ + เออ + ด =  เจิด

จ + เออ + ง =  เจิง

ล + เออ + ง =  เลิง

ล + เออ + ก =  เลิก

บ + เออ + ก =  เบิก    

น + เออ + น =  เนิน

ด + เออ + น =  เดิน

            7.  สระเอีย   มีวิธีใช้ดังนี้

                        7.1  คงรูป  จะคงรูปไว้ทั้งพยางค์ที่มีตัวสะกดหรือไม่มีตัวสะกด  เช่น  เมีย  เลีย  เสีย  เรียง  เวียง   เอียง  เรียน   เรียก  เขียด  เพียบ  เพลีย

                        7.2  ลดรูป  โดยตัดไม้หน้า (เ- )  กับ พินทุอิ ออก   คงไว้แต่   ซึ่งนิยมใช้ในภาษาโบราณ  แต่ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว  เช่น  รยก = เรียก     รยน = เรียน   ขยด =  เขียด

 

            8.  สระอัวะ   มีวิธีใช้ดังนี้

                        8.1  คงรูป   ใช้อยู่ในคำทั่วไป เช่น  ผัวะ  ผลัวะ   ยัวะ

                        8.2  ลดรูปและแปลงรูป  คือ ลดหันอากาศ (  -˜ ) แล้วแปลงวิสรรชนีย์ ( ะ) เป็นไม้ไต่คู้ ( -ç)

เช่น

                        ก + อัวะ + ง =   ก็วง  

                        ข + อัวะ + ก =   ข็วก

 

 

            9.  สระอัว    มีวิธีใช้ดังนี้

                        9.1  คงรูป  เช่น  ผัว  วัว   มัว  กลัว  ตัว

                        9.2  ลดรูป  คือ  ลดไม้หันอากาศในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น  

ก + อัว + น =  กวน

ช + อัว + น =  ชวน

ท + อัว + น =  ทวน

ด+ อัว + ง =    ดวง

ต + อัว + ง =   ตวง

ล + อัว + ง =  ลวง

พ + อัว + ก =  พวก

จ + อัว + ก =  จวก

ล + อัว + ก =  ลวก

ข + อัว + ด =  ขวด

น + อัว + ด =  นวด

ส + อัว + ด =  สวด

ส + อัว + ม =  สวม

น + อัว + ม  =  นวม

ร + อัว + ม =   รวม

ส + อัว + ย =  สวย

ร + อัว + ย =   รวย

น + อัว + ย =  นวย

 

อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ https://docs.google.com/docume...

หมายเลขบันทึก: 484205เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2012 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2018 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท