จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟัง วันที่ 28 กันยายน 2548 ที่ห้องประชุมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชุมพร ..ครูอาสาสมัครที่ทำงานในพื้นที่ ได้นำเอาประสบการณ์จากการทำงานโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการบันทึกเรื่องราวประสบการณ์การทำงานมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน..นางสาวสุนีย์ นุชนิ่ม หนึ่งในครูอาสาที่รับผิดชอบทำงานในพื้นที่ บ้านศาลาประชาคม หมู่ที่ 12 ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ได้สรุปถึงเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนของกลุ่มพัฒนาอาชีพ การเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์ม ของคนในหมู่บ้านนี้ว่า เกิดจากสมาชิกของกลุ่ม เป็นผู้ที่ใฝ่ศึกษา ใฝ่เรียนรู้ เห็นความสำคัญในการศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของกันและกัน ประกอบกับนิสัยขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ..ทุกคนในกลุ่มมีความกระตือรือร้น ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความสามัคคีในกลุ่ม .
โดยคุณสุนีย์ ได้เล่าให้ฟังว่า เกือบสิบปีที่เธอได้รับมอบหมายให้เข้าไปทำหน้าที่ประสาน คือ จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน ในหมู่บ้านแห่งนี้..มีคนหลายรุ่นในหมู่บ้านที่เริ่มเรียนตั้งแต่ ระดับผู้ไม่รู้หนังสือ ..จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย คนที่นี่จะให้ความสำคัญกับการศึกษา ทั้งสาบอาชีพและสายสามัญ ทุกคนที่นี่จบ ป.6 และมัธยม ... ส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคกลาง ได้แก่ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมชนแออ้ด จากกรุงเทพฯ โดยเข้ามาอาศัยตามเกณฑ์การคัดเลือกของนิคมสหกรณ์ เริ่มเข้ามาอยู่ที่ท่าแซะ ปีพ.ศ. 2519..มีผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 70 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 30 ไม่เคยมีปัญหาความขัดแย้งกัน บ้านศาลาประชาคม มีพื้นที่ 3,640 ไร่ ลักษณะเป็นที่ราบสูง มีห้วยไหลผ่าน 2 สาย สภาพดินเป็นดินปนทราย ผสมกัยดินลูกรัง อาชีพหลักของชาวบ้านคือการปลูกปาล์มนำมัน ยางพารา และสัปรด.ชาวบ้านที่นี่เคยประสบกับพิษภัยของพายุใต้ฝุ่นเกย์ แต่ทุกคนก็ช่วยกันเริ่มฟื้นฟูมีการปลูกปาล์มกันอีกรอบ ซึ่งลักษณะของชาวบ้านที่นี่ จะมีความกระตือรือร้น ..โนคุณ เลอศักดิ์ ชัยสงคราม เกษตรตำบลท่าข้าม ได้พูดถึงลักษณะของคนที่นี่ ว่า คนบ้านศาลาประชาคม เป็นคนที่มีความขยัน กล้าซักถาม กล้าแสดงออก ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สนใจความรู้ใหม่ๆทางด้านการทำเกษตร ...
บุคคลที่นับว่ามีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ชาวบ้านมีความพร้อมในการพัฒนา หรืออาจกล่าวได้ว่าเริ่มวางรากฐานการพัฒนา ของชุมชนแห่งนี้ คือผู้ใหญ่ประสิทธ์ สุขช่วย ซึ่งได้นำเอาวิธีการเริ่มให้ชาวบ้านรู้จักสภาพของตนเอง เริ่มต้นโดยการใช้วิธีประชาคม ให้ชาวบ้านทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม เริ่มจากการร่วมกันเก็บข้อมูล ทุก ๆด้านของชุมชน ช่วยกันวิเคราะห์ หาจุดอ่อน จุดแข็ง มีการบันทึกรายรับรายจ่ายของครัวเรื่อน ซึ่งเมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกนำมาเชื่อโยงและจัดลำดับความสำคัญ ก็เกิดเป็นแผนแม่บทชุมชน ของหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย 3แผนหลัก คือ แผนแม่บทชุมชนด้านเศรษฐกิจ / สิ่งแวดล้อม /สุขภาพอนามัย และจากข้อมูลตรงนี้ กลุ่มพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดฟางที่คุณสุนีย์เป็นที่ปรึกษา ก็เกิดจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน 3 ปี ที่เรียนรู้ พร้อมกับจัดกิจกรรมเสริมความรู้ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม เชิญผู้รู้ ภูมิปัญญามาให้ข้อมูล ไปศึกษาเรียนรู้จากกลุ่มอื่น ในต่างอำเภอ มีการประชุมพูดคุยกันอย่างสมำเสมอตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีรายได้เสริมจากการทำอาชีพนี้ ไม่น้อยกว่า ครอบครัวละ 3000 บาทต่อเดือน แม้จะมีความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ทุกคนในกลุ่มต่างก็มีความเห็นตรงกันว่า พรุ่งนี้จะต้องดีกว่า วันนี้ และเมื่อวานนี้ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการทำอาชีพนี้ การเรียนรู้ไม่เคยสิ้นสุด ดังคำพูดของ ลุงวิชัย (นายวิชัย เพชรเทียน ) ที่ว่า การเพาะเห็ดฟาง เป็นเรื่องที่น่าศึกษา สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่มีความเห็น