แผนพัฒนารายบุคคลตอนที่2


แผนพัฒนารายบุคคล วิธีประเมินสมรรถนะ
ครั้งนี้เป็นรายละเอียดตอนที่2 ที่ต่อจากการมีเครื่องมือประเมินสมรรถนะแล้ว ก่อนจะเอาเครื่องมือมาใช้ขอย้ำอีกครั้งว่าต้องทำความเข้าใจเครื่องมือให้ละเอียดท่องแท้ หลังจากนั้นต้องพิจารณาพฤติกรรมของผู้ที่เรากำลังจะประเมินว่าในระหว่างการทำงานได้แสดง หรือกระทำพฤติกรรม หรือทำกิจกรรมที่บ่งบอกตรงตามหรือเป์้นไปตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในเครื่องมือหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วว่าเขาแสดงออกเป็นไปตามรายละเอียดพฤติกรรมก็ให้ผ่าน ค่อยๆดูไปในแต่ละระดับ แล้วสรุปว่าเขามีพฤติกรรมในระดับใด ได้คะแนนเท่าไหร่ แต่อย่าลืมว่าตามหลักของสมรรถนะแล้วต้องคิดบนพื้นฐานที่ว่าถ้าไม่มีสมรรถนะในระดับต้นแล้วสมรรถนะในระดับที่สูงกว่าก็จะไม่แสดงหรือไม่มี อต่ในทางปฎิบัติส่วนใหญ่เท่าที่เห็นเราไม่ค่อยได้ทำตามอย่างเคร่งครัดนัก เมื่อมาถึงขั้นตอยการประเมินได้ค่าระดับมาแล้วก็จะนำมาเทียบกับค่ามาตรฐานที่เรากำหนดเอาไว้ว่าแต่ละคนต้องมีค่าอยู่ที่เท่าไหร่ เชน ระดับชำนาญการ มีค่ามาตรฐานสมรรถนะในระดับ 2 ทุกสมรรถนะ ถ้าผลจากการประเมินได้ต่ำกว่าค่ากำหนดมาตรฐานก็แสดงว่าเราต้องเขียนแผนพัฒนารายบุคคล แต่ถ้าบางคนไม่ตกเกณฑ์เลยถามว่าเอาอะไรมาพัฒนา เอาอะไรมาทำแผน หรือว่าไม่ต้องเขียนแผนอย่าเฉยๆ สบายดี ต้องทำอย่างไรกันแน่ อยากทราบก็ต้องีออ่านตอนที่ 3
หมายเลขบันทึก: 483955เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2012 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท