จาก Conflit de lois ถึง l'arbitrabilité


บันทึกนี้อาจเข้าใจยากไปบ้าง เพราะเป็นการเล่าเรื่องราวโดยสังเขป ยอมรับว่ามิได้อธิบายละเอียด หากผู้ที่มีพื้นฐานอยู่บ้างแล้วได้อ่าน จะเข้าใจได้อย่างรวดเร็วค่ะ

วันนี้มีคนชวนคุยเรื่อง Conflit de lois, Conflit de juridictions แล้วข้ามไปถึงอนุญาโตตุลาการ l'arbitrabilité กับกรณีสัญญาที่มีลักษณะระหว่างประเทศที่ทำขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชนต่างด้าว ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวยอย่างบอกไม่ถูกเลยทีเดียวค่ะ

 

        ^__^ ต้องขอบพระคุณอ.แหวว (รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร)    อีกแล้วที่ชักนำมวลมิตรมาให้มากมายหลายสาขาเหลือเกิน  

 

            ก่อนที่จะไปค้นคว้าเรื่องประกันสุขภาพกับผู้พำนักอาศัยในฝรั่งเศสอย่างผิดกฎหมายนั้น  ขอ....แว๊บ....มาเรื่องนี้ก่อนค่ะ เป็นการพักผ่อน 

 

          จากการสนทนาเล็กๆน้อยๆในวันนี้ ก็มาติดใจอยู่ที่การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการในฝรั่งเศส.... จากคำพิพากษาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1957 เป็นต้นมา เราจะเห็นได้ว่า Cour de cassation ศาลยุติธรรมสูงสุดจะมีความเห็นที่เปิดรับการอนุญาโตฯ ในคดที่มีลักษณะระหว่างประเทศเสมอ แม้ว่าคดีดังกล่าวจะมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐก็ตามค่ะ แต่ต้องพิจารณาเสียก่อนว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่รัฐสละเอกสิทธิลงมาเป็นคู่สัญญากับเอกชนใช่หรือไม่  ในขณะที่ทางฝั่ง Conseil d'Etat ศาลปกครองสูงสุดมักจะมีความเห็นตรงข้ามเสมอ

 

    ปัญหาที่น่าคิดคือ

(๑). สัญญาที่พิพาทกันนั้นจะขึ้นสู่ศาลใด เพราะเป็นระบบศาลคู่ ศาลปกครอง หรือศาลยุติธรรม ผลของคดีต่างกันค่ะ 

(๒). กรณีที่ใช้อนุญาโตตุลาการ เมื่อมีคำชี้ขาดออกมาแล้ว ต้องนำไปขอบังคับหรือขอเพิกถอนที่ศาลใด นัยยะสำคัญของเรื่องนี้คือ ศาลใดจะมีอำนาจตรวจสอบคำชี้ขาดนั่นเองค่ะ เพราะในฝรั่งเศสนั้น หากศาลยุติธรรมมีอำนาจเหนือคดี การตรวจสอบจะอยู่ในระดับ superficiel แต่ Conseil d'Etat จะเข้มและรัดกุมกว่ามาก แม้ว่าจะเป็นคดีที่มีลักษณะระหว่างประเทศก็ตาม   

  

           ปัญหาเบื้องต้นที่ต้องจัดการคือ "เกณฑ์" ในการใช้พิจารณาว่าสัญญาใดมีลักษณะระหว่างประเทศหรือไม่? ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากจะพูดในวันนี้ รวมไปถึงการยกตัวอย่างคดีที่สนุกมากมาประกอบการอธิบาย นั่นคือ INSERM ศูนย์วิจัยยาของฝรั่งเศสนี่เองค่ะ

 

    ในคดี INSERM นั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็น l'établissement public ทำสัญญารับเงินบริจาคสร้างตึกเพื่อการค้นคว้าวิจัยร่วมกันในอนาคตจากนายทุนเอกชนนอร์เวย์  จู่ๆ ทางนอร์เวย์ก็เปลี่ยนใจไม่ให้เงิน ทางฝรั่งเศสไม่ยอม ในสัญญานั้นระบุให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตฯ (ฝรั่งเศสตรากฎหมายเฉพาะเพื่อให้อำนาจแก่กรณีนี้ในการใช้อนุญาโตฯค่ะ เหมือน Euro Disney เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน Code civil) ปรากฏว่า ..... ทายได้ใช่มั้ยคะว่าใครแพ้.... ฮ่าๆๆๆ มีคำชี้ขาดให้ INSERM คืนเงินที่ได้รับโอนมาแล้วให้เอกชนนอร์เวย์ค่ะ  ทายต่อไปว่า INSERM ทำอย่างไร?  เชื่อว่าทุกท่านทายถูก.... เอาคดีไปฟ้องศาลฝรั่งเศสค่ะ เป็นแบบนี้ทุกชาติค่ะ ไม่ต้องตกใจ

 

          ปัญหาที่ ๑) ที่ตั้งไว้คือ ศาลใดจะมีอำนาจเหนือคดี?  บังเอิญกฎหมายฝรั่งเศสว่าด้วยอนุญาโตฯไม่ได้ระบุชัดๆแบบไทยซะด้วยในเรื่องศาลปกครองและศาลยุติธรรม  INSERM ไปร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดต่อศาลยุติธรรม คือ CA Paris ไปถึงก็ยกเรื่อง l'arbitrabilité subjective et objective มาเต็มที่ค่ะ ศาลว่าอย่างไร? เพื่อจะตอบปัญหาเรื่อง "อำนาจศาล" หรือ Compétence sur ce litige ศาลต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า คดีนี้เป็นคดีประเภทที่อยู่ในอำนาจตนหรือไม่ กล่าวคือ ต้องหา l'extranéité de contrat  

ซึ่งศาลตอบว่า "สัญญาดังกล่าวมีลักษณะระหว่างประเทศก่อนที่จะเป็นสัญญาทางปกครองเสียอีก" "แม้ว่าจะมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐก็ตาม" เพราะศาลเห็นว่า "สัญญานั้นเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ"

        และมาตอบปัญหาที่ ๒) ว่า "ดังนั้นการร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจศาลยุติธรรม ถือเป็นการชอบแล้ว แม้ว่าสัญญานั้นจะมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองด้วยก็ตาม" เป็นเรื่องใหญ่เลยค่ะ นักกฎหมายมหาชนต่างก็ไม่เห็นด้วย  

 

    INSERM  ยังคงดิ้นรนต่อไป โดยนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองค่ะ ขอให้ศาลปกครองวินิจฉัยว่า le recours en annulation ควรอยู่ในอำนาจของศาลใด  เพราะตามที่กล่าวมาข้างต้น หากศาลปกครองมีโอกาสตรวจสอบ มาตรฐานที่ใช้จะเข้มงวด intense กว่าค่ะ ลองทายว่าศาลปกครองว่าอย่างไร??????

 

   ............. ศาลตัดสินได้อย่างน่าเจ็บปวดว่า.... อำนาจในการวินิจฉัยคำร้องเพิกถอนคำชี้ขาดเป็นของศาลยุติธรรมนั้น ชอบแล้ว....  


ตามมาด้วยคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์จาก Cour de cassation 1er Chambre civile ค่ะ...............

 

            ในคำพิพากษานั้น Cour de cassation หรือศาลยุติธรรม ย้ำว่า คดีมีลักษณะระหว่างประเทศ และอนุญาโตตุลาการก็เป็น l'arbitrage commercial international เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดน 

 

        ข้อสังเกตคือ Cour de cassation ใช้ la définition économique du litige เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยมุ่งความสนใจไปที่ "การเคลื่อนย้ายทุนข้ามพรมแดน" คือนอร์เวย์และฝรั่งเศสค่ะ น่าแปลกที่ศาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับ "l'opération économique" ที่แท้จริงเพื่อนำมาใช้เป็นเกณฑ์   

 

        จากมุมมองของคนที่ไม่ใช่ publicist ไม่ทราบว่าตอนนี้เค้ายังแบ่งกันอยู่อีกรึเปล่านะคะ  เพราะจำได้ว่าตอนเรียนโท อาจารย์ที่สอน le droit international pénal บ่นๆๆๆๆๆ ว่าเค้าเลิกแบ่งกันแล้ว(ย่ะ)  แต่เป็นว่าจากมุมของคนเรียนคดีบุคฯ ก็ยังอดโต้แย้งคำพพษ.ศาลยุติธรรมไม่ได้  เพราะการให้เหตุผลเช่นนี้ เท่ากับมิได้ลงลึกไปถึงแก่นของเรื่อง อยากจะกล้าหาญเรียกว่า การโอนเงินข้ามประเทศมันดูเป็น "ลักษณะเทียม" ของเรื่องค่ะ ควรสนใจกิจการหรือกิจกรรมที่คู่สัญญาสองฝ่ายจะทำร่วมกันมากกว่า นั่นก็คือ การค้นคว้าวิจัยยา (แต่ก็ไม่แน่ใจว่า หากวิจัยแล้วต่อมาผลิตเพื่อการค้า ตกลงแล้วจะถือว่าการวิจัยนั้นเป็นไปเพื่อการค้า ทำให้สัญญาลงทุนนั้นเป็นเรื่องของการค้าไปหรือเปล่า  ขอถามนักกม.ปกครองและผู้รู้กรุณาให้ความกระจ่างด้วยค่ะ)  

 

              อาจมีคนสงสัยว่า...แล้วตกลงสัญญานี้เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่????  ขอให้ไปค้นคำพพษ.เองค่ะ แล้วจะพบว่า มันไม่ครบตาม critères ที่วางหลักไว้ในคำพพษ. ทำให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจในคดีนี้ 

หมายเลขบันทึก: 483873เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2012 02:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท