บทเรียนที่ไม่ตาย 7/1 ชาตรี สำราญ


การเรียนรู้ของวิชาการเรื่องนั้น ๆ งานเขียนเล่มหนึ่ง ๆ เป็นการบรรจุความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนลงไปในผลงานเล่ม นั้น ๆ ที่ผู้ประเมินจะมองเห็นภาพของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้

                คิดให้รอบ

 

                ถ้าหากครูผู้สอนมองเห็นว่า  ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดโดยใช้ภาพความคิดแบบใดแบบหนึ่งได้หรือสามารถนำแผนภาพความคิดทั้ง  8  แบบนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการแล้ว  ผู้สอนควรที่จะใช้คำถามถามผู้เรียนบ่อย ๆ  ให้ผู้เรียนตอบคำถาม โดยแสดงความคิดแบบมีภาพความคิดมาประกอบการตอบคำถาม  ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลคำตอบมีน้ำหนักน่าเชื่อถือได้  อีกอย่างหนึ่งการคิดแบบใช้ภาพความคิดประกอบการคิดจะช่วยให้ผู้คิดมองเห็นความเชื่อมโยงต่อเนื่องของข้อมูลคำตอบว่า  สิ่งนี้มีความสัมพันธ์กับสิ่งนี้    “เพราะสิ่งนี้สัมพันธ์กับสิ่งนี้จึงเกิดแก้ว  เป็นชื่อเฉพาะเจาะจงชัดเจนเป็นวิสามานยาม  ภาพความคิดแบบผังมโนทัศน์จะช่วยอธิบายให้เห็นความต่างตรงนี้ได้

  1. คำนามใดบ้างที่ใช้ลักษณะนามว่า ตัว”

ข้อนี้แน่นอนว่าผู้ตอบสามารถนำ Mind  Mapping  หรือ แมงมุม  มาเขียนเป็นภาพแสดงความคิดให้เห็นได้ ดั่งข้อ  1

                แต่ยังมีคำถามที่ผู้ตอบจะต้องตอบแบบเจาะจงเป็นด้านๆ  เพื่อให้ครอบคลุมคำถามที่ต้องการคือ

  1. ผลกระทบที่เกิดจาก ยาบ้า มีในด้านใดบ้าง

คำถามข้อนี้  ผู้เรียนสามารถนำแผนภาพความคิดแบบหนึ่งแบบใดมาใช้ลากเส้นสายความคิดได้ไม่ว่าจะเป็น แบบแมงมุม หรือ  Mind  Mapping  หรือ  แบบผังมโนทัศน์  แต่ทว่ายังมีแผนภาพความคิดอีกแบบหนึ่งที่สามารถนำเสนอภาพความคิดได้ตรงจุด  นั่นคือ  แผนภาพความคิดแบบโมเดลว่าว  หรือ Kite Model  ซึ่งเป็นการออกแบบแผนภาพความคิดที่ผู้เรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดในชุมชนได้อย่างดี  โดยมีรูปแบบง่าย ๆ ดังนี้ 

 

การเรียนรู้ของวิชาการเรื่องนั้น ๆ    งานเขียนเล่มหนึ่ง ๆ เป็นการบรรจุความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนลงไปในผลงานเล่ม     นั้น ๆ   ที่ผู้ประเมินจะมองเห็นภาพของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น

                - ความตั้งใจทำงาน            ผลงานดีมากน้อยเพียงใด (รูปเล่ม ลายมือ  ภาพ ความสะอาดของงาน  การตรงต่อเวลาในการส่งงาน)

                -  ความรู้ความเข้าใจ          สาระเนื้อหาที่ถ่ายทอดเป็นเรื่องราวให้อ่านมีความชัดเจน  ถูกต้องมากน้อยเพียงใด

                - การศึกษาค้นคว้าอ้างอิง  ตรงนี้สำคัญมากผู้ใฝ่ใจเรียนรู้จะค้นหาความรู้มาอ้างอิงจากหลากหลายแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของตนเอง

                -  ความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน   เช่น   การวาดภาพประกอบ  การเข้ารูปเล่มงานการเขียน  บทกวีประกอบการบรรยาย และหรือการแต่งเพลง  การเขียนบทลิเก  มโนราห์  หนังตะลุง  ประกอบการบรรยาย   ซึ่งความสามารถเหล่านี้ มีเฉพาะแต่ละคนและคนละด้าน

                การตั้งคำถามนำของผู้สอนให้ผู้เรียนคิดนั้น  ผู้สอนสามารถนำประเด็นต่าง ๆ  จากบทเรียนที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้  โดยที่มีการเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้า  เช่น

  1. ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบเรื่อง พระอภัยมณี เป่าปี่กี่ครั้ง  เป่าปี่แต่ละครั้งหวังผลในด้านใดบ้าง

คำถามอย่างนี้ผู้เรียนจะต้องค้นหา คำตอบจากวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี  โดยวิธีการอ่านอย่างหยาบ ๆ  เพื่อหาคำตอบเฉพาะเรื่อง  สิ่งที่ผู้เรียนจะได้คือ  วิธีการอ่านหนังสืออย่างหยาบ  วิธีการอ่านเพื่อเก็บประเด็นความเฉพาะเรื่องที่ต้องการ  ซึ่งผู้อ่านจะไม่รู้รายละเอียดของเรื่องทั้งหมด  แต่จะรู้เรื่องเฉพาะเรื่องที่ต้องการคำตอบเท่านั้น   แต่ถ้าเติมประเด็นคำถามต่อท้ายอีกว่า “มีประเด็นใดอ้างอิงคำตอบ”  ผู้เรียนก็จะต้องเจาะลึกถึงประเด็นนั้นในแต่ละครั้งของการอ่าน  เพื่อจะนำประโยคหรือประเด็นที่เป็นหลักฐานอ้างอิงคำตอบ  มาตอบคำถามจะเห็นได้ว่า  จำนวนครั้งของการเป่าปี่ของพระอภัยมณี  เป็นเพียง ตัวล่อ  ให้ผู้เรียนเรียนรู้เทคนิควิธีการอ่านหนังสืออย่างหยาบเท่านั้น

                ถ้าต้องการให้ผู้เรียนอ่านแบบเจาะลึกลงไปอีก เป็นการอ่านจับประเด็นที่ละเอียดกว่าเดิมนั้น  ผู้สอนน่าจะตั้งคำถามแบบ

2)      ลำดับญาติของตัวละครในเรื่อง พระอภัยมณี มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง

ผู้เรียนจะค้นพบคำตอบได้ต้องอ่านเรื่องพระอภัยมณีแบบละเอียดยิ่งขึ้น  ต้องถอดความหาความเชื่อมโยงระหว่างตัวละครแต่ละตัวมาลำดับเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้เห็น

                มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า  ถ้าผู้เรียนเข้าถึงแผนภาพความคิดจะสามารถนำแผนภาพความคิดมาใช้ได้ตรงตามหน้าที่ของแผนภาพนั้น ๆ  รูปแบบการนำแผนภาพความคิดมาตอบคำถามข้อที่ 1  จะต่างไปจากข้อที่  2 โดยข้อ  1  อาจจะนำแผนภาพแบบแมงมุม หรือ  Mind  Mapping  มาเป็นเครื่องช่วยในการนำเสนอคำตอบ  ส่วนข้อ  2 นั้น  น่าจะใช้แผนภาพแบบผังมโนทัศน์ เหมือนกับคำถามข้อ  3  ที่ถามว่า

3. คำว่า อบจ  กับ  อบต  นาหม่อม   มีความแตกต่างและ  
    เชื่อมโยงกันอย่างไรในรูปแบบ “ชนิดของคำนาม” 
    จงยกตัวอย่างคำอื่น ๆ  มาประกอบคำตอบเพื่อความ
    ชัดเจนด้วย

คำตอบข้อ  2  และ  3  ต้องแสดงภาพให้เห็นความชัดเจนในเชิงคล้าย ๆ คำอธิบายแต่ไม่ต้องอธิบายอย่างละเอียด  แต่นำชื่อตัวละครหรือคำตัวอย่างมาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน  ก็จะเกิดภาพให้เห็นในเชิงลึกได้ว่า ถ้าเป็นคำใหญ่ ๆ  ที่แสดงเป็นกลุ่ม    เป็นคน  เป็นสถานที่  ไม่ระบุชื่อชัดเจนก็จะเป็นคำ สามานยนาม  แต่ถ้าคำกลุ่มคำนั้นชี้จุดละเอียดย่อยลงไปเป็นการเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งนั้น ๆ   ไม่ใช่สิ่งอื่นแล้ว  ก็จะเป็นคำ วิสามานยนาม เช่น  คน  เป็นสามานยนาม   แต่  แดง  สกุล

 

นโยบายการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุน / การผลิต   การตลาด  การธนาคาร

                3) สังคม  วัฒนธรรม  จริยธรรม  เกี่ยวกับค่านิยมทางศาสนา  เชื้อชาติ   วัฒนธรรม  การศึกษา   ภูมิปัญญาชาวบ้าน   ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ   องค์กรทางสังคม  การกระจายทรัพยากร (การถือครองที่ดิน)  การดำรงตำแหน่ง

                4)  สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ / ชีวภาพ   หน้าที่การงาน  ระบบของสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับดิน   พืชพรรณ   ภูมิอากาศ  น้ำ   โรคภัยไข้เจ็บ  ลักษณะทางกายภาพของเมือง

 

                การคิดของผู้เรียน เริ่มต้นก็มักจะคิดในแวดวงใกล้ตัว กรณี ยาบ้า  นั้น  ผลกระทบด้านการปกครอง ถ้าคิดใกล้ ๆ ตัวก็คือ ผู้เสพยาจะสิ้นเปลืองเงิน   นี่เป็นหลักการว่า  ผู้เสพยาบ้าจะเป็นผู้มีปัญหาในตนเอง   สิ่งที่สัมพันธ์กันคือ  ครอบครัว  วุ่นวาย มีปัญหาในครอบครัว  โยงใยสัมพันธ์สู่ชุมชน  จังหวัด  ประเทศ ที่มีปัญหาอันเกิดมาจากยาบ้าด้วย

                ถ้าเขียนเป็นภาพจะเห็นภาพการขยายวงความคิด จากเรื่องใกล้ตัวสู่ความเป็นสากล

การปกครอง

 

 

สังคม วัฒนธรรม                                       เศรษฐกิจ

     จริยธรรม

 

 

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ / ชีวภาพ

 (ดูรูปใน https://sites.google.com/site/chatreesamran/hnangsux/-doc-13 ครับ)

แผนภาพความคิดอย่างนี้เหมาะที่ผู้เรียนจะนำมาใช้กับการวิเคราะห์ปัญหาสังคมมาก  และบทเรียนหรือคำถามอย่างข้อ 5  นี้  ผู้สอนควรนำมาใช้สอนบ่อย ๆ  โดยหยิบยกปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดในชุมชนในท้องถิ่นหรือในบ้านเมืองมาให้ผู้เรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์   เมื่อได้ประเด็นคำตอบแล้วนำมาขยายความให้เป็นเรื่องราวเรียบเรียงเขียนเป็นเล่ม  พร้อมกับสรุปให้ได้ใจความกะทัดรัดในรูปแบบความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์  ซึ่งจะเป็นตำราเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้จัดสร้างขึ้นมาเอง  นี่คือการเรียนแบบผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองอีกวิธีหนึ่ง

อ่านเป็นเล่มได้ที่ https://docs.google.com/docume... 

หมายเลขบันทึก: 483597เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2012 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท