Silent
นักศึกษากิจกรรมบำบัด ณกรณ์ ปาร์แมน ปาสุวรรณ

ปัญหาการหายใจที่ส่งผลถึงชีวิต


สังมควรให้โอกาสแก้ COPD มิใช่ให้ความลังเกียด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD)

เป็นโรคเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่มากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เนื่องจากปัญหา สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากขึ้น รวมถึงมีผู้สูบบุหรี่มากขึ้น ทำให้ปอดถูกทำลาย การยืดหยุ่นของปอดลดลง มีการอักเสบของทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่าย ก่อให้เกิดการใช้ชีวิตประจำวันที่แย่ลง สภาวะทางจิตแย่ลง

และ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

1. สูดดมมลพิษนอกอาคาร

2. เคยเป็นวัณโรคมาก่อน

3. การติดเชื้อ HIV ร่วมกับการสูบบุหรี่

4. การใช้ถ่าน ฟืน ทำเหมือง

5. พันธุกรรม

 

อาการ

เนื่องด้วยการหายใจที่มีสิทธิภาพลดลงทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนภายในร่างกายลดน้อยลง ส่งผลลมให้เกิดอาการหายใจลำบาก หอบ เหนื่อย และอาจหายใจมีเสียงวี้ด

 

การป้องกัน (แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่)

1. การป้องกันขั้นปฐมภูมิ คือ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคโดยการไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันพิษต่าง ๆ

2. การป้องกันขั้นทุติยภูมิ ทำได้โดยการวินิจฉัยโรคแต่เนิ่น ๆเพื่อรีบให้การรักษาก่อนที่จะมีอาการกำเริบไปมากแล้ว นอกจากนี้ยังทำการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นประจำ

3. การป้องกันขั้นตติยภูมิ ทำได้โดยชะลอการเสื่อมของปอดจากตัวโรคด้วยการใช้ยาสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

 

คุณภาพชีวิตในผู้ป่วย COPD

            ด้านร่างกาย – อาการหายใจเหนื่อยหอบเริ่มรุนแรง ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ ความสามารถในการทำงานของร่างกาย และความทนทานของร่างกายลดลง

            ด้านจิตสังคม – การทำกิจวัตรประจำวันทำได้ลดน้อยลง และส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในสังคม เนื่องจากกลัวการต่อต้านจากคนในสังคม ทำให้ขาดความมั่นใจ

            ด้านเศรษฐกิจ – การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องทำให้ขาดบทบาทการทำงาน ไม่มีรายได้ และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

     การประเมินและส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต ด้านคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยเน้นถึงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเป็นหลัก และสิ่งสำคัญคือ ควรสังเกต Heart rate, breathing rate, and oxygen saturation ตลอดการทำกิจกรรม จากนั้นวางแผนการรักษา

แม้ว่าสภาวะของผู้เป็นโรค COPD จะย้ำแย่เพียงไร แต่สุดท้ายสังคมก็เป็นอีกหนึ่วปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลถึงผู่ป่วยโรคนี้อย่างมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 483525เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2012 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท