บทเรียนที่ไม่ตาย 6 ชาตรี สำราญ


การที่ผู้สอนพยายามฝึกฝนให้ผู้เรียนใช้วิธีการคิดแบบเชื่อมโยงต่อเนื่องสัมพันธ์กันดังที่นำเสนอ คือการฝึกหัดให้ผู้เรียนมองให้เห็นภาพตลอดแนว

ตนคือครูของตน

 

                ถ้าจะถามว่า “เวลาคิดนั้นผู้เรียนไม่ต้องสร้างแผนภาพที่คิดขึ้นมาได้ไหม”  ขอตอบว่า ได้  เพราะในความเป็นจริงนั้น  ยังมีคนส่วนใหญ่คิดในใจ  ไม่ได้ขีดเขียนเป็นแผนภาพดังที่ได้เสนอมาทั้ง  7  รูปแบบตามตัวอย่างในบทที่ผ่านมา  แต่ทว่าที่ต้องการให้ผู้เรียนคิดแล้วขีดเขียนเป็นเส้นสายแผนภาพ (ประกอบ) ความคิด นั้นก็เพื่อให้ผู้เรียนฝึกสร้างระบบการคิด  จะได้ไม่คิดแบบสะเปะสะปะ  ไม่คิดแบบต่อเนื่องแต่เป็นการคิดเรื่องนี้สักนิดเรื่องนั้นสักหน่อย  ส่งผลให้เป็นคนทำนี่ไม่ทันเสร็จก็ทำสิ่งโน้นต่ออีก  เลยไม่ปรากฏผลงานที่เสร็จเรียบร้อยได้

  

คำนาม

สามานยนาม

วิสามานยนาม

ลักษณะนาม

 

วิสามานยนาม

 

คำนาม

นยนาม

 

1. เด็กนั่งอยู่ใต้ต้นไม้

1. เด็กชายมนัส นั่งอยู่

ใต้ต้นไทรย้อย

1. เด็กชาย 1 คน นั่งอยู่

ใต้ต้นไม้  1  ต้น

2. วัว  ยืนกินหญ้า

2. วัวสีแดงยืนกินหญ้าใบพาย

2. วัวสีแดง 1 ตัวยืนกินหญ้า 1 ฟ้อน

3. บ้านของเพื่อนสีสวย

3. บ้านบังกาโลของปรานีสีสวย

3. บ้านบังกาโล 1 หลังของปรานีสีสวย

4. ปากกาอยู่บนโต๊ะ

4. ปากกาสีดำอยู่บนโต๊ะ

4. ปากกาสีดำ 1 ตัว

วางอยู่บนโต๊ะ1ตัว

 (ดูภาพประกอบที่https://sites.google.com/site/chatreesamran/hnangsux/-doc-13ครับ)

                                                                ภาพประกอบหมายเลข  8

 

กล่าวมาทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่แฝงอยู่ในการฝึกฝนให้ผู้เรียนคิดด้วยวิธีการสร้างภาพความคิดดังที่ได้เสนอมาตามลำดับ

                จากประสบการณ์การสอนที่ผ่านมาเคยเห็นผู้เรียนบางคนใจร้อน  ต้องการทำงานเสร็จเร็ว ๆ   พอให้คิดงานด้วยการสร้างภาพความคิด จะรีบเขียนรีบทำพอเขียนผิดก็ลบ ปรากฏผลว่า กว่างานจะเสร็จยางลบสึกกร่อนไปมากและบนโต๊ะเต็มไปด้วยเศษยางลบอยู่รอบ ๆ แผ่นกระดาษ  เมื่อถามว่า “ทำไมจึงเป็นอย่างนี้”  ถามบ่อย ๆ เพื่อคอยเตือนให้ทำงานช้า ๆ อย่ารีบเขียน  คิดก่อนเขียน  ใจเย็น ๆ   ฝึกนาน ๆ เข้า จนกระทั่งในที่สุด ผลงานของผู้เรียนคนนั้นแทบจะไม่มีรอยเปื้อนยางลบและรอยดินสอที่เขียนผิดอีก  ความภูมิใจต่อผลงานที่สะอาด  สวยงามและความถูกต้องของเนื้อหาวิชาการ  หลังจากที่ได้รับการประเมินตนเองและเพื่อน ๆ ร่วมกันประเมินผลงานให้  ภาพความสำเร็จ ในการสร้างผลงานแต่ละชิ้นจึงเกิดขึ้นในใจของผู้เรียนคนนั้น  จึงกล้ากล่าวได้ว่า  ในการเรียนที่แท้จริงนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาทั้งด้านความรู้ความเข้าใจและนิสัยการเรียนรู้สู่ความเป็นผู้มีวินัยในการเรียนรู้  นี่คือการเรียนรู้ที่แท้จริง

                การที่ผู้สอนพยายามฝึกฝนให้ผู้เรียนใช้วิธีการคิดแบบเชื่อมโยงต่อเนื่องสัมพันธ์กันดังที่นำเสนอในตัวอย่างแผนภาพความคิดที่ 1-7  นั้น คือการฝึกหัดให้ผู้เรียนมองให้เห็นภาพตลอดแนว   จากจุดเริ่มต้นสู่จุดกลางและจุดสุดท้ายของงานชิ้นนั้น   แน่นอนว่าแรก ๆ ผู้เรียนจะมองแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้นแล้วค่อย ๆ ฝึกคิดต่อ ๆ  ไป ( ดังตัวอย่างภาพประกอบหมายเลข 5 )  หากว่าผู้เรียนได้รับการฝึกฝนเพิ่มขึ้น ๆ  ผู้เรียนก็จะมองเห็นภาพความคิดของตนขยายวงกว้างออกไปอีก  ทั้งนี้ย่อมจะขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลความรู้ของผู้เรียนเองด้วย   นั่นหมายถึงว่า ผู้สอนจะต้องฝึกและคอยชี้แนะให้ผู้เรียนเห็นรายละเอียดของข้อมูลอย่าปล่อยให้ผู้เรียนมองข้ามไป  ต้องให้ผู้เรียนเก็บข้อมูลต่าง ๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วน  ต้องคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลที่ปรากฏว่าจะช่วยในด้านขยายวงความคิดได้อย่างไรบ้าง   ความพีถีพิถันต่อการเก็บข้อมูลความรู้  เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่ผู้เรียนพึงมี  เพราะนี่คือเครื่องมือของการคิดที่สำคัญ

                วิธีการสอนแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยาก  เพียงผู้สอนนำข่าวหรือเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดที่อยู่ใกล้ตัวผู้เรียนนั่นแหละมาให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่อเนื่องด้วยวิธีการใช้แผนภาพความคิดแบบหนึ่งแบบใดที่ตนถนัด  เขียนเป็นภาพให้เห็น  นำผลงานมาเปรียบเทียบกัน  ใครคิดได้ละเอียด  แตกกิ่งแตกก้านสาขาออกได้มากกว่าก็ให้นำเสนอวิธีการดำเนินการให้เพื่อน ๆ  ได้ร่วมกันเรียนรู้ด้วย   ทำบ่อย ๆ ก็จะพัฒนาวิธีการดำเนินการเรียนรู้ในเรื่องวิธีการเก็บข้อมูลได้

                การนำเหตุการณ์ที่ใกล้ตัวผู้เรียนมาให้ผู้เรียนฝึกคิดจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพความคิดที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงได้ดีกว่าการนำเรื่องไกลตัวผู้เรียนมาสอน  ยิ่งเหตุการณ์นั้นผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ด้วยก็จะสอนได้ง่ายยิ่งขึ้น  เพราะเขาเห็นภาพเหล่านั้นตลอดแนว   ความคิดก็จะเด่นชัดขึ้นจะเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้น

                การสอนให้คิดด้วยรูปแบบผังมโนทัศน์ ( A  Concept  Map)   เป็นรูปแบบการคิดอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้แล้วกระจ่างในเรื่องที่เรียน   เพราะสามารถแยกแยะรายละเอียดของสิ่งที่เรียนให้เห็นได้ชัดเจน  เช่น  ในเรื่องคำนามนั้น ถ้าผู้เรียนเรียนรู้ในรูปแบบ   Mind   Mapping  แล้วต้องการจะให้ผู้เรียนรู้ลึกลงไปอีก  ก็สามารถนำมาวิเคราะห์เจาะลึกเพิ่มเติมในรูปแบบผังมโนทัศน์ได้แบบนี้

สิ่งนี้ขึ้น   ถ้าสิ่งนี้ไม่สัมพันธ์กับสิ่งนี้  สิ่งนี้มีจะไม่เกิดขึ้น   นั่นคือ  ความเป็นเหตุเป็นผลจะเด่นชัดในข้อมูลคำตอบ

                อีกอย่างหนึ่งภาพความคิดที่ผู้เรียนแสดงให้เห็นนั้น เมื่อเขียนในกระดาษคำตอบจะช่วยให้ผู้สอนเห็นกระบวนการคิดของผู้คิดไว้ดีกว่าการตอบแบบไม่มีภาพความคิด

                เมื่อมาถึงตรงนี้ใคร่ที่จะเสริมถึงการตอบคำถามของผู้เรียนว่า  ทุกคำถามที่ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลมาตอบนั้น  ถ้าหากผู้เรียนสามารถเขียนอธิบายความได้ยาว ๆ มีความชัดเจน ถูกต้อง  มีการแสดงภาพความคิด  แล้วใคร่จะเพิ่มเติมให้ผู้เรียนสรุปความคิดทั้งหมดเป็นประโยคสั้น ๆ    ที่ได้ใจความชัดเจน ในรูปแบบความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์ ด้วย เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องนั้น ๆ   อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น  แล้วให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาทั้งหมดจัดทำเป็นรูปเล่มแบบหนังสือเล่มเล็ก  ผลงานนี้ผู้เรียนสามารถเก็บไว้ศึกษาทบทวนในคราวต่อไปได้และจะเป็นตำราเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้เขียน  อีกทั้งจะเป็นผลงานการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประกอบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงได้อีกด้วย

                การที่ผู้เรียนสร้างงานในรูปแบบตำราเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้เขียนนั้น  จะปรากฏภาพการบูรณาการเรียนรู้ที่ชัดเจน  ทั้งด้านศิลปศึกษา  ทั้งด้านงานฝีมือ  ความถนัดส่วนตน ทั้งด้านสาระ

ถ้าผู้เรียนสามารถคิดสร้างภาพสิ่งที่ตนอยากรู้ได้แบบนี้ก็จะช่วยให้ผู้เรียนสรุปบทเรียนเป็นความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ได้ง่ายยิ่งขึ้น   โดยเฉพาะถ้าผู้เรียนสร้างภาพเชื่อมโยงต่อเนื่องมาจากภาพความคิดตั้งแต่ภาพที่  5  เป็นต้นมา  ผู้เรียนจะสามารถลงรายละเอียดของข้อมูลได้ละเอียดสัมพันธ์กันแบบ  ค่อย ๆ เพิ่มความรู้ขึ้นทีละนิด ๆ  จนในที่สุดก็จะมองเห็นภาพของคำนามได้ชัดเจน มาถึงตรงนี้ผู้เรียนจะเกิดความคิดรวบยอดในใจว่าคำนามแต่ละชนิดเป็นแบบนี้เอง

               

                มาถึงตรงนี้ใคร่ที่จะขอเน้นว่า  ครูผู้สอนนั่นแหละควรที่จะชี้แนะและหรือถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความต่างระหว่างคำสามานยนามกับวิสามานยนาม   การเน้นย้ำซ้ำถามบ่อย ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนคิดได้ว่า คำแบบใดเป็นสามานยนาม  คำแบบใดเป็น    วิสามานยนาม  เช่น

-          “วัว  ยืนกินหญ้า  กับ  ไอ้ลางสาดยืนกินหญ้า ต่างกันอย่างไร”

-          “ทำไมไอ้ลางสาดเป็นวัวเหมือนกันเป็น                      วิสามานยนาม  ส่วนวัวที่เป็นคำเรียกตรง ๆ ทำไมจึงเป็นสามานยนาม”

-          “คำว่า พ่อ เราจะแปรคำอย่างไรจึงจะเป็น

วิสามานยนาม

-          “คำว่า ลุงแดง พ่อของดำนั่งอยู่ใต้ต้นไม้”  เราจะแปรคำอย่างไรจึงจะเป็นคำสามานยนาม”

-          “คำว่าวัวกับไอ้ลางสาดคำใดเป็นคำสามานยนาม  คำใดเป็นคำวิสามานยนาม  ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น”

 

การถามให้คิดจนมองเห็นได้ด้วยตนเองว่า “คำสามานยนามต่างจากคำวิสามานยนามเพราะเหตุใด” ได้แล้ว  ผู้เรียนจะสังเกตต่อไปได้ว่า “คำลักษณะนามต่างไปจากคำอาการนามแบบใด”  เพราะผู้เรียนเข้าใจวิธีการเรียนรู้แล้วจึงสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้    การสอนที่เกิดผลสัมฤทธิ์อยู่ตรงที่ผู้เรียนสามารถตั้งคำถาม  ถามหาคำตอบได้ด้วยตนเอง และรักที่จะถามหาคำตอบได้ด้วยตนเอง  นี่คือการสอนให้ตนเป็นครูของตน

อ่านเป็นเล่มได้ที่ https://docs.google.com/docume... 

หมายเลขบันทึก: 483503เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2012 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท