Silent
นักศึกษากิจกรรมบำบัด ณกรณ์ ปาร์แมน ปาสุวรรณ

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง


โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแต่โรคที่ตามมาต่างหากที่ทำร้ายผู้ป่วย

โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome: AIDS)

คือ โรคกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากเชื้อไวรัส HIV ที่มีความ จำเพาะต่อเม็ดเลือดขาวชนิด CD4-T Lymphocyte & Monocyte  เชื้อไวรัส HIV เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะไปทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นตัวสร้างระบบภูมิคุ้มกันภาย ในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลงเป็นผลให้เป็นโรคติดเชื้อต่างๆได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการมักรุนแรง เรื้อรัง และเสียชีวิตในที่สุด

  • โรคเอดส์เกิดจาก 4 สาเหตุใหญ่ ได้แก่           
  1. การมีเพศสัมพันธ์
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  3. การเลือดและองค์ประกอบต่างๆของเลือด
  4. จากแม่สู่ลูก

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แบ่งรับดับของโรคออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระดับที่1 คือ ระยะติดเชื้อHIV ไม่มีอาการ ไม่จัดเป็นโรคเอดส์

ระดับที่2 คือ มีอาการน้อย

ระดับที่3 คือ มีอาการโรคเอดส์

ระดับที่4 คือ มีอาการรุนแรง

การรักษา ใช้เคมีบำบัด ยาต้านไวรัส และป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

 

 

การป้องกัน ได้แก่

  • การตรวจเลือดหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยง(หลังสัปดาห์ที่5 เป็นต้นไป)
  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการสักหรือเจาะร่างกาย 
  • ก่อนแต่งงานและมีลูกควรตรวจเลือดทุกครั้ง

 คนที่ติดเชื้อHIV สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมได้ สามารถทำงานได้เหมือนคนทั่วไป เพราะเชื้อ HIV ไม่ได้ติดต่อกันโดยการสัมผัส การกอดจูบ การรับประทานอาหาร (แต่ถ้ามีแผลภายในช่องปากหรือทางเข้าของเชื้อไวรัส ก็อาจไม่ปลอดภัย100%) ไม่ต้องแยกห้องนอน ห้องทำงาน

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

จากกรณีศึกษา : นาย ก เป็นโรคเอดส์ อายุ 35 ปี  มีอาชีพประจำคือเป็นนักร้องที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง  มีงานอดิเรกคือชมคอนเสิร์ต ร้องเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬาฟุตบอลกับเพื่อนๆ เป็นต้น  เขาแต่งงานแล้วมีลูกอายุ 6 ขวบหนึ่งคน จากการที่เป็นโรคเอดส์นาย ก เกิดความละอายใจเกินกว่าจะสู้หน้าใคร ไม่กล้าเข้าสังคม ไม่รู้จะปฏิบัติตนอย่างไรจึงได้แต่วิตกกังวล ทำให้เครียด และรู้สึกอ่อนล้าทางจิตใจและร่างกาย ขาดความมั่นใจในในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเป้าหมายในชีวิต รวมถึงคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่าที่จะใช้ชีวิตต่อไป ไม่อยากทำกิจกรรมอะไรเลยในแต่ละวัน มีความคิดโทษตนเองและอยากย้อนเวลากลับไปช่วงที่ยังปกติ

ในการประเมินหากใช้กรอบอ้างอิง PEOP ในการวิเคราะห์นาย ก ในสุขภาพโดยเฉพาะด้านจิตสังคมที่กำลังส่งผลให้ไม่มีแรงจูงใจในการกิจกรรมการดำเนินชีวิต การทำงาน การเรียนรู้ การทำกิจกรรมยามว่างหรืองานอดิเรกหายไป ทั้งที่ความสามารถในทำงานการร้องเพลง กิจกรรมยามว่างในการเล่นดนตรี การเช้าสังคม ของนาย ก ยังสามารถทำได้อยู่

นักกิจกรรมบำบัดจึงมีบทบาทในการเพิ่ม self-esteem และ self-confidence ของเขาให้สูงขึ้น โดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอยู่ร่วมของผู้ป่วยโรคเอดส์กับตัวนาย ก เองและคนในครอบครัวของเขา กระตุ้นนาย ก ให้กลับมาทำกิจกรรมการดูแลตนเองทั้งกิจวัตรประจำวัน เรื่องการทานยา เรียนรู้การปรับตัวกับคนในครอบครัว เพื่อน และคนในสังคม อย่างการกลับมาร้องเพลง-เล่นดนตรีในช่วงแรก หากยังไม่พร้อมรวมวงเล่นกับเพื่อนอาจใช้ Social network เป็นช่องทางการสื่อสารเกี่ยวกับดนตรีเพื่อเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ การเล่นฟุตบอลถ้าหากสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย ล้าง่าย อาจเล่นเป็นเกมฟุตบอลหรือแค่ก็เตะเล่นเข้าประตูสนุกๆ เป็นต้น ฝึกทักษะการจัดการตนเอง การจัดการความล้า เทคนิคการสงวนพลังงาน การจัดการความเครียด การจัดการเวลา

คำสำคัญ (Tags): #HIV กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 483341เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท