คุณภาพชีวิตกับชุมชนแออัด


ปัจจุบันมีชุมชนแออัดมากมากในเมืองหลวงของบ้านเรา เนื่องจากการอพยพเข้ามาหารายได้ แล้วจะมีวิธีการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างไร?

ชุมชนแออัด

ตามความหมายของกระทรวงมหาดไทย 

     สภาพ เคหะสถานหรือบริเวณที่พักอาศัย ที่ประกอบด้วยอาคารเก่าแก่ชํารุดทรุดโทรม มีบริเวณที่สกปรกรกรุงรัง ประชาชนอยู่กันอย่างแออัดผิดสุขลักษณะ ต่ำกว่ามาตรฐานสมควร จนไม่อาจอยู่แบบครอบครัวตามปกติวิสัยมนุษย์ ทําให้ไม่ปลอดภัยในด้านสุขวิทยาและอนามัย

ลักษณะของชุมชนแออัด

  • มีบ้านเรือนปลูกหนาแน่น
  • มีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัดยัดเยียด
  • บริเวณที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ
  • อาคารบ้านเรือนชำรุดทรุดโทรม
  • ผู้อยู่อาศัยมีอาชีพมากมายหลายประการ

ปัญหาในชุมชนแออัด

  • ปัญหาสุขภาพอนามัย
  • ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย
  • ปัญหาอาชญากรรม
  • ปัญหาด้านศีลธรรม

     ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด เช่น ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชิวิตไปเป็นวันๆ อดมื้อกินมื้อ ความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ยาก

     นักกิจกรรมบำบัดสามารถเข้าไปมีบทบาทได้โดยส่งเสริมในด้านการทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัว ให้ผู้คนในชุมชนมีself-careที่ดี ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน เช่น จัดกิจกรรมเพื่อรวมกลุ่มให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วม หรือปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ทั้งในบ้านและในชุมชนให้ดีขึ้น จะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขตามมา

 

นำเสนอโดยนายธราดล รอดแก้ว นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่2 

หมายเลขบันทึก: 483317เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท