วัฒนธรรมภาคกลาง


วัฒนธรรมภาคกลาง

                         วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย

    บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประ
เทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เพราะในปลายฤดู ฝนจะมีน้ำป่าไหลหลากจากทางเหนือ มาท่วมพื้นที่ลุ่มในภาคกลาง หากมีลมพายุก็สามารถพัดผ่านใต้ถุน เรือนไปได้ ใต้ถุนเรือน สามารถใช้เป็นสถานที่ทอผ้า ตำข้าว เก็บของ ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อน โดยลมประจำที่พัดผ่าน เรียกว่า ลมว่าว หรือลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ การวางตัวเรือนจึงต้องหันทางทิศใต้ หรือทิศเหนือ เพื่อให้ลมพัดผ่าน

   เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกหลานแต่ง งาน และต้องการขยายพื้นที่ของเรือน ก็สามารถสร้างเรือนเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ชานบ้านเป็นตัวเชื่อมด้วย ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพชีวิตที่เป็นสังคมเกษตร ทำให้เรือนไทยเป็นเอก ลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมการดำรงชีวิตในภาคกลาง

หมายเลขบันทึก: 482931เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2012 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยังเด็กแต่ขยันเขียน หายากครับ และเขียนเยอะ ๆ ผมจะคอยติดตามอ่านเสมอนนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท