ดาระณี


บทความการวิจัยเพื่อการเรียนรู้

บทความการวิจัย   

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอน เพื่อพัฒนาการคิดและการทำโครงงาน

THE  DEVELOPMENT  OF  SCIENCE LEARNING  ACHIEVEMENT   AND  SCIENCE   PROCESS  SKILL  OF  PRATOMSUKSA  VI  STUDENTS  USING  AN  INSTRUCTIONAL MODEL  ENHANCING  THINKING  AND  PROJECT  ACTIVITY

ผู้วิจัย: สุนีย์  ด้วงมาก

วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาการประถมศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น [ISBN 974-435-947-1]

คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์:  ผศ.สมชัย  โกมล , ผศ.จุมพล  ราชวิจิตร , อ.วรเทพ  ฉิมทิม

           สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน     การเรียนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70     ซึ่งโรงเรียนบ้านห้วยแร่  ประสบปัญหาเรื่องการเรียนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ต่ำกว่าเกณฑ์ที่       สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติกำหนดไว้ ผู้วิจัยจึงได้วางแผนพัฒนา   ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบการสอน  เพื่อพัฒนาการคิดและการทำโครงงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาสู่รูปแบบการสอนที่สมบูรณ์และเหมาะสม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาวสาสตร์ของ     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านห้วยแร่  อำเภอเปือยน้อย    จังหวัดขอนแก่น  ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ  70  ของคะแนนเต็ม      และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ  70

            จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหทำให้ทราบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเนื้อหา              วิชาวิทยาศาสตร์  ซึ่งสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเรียนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตไว้ไม่ต่ำกว่า     ร้อยละ 70  ซึ่งโรงเรียนบ้านห้วยแร่  ประสบปัญหาเรื่องการเรียนการสอน   กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติกำหนดไว้  ผู้วิจัยจึงได้วางแผนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิด  และการทำโครงงาน  เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และพัฒนาสู่รูปแบบการสอนที่สมบูรณ์และเหมาะสม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น  3  ประเภทคือ  เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่  แผนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการทำโครงงาน  จำนวน  13 แผน ใช้เวลา  26  ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติได้แก่  แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู  แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  แบบบันทึกประจำวันของครู  แบบสัมภาษณ์นักเรียน  ใบงาน  แบบทดสอบท้ายแผนการสอน  แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการที่  1 , 2,3  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ได้แก่  แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การวิจัยใช้    รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research) แบ่งออกเป็น  4  วงจรปฏิบัติการ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองแต่ละวงจรประกอบด้วย การสอนโดยใช้แผนการสอนจำนวน 13 แผน  เวลา 26 ชั่วโมง  สังเกตกระบวนการเรียนการ สอน  ทดสอบท้ายแผนการสอนทุกแผน ทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 1,2,3  โดยทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเรียนการสอน    ของผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย  ใบงานของนักเรียน  การสัมภาษณ์  การทดสอบ   มาสะท้อนผลการปฏิบัติและวิเคราะห์ร่วมกันกับผู้ช่วยวิจัย  เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเรียนการสอนในวงจรต่อไป หลังจากดำเนินการครบทั้ง 4 วงจรปฏิบัติการให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  นำคะแนนที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้  สิ้นสุดในแต่ละวงจร  การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ  พื้นฐานคือ หาค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของคะแนน        แบบทดสอบท้ายแผน  แบบทดสอบท้ายวงจร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ข้อมูล         เชิงคุณภาพ  จากการใช้แบบบันทึกพฤติกรรมการสอนของครู แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  แบบบันทึกประจำวันของครู  ใบงานที่         นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมในแผนการสอน  แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ  แบบสัมภาษณ์นักเรียน

  ผลการวิจัยสรุปและอภิปรายผลได้ว่า  นักเรียนทุกคนได้ปฏิบัติกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองสม่ำเสมอ         และต่อเนื่องทั้ง 13 แผนการสอน  นักเรียนสามารถนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว มาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเนื้อหาที่กำหนดไว้ได้เป็นอย่างดี  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการ ทำโครงงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เฉลี่ยร้อยละ 80.34       ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ที่       ตั้งไว้ร้อยละ 95.45  ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 เช่นกัน  ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.11  ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70  และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้      ร้อยละ  95.45  ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70  เช่นกัน

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แบบทดสอบ
หมายเลขบันทึก: 482905เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2012 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท