case III Job Design, Employee Participation, and narative work arragements :Analysis Case


Alcorn ควรทำอย่างไรให้พนักงานมีความสุขและไม่เบื่อหน่ายกับงาน

Case Study 3: Job Design, Employee Participation, and Alternative Work Arragements

Enriching Jobs at Standard Decoy

 

  1. 1.      Problem of Standard Decoy’s Case

Current Situation

  • Standard Decoy เป็นโรงงานที่ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเป็นเหยื่อล่อในการล่าสัตว์หรือที่เรียกว่า “เป็ดเทียม” ซึ่งเริ่มต้นการผลิตจากการแกะสลักเป็ดคู่ด้วยมือ แต่เนื่องจากปริมาณความต้องการและการแข่งขันที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Standard Decoy ต้องจัดหาเครื่องจักรที่ทันสมัยและเทคนิคการผลิตแบบ Assembly-Line ซึ่งทำให้ Standard Decoy สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างน้อย 200 ตัวต่อวัน
  • การเปลี่ยนมือผู้บริหารของ Standard Decoy นั้นไม่ได้มาจากความสามารถในการผลิตสินค้าที่ลดน้อยลง สภาวทางการเงินที่มีปัญหา หรือแม้กระทั่งมีคู่แข่งที่ทำ “เป็ดพลาสติก” ออกมาแข่งขันแต่อย่างไร แต่เป็นการเปลี่ยนมือผู้บริหารรุ่นใหม่ในฐานะหลาน จากจุดเปลี่ยนมือผู้บริหารของ Standard Decoy นี้เองส่งผลให้ผู้บริหารคนใหม่ Alcorn รู้ดีว่าถึงเวลาที่ Standard Decoy ต้องปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง สาเหตุมาจากจาก Alcorn รับรู้อะไรบางอย่าง 1) ผลผลิตต่อคน (Productivity) ทำไมยังคงเท่าเดิมมาเป็นเวลากว่า 10 ปี  2) ทั้งที่ Standard Decoy เพิ่งได้เครื่องจักรที่ทันสมัยมาแต่ทำไมพนักงานเหล่านั้นถึงมีความรู้สึกเบื่อหน่ายกับงาน ไม่ตื่นเต้น หรือตื่นตัวที่จะทำงานเลยแม้แต่นิดเดียว
  • จากความคิดของ Alcorn ที่คิดว่า Standard Decoy ต้องปรับเปลี่ยนนั้น Alcorn จึงเริ่มต้นการปรับเปลี่ยนจากการ “สำรวจ” โดยในขั้นตอนนี้เขาได้มอบหมายให้พนักงานที่อยู่ในส่วนงานผลิตแต่ละจุดทำหน้าที่ในการสอบถามและบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสอบถามนั้นลงใน “Response Sheet” ซึ่งผลลัพธ์ที่ Alcorn ได้นั้นประการแรกคือ พนักงานส่วนปรับแต่ง “เป็ด” (Fine-Tuners) มีความสุขกับการทำงานในส่วนความรับผิดชอบของตนเองดี แต่ในมุมกลับกัน กลับมีพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการขึ้นรูปนั้นมีความรู้สึกเบื่อหน่ายกับงานที่ทำอย่างเห็นได้ชัด
  • จากผลสำรวจนี้เอง Alcorn จึงเลือกใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “Job Rotation” ในการสร้างความสุขในการทำงานให้กับพนักงานบางส่วนที่มีความเบื่อหน่ายในงานที่ทำ แต่การแลกเปลี่ยนงานกันทำนั้น Alcorn ใช้วิธีการขออาสาสมัคร สิ่งที่ Alcorn ได้พบคือ 1) พนักงานส่วนปรับแต่งที่มีความสุขกับการทำงานอยู่แล้วนั้นเกิดความไม่แน่ใจว่าแลกงานแล้วจะเป็นอย่างไร  2) พนักงานไสและตัดไม้ พนักงานส่วนงานขึ้นรูป พนักงานส่วนงานพ่นสี กลับมีความกระตือร้นที่จะแลกเปลี่ยนหน้าที่งานเพราะกลุ่มเหล่านี้คิดว่างานที่ทำนั้นซ้ำซากจำเจ หลังจากทดลองใช้ไปได้ประมาณ  1 สัปดาห์ Alcorn ตัดสินใจยกเลิกการแลกเปลี่ยนงานกันทำ เนื่องจากผลลัพธ์ไม่เป็นไปอย่างที่ Alcorn คาดหวัง เกิดความวุ่นวายเล็กน้อย พนักงานที่แลกเปลี่ยนงานกันทำนั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างดี เช่น ฝ่ายขึ้นรูปไม่มีทักษะในการทำงาน ส่วนฝ่ายปรับแต่งก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดทักษะให้กับส่วนงานอื่นๆ เป็นต้น
  • Alcorn เกิดความรู้สึกว่าตนนั้นได้ตัดสินใจทำอะไรลงไปอย่างผิดพลาด และเสียใจ แต่ระหว่างที่เขาทบทวนตัวเองนั้น Alcorn กับได้ค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ที่ Alcorn คิดว่าสามารถสร้างความตื่นเต้นให้กับพนักงานของเขาได้คือ  “เป็ดประหลาด” ซึ่งเกิดจากความคิดของ “Price” ที่ตั้งใจทำ “เป็ดประหลาด” ตัวนั้นจากเศษไม้ที่เหลืออย่างตั้งใจและดูท่า Price จะมีความสุขที่ได้ทำอีกด้วย  Alcorn จึงเกิดความคิดที่จะซื้อ “เป็ดประหลาด” ตัวนั้นต่อจาก Price ทำให้ Price รู้สึกประหราดใจเหมือนกันว่าจะซื้อไปทำอะไรในเมื่อ “เป็ดประหลาด” ตัวนี้ไม่ใช่ “เป็ด” ที่ Standard Decoy ทำออกขายเลย เมื่อ Alcorn ได้ “เป็ดประหลาด” มาแล้วจึงส่งให้ฝ่ายปรับแต่งทำการปรับแต่งเจ้า “เป็ดประหลาด” ตัวนี้ และ Alcorn ยังได้ทำการทดลองความคิดของเขาด้วยการนำไปให้ลูกค้าประจำของเขาได้ดู ซึ่งเป็นอย่างที่ Alcorn ต้องการพิสูจน์ ลูกค้าของเขาให้ความสนใจซื้อ และยังถามกลับมาว่าเจ้า “เป็ดประหลาด” นี้ทำด้วยมือใช่หรือไม่
  • จากความคิด “เป็ดประหลาด” นี่เองทำให้ Alcorn เริ่มคิดที่จะผลิต “เป็ดประหลาด” ออกมาวางจำหน่ายในตลาดแต่ไม่ใช่แค่เพียงวางจำหน่าย Alcorn ต้องการสร้างความแปลกใหม่ให้กับพนักงานไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในงานที่ทำ  โดย Alcorn เริ่มต้นทดลองความคิดเขาอีกครั้งด้วยการให้พนักงานของเขานั้นทำการผลิตเป็ดด้วยจำนวนที่เท่าเดิม ที่สิ่งที่ต่างไปคือให้ทุกคนผลิตเจ้า “เป็ดประหลาด” โดย Alcorn อนุญาตให้พนักงานของเขามีความอิสระในการออกแบบวิธีการ สามารถเลือกใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง อีกทั้งยังไม่บังคับด้วยว่าพนักงานแต่ละคนต้องทำการผลิตให้ได้ในจำนวนที่เท่าไหร่ ผลลัพธ์ที่ Alcorn ได้คือ 1) บางคนใช้เวลาในการผลิตเจ้า “เป็ดประหลาด” ได้ 1 ตัวต่อสัปดาห์ซึ่งเป็นสิ่งที่ Alcorn ต้องทำการบ้านต่อไปว่าทำไมถึงผลิตได้เพียงเท่านี้  2) บางกลุ่มใช้เวลาในการผลิตเจ้า “เป็ดประหลาด” เพียง 2 – 3 วันต่อตัว  แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้มีทักษะในการผลิตเป็นอย่างดี  3) บางคนก็นำเจ้า “เป็ดประหลาด” มาขายให้กับ Alcorn ซึ่งคนเหล่านั้นจะได้รับส่วนแบ่งจากการขาย “เป็ดประหลาด” ครึ่งหนึ่งของราคาขาย แต่ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นจะไม่สูงไปกว่าอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงที่พวกเขาได้รับตามปกติ แต่บางคนก็มีความภูมิใจและมีความสุขมากกับเจ้า “เป็ดประหลาด” และไม่รู้สึกสนใจกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น ดังเห็นได้จากการนำกลับไปตั้งโชว์ไว้ที่บ้าน
  • กระแสตอบรับ “เป็ดประหลาด” ไปได้ดี เป็นที่น่าพอใจแก่ Alcorn ทำให้ Alcorn ต้องการรวบรวมกระแสตอบรับจากลูกค้าด้วยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “Bulletin Board”  ในที่นี้ Alcorn ใช้ชื่อเรียกว่า “Odd Letters” ลูกค้าของ Alcorn ได้ให้ความสนใจกับ “เป็ดประหลาด” เพื่อการสะสมมากกว่าการใช้เป็นเหยื่อล่อในการล่าสัตว์ และถึงแม้ว่าลูกค้าบางรายของ Alcorn จะเอา “เป็ดประหลาด” ไปขายในชื่อที่ว่า “Cyrus Withchell’s Olde Time Odd Duck” แต่ Alcorn กลับรู้สึกดีใจและไม่ได้ต่อว่าลูกค้ารายนั้นแต่ประการใด

 

 

Problem of Standard Decoy’s Case

Analysis Case

Item

 

ภาวะผู้นำ

กระบวนการ

คนเหมาะกับองค์กร

ผู้บริหาร

ผู้ปฏิบัติการ

Alcorn

P

 

P

 

P

ฝ่ายปรับแต่ง

 

P

 

 

P

ฝ่ายไส

 

P

 

 

P

ฝ่ายขึ้นรูป

 

P

 

 

P

ฝ่ายพ่นสี

 

P

 

 

P

 

Summary

  • พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายกับงานที่ทำ เพราะต้องทำงานในขั้นตอนเดิมซ้ำๆ ในทุกๆวัน  จากประโยค “…he noticed many employees yawning” และ “…the people who planed and cut the wood into blocks, rough-cut the body shapes, spray-painted the body color, and applied the varnish were all pretty bored.”  ถึงแม้ว่า Alcorn จะพยายามคิดค้นวิธีการทำงานเพื่อให้พนักงานเหล่านั้นไม่เบื่อหน่าย โดยการเลือกให้พนักงานทุกคนมีอิสระในการทำ “เป็ดประหลาด” เหมือนจะได้ไม่ได้ผล ซึ่งจะเห็นว่ามีพนักงานบางคนรู้สึกตื่นเต้น ดีใจกับผลงานและภูมิใจกับรายได้ที่ได้รับจากการขาย “เป็ดประหลาด” ให้แก่ Alcorn แต่บางคนกับรู้สึกว่าธรรมดาไม่ยินดียินร้ายอะไรกับ “เป็ดประหลาด” Alcorn ยังขาดการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนมีความสุข สนุก และตื่นเต้นกับการผลิตเจ้า “เป็ดประหลาด” ซึ่งส่งผลให้กำลังการผลิตนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร
  • การแลกเปลี่ยนงาน ที่ Alcorn ใช้นั้นดูว่าค่อนข้างง่ายเกินไปทำให้การแลกเปลี่ยนงานไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง ซึ่งสิ่งที่ Alcorn ยังขาดคือ 1) ขาดวางแผน และ เตรียมตัวก่อนการแลกเปลี่ยนงานอันเป็นเหตุทำให้การแลกเปลี่ยนงานที่ Alcorn คิดว่าน่าจะสร้างความตื่นตัว และตื่นเต้นในการงานใหม่แก่พนักงานไม่ประสบความสำเร็จ 2) ขาดการกำหนดกลยุทธ์สำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนงานระหว่างพนักงานด้วยกัน 3) ขาดการหาข้อมูลและทำความเข้าใจในเนื้องานของทั้ง 2 ส่วนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ 4) ขาดการจัดทำ Job Description เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแลกเปลี่ยนงานของทุกฝ่าย  5) ขาดการติดตามและควบคุมการแลกเปลี่ยนงานอันส่งผลให้ความคาดหวังของ Alcorn นั้นไม่สัมฤทธิ์ผล
  • ฝ่ายปรับแต่ง รู้สึกต่อต้านบ้างเล็กน้อยจากการแลกเปลี่ยนงาน ซึ่งดูได้จาก “The fine-tuners seemed willing to give them only limited assistance”
  • ฝ่ายไสไม้และตัดไม้ ฝ่ายขึ้นรูปและฝ่ายพ่นสี ไม่มีความรู้ความชำนาญในหน้าที่งานที่ได้รับมาใหม่อย่างเพียงพอ ส่งผลให้งานที่ได้รับมาใหม่นั้นเกิดการสะดุด สังเกตได้จาก “The planer and spray-painters could not master the higher-precision techniques”

 

Problem of Standard Decoy’s case:

  • พนักงานส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำงาน
  • ขาดกระบวนการในการแลกเปลี่ยนงาน (Job Rotation)
  • ขาดการสร้างแรงจูงใจในการผลิต “เป็ดประหลาด”  
หมายเลขบันทึก: 482470เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2012 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท