การใช้คำว่า "ทรง" ในคำราชาศัพท์


ห้ามใช้ ราชาศัพท์ซ้อนราชาศัพท์นะครับ

การใช้ ทรง

   ทรง + กริยาสามัญ  =  กริยาราชาศัพท์  เช่น  ทรงวิ่ง  ทรงวางพวงมาลา

   ทรง + นามสามัญ   =  กริยาราชาศัพท์  เช่น  ทรงบาตร  ทรงธรรม  ทรงศีล

   ทรง + นามราชาศัพท์  =  กริยาราชาศัพท์  เช่น  ทรงพระราชนิพนธ์  ทรงพระอักษร

***  สังเกตง่ายๆ  ทรง + คำสามัญ

                        ทรง + พระ + ราชาศัพท์

       ห้ามใช้  “ทรง”  นำหน้าราชาศัพท์  ใช้คำราชาศัพท์ได้เลย  เช่น  บรรทม  โปรด  เสวย  ตรัส  สรง  ประชวร  ยกเว้น  ทรงผนวช  ใช้ได้

ทรง  (มี / เป็น)

สูตร

ทรงมี / ทรงเป็น + คำสามัญ    เช่น  ทรงมีทุกข์  ทรงมีวิทยุคมนาคม  ทรงเป็นนักปราชญ์  ทรงเป็นทหาร  ฯลฯ

มี / เป็น + ราชาศัพท์             เช่น  มีพระราชเสาวนีย์  มีพระราชโทรเลข  มีรับสั่ง  ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 481971เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2012 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท