พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญ


พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญ
พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญพิธีเข้าประจำกองลูกเสือหรือเรียกว่าพิธีเข้าปฏิญาณตน ให้เป็นหน้าที่ของกองลูกเสือต่างกองต่างจัดทำและให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้                ๑.  จัดลูกเสือเก่า (คือลูกเสือที่ได้ปฏิญาณตนแล้ว) อย่างน้อย ๖ คน เป็นผู้แทนคณะลูกเสือแห่งชาติเข้าแถวหน้ากระดาน และลูกเสือใหม่ (คือลูกเสือที่จะปฏิญาณตน) เข้าแถวหน้ากระดานเหมือนกันอยู่หลังลูกเสือเก่า (ลูกเสือเก่าและลูกเสือใหม่มีพลอง)                ๒.  ผู้กำกับยืนอยู่หน้าแถว มีรองผู้กำกับยืนอยู่ด้านขวามือของผู้กำกับเพื่อรับฝากพลองกับหมวกของลูกเสือใหม่                ๓.  ผู้กำกับเรียกลูกเสือใหม่ (สมมติว่าลูกเสือใหม่ชื่อนายแดง รักไทย) ว่า  นายแดง รักไทย มาแล้วหรือยัง  (ถ้านายแดง รักไทย เคยเป็นลูกเสือสำรองมาก่อนก็ให้เรียกว่า ลูกเสือแดง รักไทย )  นายหมู่ที่อยู่หัวแถวลูกเสือผู้นั้นก้าวออกมาข้างหน้า ๑ ก้าว ทำวันทยาวุธพร้อมกับขานว่า  มาแล้ว  และให้นายหมู่เรียกชื่อซ้ำอีกว่า  นายแดง รักไทย  นายแดง รักไทย ขานรับว่า  อยู่  แล้ววิ่งออกมามอบพลองกับหมวกไว้ที่รองผู้กำกับ (เวลาที่วิ่งให้วิ่งไปด้านซ้ายของแถว) แล้วไปยืนหน้าผู้กำกับเป็นแถวหน้ากระดานทีละคนจนหมดหมู่ (ครั้งหนึ่งๆ ไม่ควรเกิน 8 คน) เมื่อหมดคนในหมู่แล้วให้นายหมู่วิ่งไปอยู่หัวแถว                ๔.  ผู้กำกับเริ่มทำการสอบถาม ดังนี้                ผู้กำกับ                   เจ้าเข้าใจหรือไม่ว่า คำมั่นสัญญาของเจ้าคืออะไร                ลูกเสือใหม่           ข้าเข้าใจว่าคือข้าสัญญาว่าจะทำอย่างไรแล้ว ต้องทำเหมือนปากพูดทุกอย่าง                ผู้กำกับ                   ถ้าเช่นนั้นจะให้เชื่อได้หรือไม่ว่า                                                ข้อ ๑  เจ้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์                                                ข้อ ๒  เจ้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ                                                ข้อ ๓  เจ้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ                ลูกเสือใหม่แสดงรหัส                                                ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า                                                ข้อ ๑  ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์                                                ข้อ ๒  ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ                                                ข้อ ๓  ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ                (ขณะที่ลูกเสือใหม่กล่าวคำปฏิญาณ ลูกเสือเก่าและลูกเสือใหม่ที่ได้ปฏิญาณตนแล้ว ให้ยกพลองมาวางไว้ระหว่างกึ่งกลางเท้าทั้งสองพลองส่วนบนพิงแขนซ้ายซึ่งงอเป็นมุมฉากรอรับอยู่แล้ว แสดงรหัส ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและลูกเสือที่อยู่บริเวณนั้นแสดงรหัสด้วย)ผู้กำกับ                   เจ้าจงรักษาคำมั่นสัญญาของเจ้าไว้ให้มั่นต่อไป บัดนี้เจ้าได้เข้าเป็นลูกเสือสามัญและเป็นสมาชิกผู้หนึ่งของคณะพี่น้องลูกเสือแห่งโลกอันยิ่งใหญ่๕.  เมื่อสิ้นคำผู้กำกับในข้อ ๔  ให้รองผู้กำกับนำพลองและหมวกไปมอบให้ลูกเสือใหม่                ๖. เมื่อลูกเสือใหม่รับพลองและหมวกเรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่งว่า  ลูกเสือใหม่  กลับหลัง-หัน  ลูกเสือใหม่รวมทั้งนายหมู่ทำกลับหลังหัน แล้วนายหมู่สั่งต่อ  ลูกเสือใหม่ทำความเคารพลูกเสือเก่า  วันทยา-วุธ  ทั้งลูกเสือเก่าแลลูกเสือใหม่ทำวันทยาวุธพร้อมกัน  นายหมู่สั่ง  เรียบ-อาวุธ  เมื่อทุกคนเรียบอาวุธแล้ว                ๗. ผู้กำกับสั่งว่า  ลูกเสือใหม่ เข้าประจำหมู่-วิ่ง  ให้นายหมู่ลูกเสือใหม่วิ่งเข้าประจำที่ (ที่เดิม)                ๘. เมื่อทุกคนได้ทำพิธีปฏิญาณตนแล้ว ผู้กำกับจัดให้แถวหันหน้าไปทางจังหวัดพระนคร ถ้าอยู่ในกรุงเทพมหานครให้หันหน้าไปทางพระบรมมหาราชวัง ผู้กำกับวิ่งไปอยู่หน้าแถวแล้วสั่งว่า  ลูกเสือ ถวายความเคารพแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  วันทยา-วุธ  ลูกเสือทุกคนทำวันทยาวุธ ผู้กำกับกล่าวนำ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเจริญ  ให้ลูกเสือทุกคนในที่นั้นรับ  ไชโย  พร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วจึงสั่ง  เรียบ-อาวุธ  แล้วสั่งแถวลูกเสือกลับที่เดิม แล้วจึงสั่งเลิกแถวหมายเหตุ  ไม้พลองให้มีลักษณะกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ซม. ยาว ๑๕๐ ซม. ใต้หัวพลองลงมา ๒๐ ซม. ให้เจาะรูร้อยเชือกสำหรับรวมกระโจมได้ ใต้รูเจาะร้อยเชือกลงมาอีก ๕ ซม. ให้ขีดหมายเครื่องวัดตามมาตราเมตริกให้อ่านได้ทุกเซนติเมตรจนถึง ๗๕ เซนติเมตร 
หมายเลขบันทึก: 48176เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่เผยแพร่สิ่งดี ๆ แบ่งปันความรู้ ไม่ค่อยทราบเรื่องทางลูกเสือเท่าไรเลยค่ะ

เพิ่งทราบอย่างชัดเจนถึงวิธีการเข้าประจำหมู่ลูกเสือวันนี้เอง ถ้าอีกหน่อยจำเป็นต้องทำจะได้ทำได้บ้างค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

เข้ามาหาความรู้...เยี่ยมครับ...ขอบคุณครับ

ทำไมไม้ง่ามความสูงตามตัวผู้ถือ

ส่วนไม้พลองถึงจำกัดความสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท