ภาวะสมองเสื่อม(Dementia)


สมองเสื่อม’ เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เกิดจากความเสื่อมของการรับรู้เกี่ยวกับความจำ ความใส่ใจ ภาษา และการแก้ปัญหา พบมากในผู้สูงอายุ

Dementia

Dementia หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า‘สมองเสื่อม’ เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เกิดจากความเสื่อมของการรับรู้เกี่ยวกับความจำ ความใส่ใจ ภาษา และการแก้ปัญหา พบมากในผู้สูงอายุ ทำให้มีอาการหลงลืม ใช้ภาษาผิดปกติ มีพฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนไปทำให้มีผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต

สาเหตุ

ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งที่รักษาได้(pseudo-dementia)และรักษาไม่ได้ สาเหตุเช่น จากAlzheimer’s disease, Huntington's disease/Chorea, Parkinson's disease, Pick's disease, Creutzfeldt-Jakob disease, Cerebrovascular disease, multi-infarct disease, Brain tumors, Normal pressure hydrocephalus ฯลฯ หรือจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์(Hypothyroidism) หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส(Syphilis), เอดส์(AIDS)(ทำให้เป็นAIDS dementia complex) จากการใช้ยาเป็นเวลานาน (Chronic drug use), จากอาการซึมเศร้า(Depression)หรือความเครียด(Stress), หรือจาการได้รับการกระทบกระเทือนที่สมอง เป็นต้น

โดย Alzheimer’s diseaseเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด (พบได้ประมาณ 50 -70 % ของผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมทั้งหมด)

อาการเริ่มแรก มักเป็นการลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆไม่นาน ในขณะที่ความจ าเรื่องเก่าๆในอดีตจะยังดีอยู่ อาจถามหรือพูดซ้าในเรื่องที่เพิ่งเอ่ยไป, มีอาการวางของแล้วลืม, ทำอะไรที่เคยทำประจำไม่ได้, นึกคำพูดไม่ค่อยออกหรือใช้คำผิดๆแทน (paraphasia), เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว (อารมณ์และพฤติกรรมแปรปรวน บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม), การตัดสินใจแย่ลง, ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มใหม่ๆได้

อาการในระยะท้ายๆ จะมีอาการไม่รับรู้วันเวลา สถานที่ และบุคคล(เพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและความทรงจำระยะยาว) อาการต่างๆจะค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดปัญหาต่อกิจวัตรประจำวัน (ADLs) การทำงาน (Work) การพักผ่อนนอนหลับ (Rest)

การจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้าขึ้นกับระดับความสามารถเดิม การศึกษาและหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกตและเอาใจใส่ของคนรอบข้างด้วย

การพยากรณ์โรคในแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏ อาการชัดเจน

การรักษา

- รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าเกิดจากเนื้องอกหรือโพรงน้าในสมองขยายตัวอาจต้องผ่าตัดสมอง ถ้าเกิดจากขาดฮอร์โมนต้องรับประทานยาทดแทน เป็นต้น

- รักษาเรื่องความจ าเสื่อมด้วยยากลุ่มcholinesterase inhibitorsและวิตามินอี สามารถชะลออาการโรค/การเปลี่ยนแปลงของโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ที่มีอาการในระยะแรกๆ

- รักษาปัญหาพฤติกรรมจากโรค ผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์มักมีปัญหาด้านนี้ เช่น เอะอะวุ่นวาย เห็นภาพหลอน ไม่ร่วมมือในการดูแล ฯลฯ จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแล ในบางรายที่ไม่ได้ผลอาจต้องลดอาการด้วยยา

การป้องกันหรือการปฏิบัติตัวเพื่อให้สมองมีความจำที่ดี

       - หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง : การดื่มเหล้าจัด การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น

       - การฝึกฝนสมอง : ฝึกให้คิดบ่อยๆ พยายามมีสติจดจ่อในสิ่งต่างๆที่กำลังทำฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา

       -  ออกกำลังกายสม่าเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง และตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้ามีโรคประจำตัวต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ

       - พูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ : ไปวัด, ไปงานเลี้ยงต่างๆ, เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ

       ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง : หกล้ม รถชน ตกจากที่สูง ฯลฯ

       พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆทำ เพราะความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดี

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

  • ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย
  • วางแผนการรักษา โดยพิจารณาจากทั้งบุคคล(Intrinsic factors) และบริบทแวดล้อม(Extrinsic factors) ที่ต้องปรับให้เหมาะสมต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การทำงาน การเล่น การพักผ่อน รวมถึงการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมทางสังคม
  • การกำหนดตั้งเป้าหมายในการรักษา โดยให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง และมีความสุขกับการทำกิจกรรม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด โดยจัดกิจกรรมตามความต้องการของผู้ป่วย และจัดกิจกรรมตามขั้นตอนมีลำดับความยาก- ง่ายของกิจกรรม
  • ติดตามผลการรักษา และทำการประเมินซ้ำ

 กรอบอ้างอิง PEOP ในผู้ป่วยสมองเสื่อม

     วิเคราะห์กรอบอ้างอิง

  • P (Person) =  ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม จะสูญเสียการทำงานของระบบประสาท ซึ่งมีผลต่อกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย และความสามารถเกี่ยวกับการรับรู้ ความเข้าใจก็จะลดลง
  • E (Environment) = การจัดสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัยควรจัดให้เป็นระเบียบ และ อาจจะใช้สื่อรูปภาพ หรือสัญลักษณ์คอยเตือนให้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความจำ ก็จะเป็นการเอื้อต่อการฟื้นฟู และ ครอบครัวยังเป็นส่วนที่สำคัญในการกระตุ้น และให้กำลังใจเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยในการดำเนินชีวิต
  • O (Occupation) = ภาวะสมองเสื่อม ส่งผลต่อลำดับความคิด และขั้นตอนในการทำกิจกรรม ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดควรฝึกให้ผู้ป่วยได้ทำกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ก่อน โดยฝึกทีละขั้นตอน ทำซ้ำๆ จนเกิดความเคยชิน และอาจมีกิจกรรมที่ชอบเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย
  • P (Performance) = ความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยโรคนี้จะลดลง ต้องอาศัยกิจกรรมที่ผู้ป่วยมีความสนใจ และแรงจูงใจจะได้เอื้อต่อการทำกิจกรรมมากขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรม
หมายเลขบันทึก: 481683เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท