ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)


ผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาดำเนินชีวิตได้อย่างยากลำบาก โดยส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และความรู้ความเข้าใจ

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาส่งผลต่อการพัฒนาทั้งทางด้าน
• physical development
• cognitive development
• emotional development
• social development
• spiritual development
ทำให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาดำเนินชีวิตได้อย่างยากลำบาก แต่หลายคนคงสงสัยว่าภาวะบกพร่องทางสติปัญญาคืออะไร เราไปทำความรู้จักกันเลยคะ 

 

ความหมาย
บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาต้องมีภาวะดังต่อไปนี้

1.ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย   
2.พฤติกรรมการปรับตนบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 10 ด้าน ดังนี้
• Communication
• Self-care
• Home living
• Social and Interpersonal Skills
• Use of Community Resources
• Self- direction
• Functional Academic Skills
• Leisure
• Work 
• Health and Safety
3.อาการแสดงก่อนอายุ 18 ปี

 

สาเหตุของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1. ปัจจัยทางพันธุกรรม: กลุ่มอาการดาวน์
2. ความผิดปกติในระหว่างการพัฒนาของทารกในครรภ์ 
3. ปัญหาต่างๆในระยะตั้งครรภ์และคลอด
4. ปัญหาต่างๆในระยะหลังคลอด 
5. ปัจจัยต่างๆจากสิ่งแวดล้อมและความผิดปกติทางจิต

 

ประเภทของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
แบ่งตามระดับความรุนแรง 4 ระดับ
ระดับความรุนแรงน้อย         ระดับ IQ 55-69
ระดับความรุนแรงปานกลาง  ระดับ IQ 40-54
ระดับความรุนแรงมาก         ระดับ IQ 25-39
ระดับความรุนแรงมากที่สุด   ระดับ IQ <25

 

อาการแทรกซ้อน
• ความพิการซ้ำซ้อน: ความพิการร่างกาย แขนขา ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้
• ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Challenging behavior)
• พฤติกรรมแบบออทิสติก(Autistic-like behavior)
• โรคลมชัก

 

Occupational Performance Profile (OPP)

ในทางกิจกรรมบำบัดจะแบ่งขอบเขตของการทำกิจกรรม ออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1.Performance areas
A.  Activity of daily living
-  ช่วยเหลือตนเองได้บ้างแต่ต้องอาศัยการฝึกอย่างมาก 
-  มีความจำกัดในการดูแลตนเอง 
-  ต้องการการดูแลตลอดเวลา ตลอดชีวิต แม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม
-  พฤติกรรมการกินจุผิดปกติ (Feeding and eating) 
-  มีทักษะการป้องกันตนเองน้อย (Emergency response )
-  สามารถเรียนรู้การเดินทางตามลำพังได้ในสถานที่ที่คุ้นเคย (Community mobility)
-  ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ----> การเข้าสังคม (Sosialization)

B. Work and Productive activity
-  ทำงานง่ายๆได้
-  ล่าช้าในด้านการใช้ภาษา
-  บกพร่องในทักษะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับมิติสัมพันธ์ (visuo-spatial processing skills)  
-  สามารถเรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 
-  เรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือสูงกว่า
-  เมื่อเป็นผู้ใหญ่สามารถทำงาน แต่งงาน ดูแลครอบครัวได้ (แต่เมื่อพบปัญหาอาจจะต้องให้คนอื่นช่วยแก้)

C.  Play or Leisure
-  กิจกรรมยามว่างส่วนใหญ่จะเป็นการพักผ่อน
-  เล่นเพียงลำพัง
-  เปลี่ยนกิจกรรมบ่อยครั้ง 

2.Performance component
-  พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (motor development) ช้ากว่าวัย
-  มีความพิการทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ด้วยทำให้มีการเกร็งของแขน ขา ลำตัว
-  การทำงานของตาและมือให้ประสานกัน (eye-hand co-ordination)
-  ซน สมาธิสั้น
-  แยกตัวจากกลุ่ม มีโลกของตัวเอง เหม่อลอย 

3.Performance context
-  สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรม
-  การวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุดและการฟื้นฟูสมรรถภาพทันทีที่วินิจฉัยได้
-  ครอบครัว คนใกล้ชิด คนดูแล
-  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม
-  ข้อจำกัดทางด้านเวลา

 

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
•  การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
•  ฝึกการทำงานของตาและมือให้ประสานกัน (eye-hand co-ordination)
•  กระบวนการฝึกเกี่ยวกับปัญหาการพูดและการสื่อความหมาย
•  ฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
•  สนับสนุนให้ได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมร่วมกับบุคคลปกติ

หมายเลขบันทึก: 481680เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท