คุณภาพชีวิตกับชุมชนแออัด


ชุมชนแออัด สาเหตุการเกิดชุมชนแออัด ลักษณะของชุมชนแออัด นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทกับผู้ที่อยู่ในชุมชนแออัดอย่างไร

คุณภาพชีวิตกับชุมชนแออัด

ชุมชนแออัด ตามความหมายของกระทรวงมหาดไทย

“สภาพ เคหะสถานหรือบริเวณที่พักอาศัย ที่ประกอบด้วยอาคารเก่าแก่ชํารุดทรุดโทรม มีบริเวณที่สกปรกรกรุงรัง ประชาชนอยู่กันอย่างแออัดผิดสุขลักษณะ ต่ำกว่ามาตรฐานสมควร จนไม่อาจอยู่แบบครอบครัวตามปกติวิสัยมนุษย์ ทําให้ไม่ปลอดภัยในด้านสุขวิทยาและอนามัย”

ณัฐชัย  ตันติสุข.2523: 30. สภาพปัจจัยและปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม . รายงานการสัมมนาผู้แทน  

สาเหตุการเกิดชุมชนแออัด

  • การอพยพโยกย้ายเข้าสู่ตัวเมือง
  • การขาดแคลนที่อยู่อาศัย

ลักษณะของชุมชนแออัด

  • มีบ้านเรือนปลูกหนาแน่น
  • มีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัดยัดเยียด
  • บริเวณที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ
  • อาคารบ้านเรือนชำรุดทรุดโทรม
  • ผู้อยู่อาศัยประกอบอาชีพที่หลากหลาย

ปัญหาในชุมชนแออัด

  1. ปัญหาสุขภาพอนามัย
  2. ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย
  3. ปัญหาอาชญากรรม
  4. ปัญหาด้านศีลธรรม

ลักษณะของคนในชุมชนแออัด

 อาชีพและรายได้ => อาชีพไม่มั่นคงรายได้น้อย

 - สภาพการอยู่อาศัย => ไม่ถูกสุขลักษณะแออัดไม่มั่นคง

 - บริการทางสังคม => ขาดโอกาสในการรับบริการต่างๆทางสังคม

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

  • จัดสิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  • ส่งเสริมการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน โดยการทำกิจกรรมเพื่อสร้างประโยชน์ให้ชุมชน และตนเอง
  • ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความหมาย มีเป้าหมาย และมีความสุข ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี

 

หมายเลขบันทึก: 481671เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท