โรคเอดส์ (AIDS)


AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) คือโรคกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดจากเชื้อไวรัส HIV แล้วเอดส์กับเราอยู่ร่วมกันได้ไหม มีการป้องกันและรักษายังไง นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทกับโรคนี้อย่างไร

โรคเอดส์ (AIDS)

AIDSคืออะไร

AIDS (Acquired  Immune  Deficiency  Syndrome) คือโรคกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง  เกิดจากเชื้อไวรัส HIV  เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเม็ดเลือดขาว  ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อมลง  เป็นผลทำให้เป็นโรคติดเชื้อต่างๆ(มักเรียกว่าโรคติดเชื้อฉวยโอกาส)  หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ  อาการมักรุนแรง  เรื้อรัง  และเสียชีวิตในที่สุด

เชื้อ HIV เป็นไวรัสในกลุ่มที่ขึ้นชื่อในด้านการมีระยะแฝง การทำให้มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือดนาน การติดเชื้อในระบบประสาท  การทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลง

สาเหตุ

  1. การมีเพศสัมพันธ์
  2. การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด
  3. การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน
  4. จากมารดาสู่ทารก

อาการ

WHO(องค์การอนามัยโลก) ได้แบ่งระยะของโรคAIDSได้ออกเป็น4 ระยะ คือ

  • ระดับที่1 เป็น  ระยะติดเชื้อHIV  ไม่มีอาการ  ไม่จัดเป็นโรคเอดส์ แตมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • ระดับที่2 มีอาการน้อย น้ำหนักลดลง 10% มีการติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำๆ อาจเป็น งูสวัด  ปากนกกระจอก  แผลในปากเป็นซ้ำ ผื่นที่ผิวหนัง  เชื้อราที่เล็บ 
  • ระดับที่3 มีอาการโรคเอดส์ น้ำหนักลดลง > 10%  เป็นวัณโรคปอด ท้องร่วง/ ไข้เรื้อรังนานกว่า 1 เดือน เป็นเชื้อราหรือมะเร็งในช่องปาก ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรง
  • ระดับที่4  มีอาการรุนแรง   ปอดบวมรุนแรงซ้ำมะเร็งต่อมน้ำเหลือง / ปากมดลูก ติดเชื้อในหลอดอาหาร หลอดลมหรือปอด

การรักษา

  • ยาต้านหรือยับยั้งไวรัส
  •   รักษาและป้องกันอาการโรคแทรกซ้อน

การป้องกัน

  1. ตรวจเลือด  หลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยง  (ควรจะหลังจาก6สัปดาห์ขึ้นไป)
  2. มีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
  3. ระมัดระวังเรื่องการใช้เข็มร่วมกัน  เช่น  หลีกเลี่ยงการสัก เจาะร่างกาย
  4. ก่อนแต่งงาน  มีลูก  ควรตรวจเลือดทุกครั้ง

เอดส์กับเราอยู่ร่วมกันได้ไหม

คนที่ติดเชื้อ HIV  สามารถอยู่ร่วมกับสังคมและครอบครัวได้  สามารถทำงานได้เหมือนคนทั่วไป  เพราะเชื้อ HIV  ไม่ได้ติดต่อกันโดยการสัมผัส  การกอดจูบ  การรับประทานอาหาร(แต่ถ้ามีแผลภายในช่องปาก  หรือทางเข้าของเชื้อไวรัส  ก็อาจไม่ปลอดภัย100%)  ไม่ต้องแยกห้องนอน  ห้องน้ำ  อุปกรณ์ของใช้ต่างๆหรือห้องทำงาน

การบำบัดรักษาด้วยกำลังใจ

กลุ่มบำบัด

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและทัศนคติ
  3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเป็นกำลังใจให้แก่กัน

กระบวนการ

  •   ตรวจร่างกาย
  •   จิตบำบัด

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

-ประเมิน ความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ

-วางแผนการรักษา โดยใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด (PEOP)

-ให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

  • จัดกิจกรรมที่ให้ความบันเทิง โดยสอบถามความต้องการของผู้รับบริการก่อน
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
  • ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความหมาย มีเป้าหมาย และมีความสุข ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี

-ทำการประเมินซ้ำ

หมายเลขบันทึก: 481656เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท