โรคเกาต์(Gout)


โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เมื่อเป็นโรคเกาต์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทอย่างไร

 

โรคเกาต์

โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ผิดปกติทางพันธุกรรม พบในชายอายุ 30 ขึ้นไป พบในหญิงเล็กน้อยหรือหลังหมดประจำเดือน รายที่เรื้อรังการเกาะของเกลือ monosodium urate จะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi นอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วย สามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

สาเหตุ

-เกิดจากร่างกายมีกรดยูริก (uric acid) สะสมมากเกินไป การตกตะกอนของ กรดยูริก

-ความผิดปกติทางพันธุกรรม

อาการ

มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง ร้อนและแดงและจะพบลักษณะจำเพาะ คือ ขณะที่อาการเริ่มทุเลาผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคัน

การแยกโรค
อาการข้ออักเสบ มีอาการปวด บวม แดง ร้อนเพียง 1-2 ข้อ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น

-เกาต์เทียม (pseudo gout)

-ไข้รูมาติก (rheumatic fever)                              

 -โรคติดเชื้อที่ข้อ (pyogenic arthritis)

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องทันกาล

โรคที่มักพบร่วมกับเกาต์
-ข้อพิการ  กระดูกพรุน

-ภาวะไตอักเสบเรื้อรัง และภาวะไตวาย

-เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

-เบาหวาน

-ความดันโลหิตสูง

-หลอดเลือดแดงแข็ง

-ไขมันในเลือดสูง

การรักษา

แนวทางการรักษาโรคเกาต์ ได้แก่ ให้ยาลดการอักเสบ ให้ยาลดกรดยูริคในเลือด ทั้งนี้การให้ยาต่างๆขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ การจำกัดอาหารมี กรดยูริค(สารพิวรีน) สูง และให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ เป็นต้น และปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ แต่ถ้าปล่อยเป็นเรื้อรัง จนเกิดไตวาย อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากไตวาย

เมื่อเป็นโรคเกาต์ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?

1.ที่ สำคัญที่สุด คือ การรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
2.
หยุด พักการใช้ข้อระยะที่มีการอักเสบ
3.
รับ ประทานอาหารโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ
4.
ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตรต่อวัน
5.
หลีกเลี่ยงอากาศเย็น
6.
ลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่อ้วน
7.
เมื่อมีอาการหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
8.
ดำเนินชีวิตอย่าให้เคร่งเครียดมากนัก

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

1. ประเมิน  โดยประเมินข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวัน คุณภาพชีวิต และความสามารถในชีวิต

2. วางแผนการรักษา โดยใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด (Domain & Process, ICF)

3. ให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

            - ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หรือเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

-มีการจัดกิจกรรม เช่น การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเพื่อป้องกันข้อติด

-ดูความต้องการของผู้รับบริการเพื่อประยุกต์กิจกรรมให้สอดคล้องกัน ส่งผลให้ผุ้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข

4. ประเมินซ้ำ

 

หมายเลขบันทึก: 481653เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 03:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท