ฟันสวยยิ้มใส


AAR การส่งเสริมสุขภาพในเด็กวัยก่อนเรียน

การสร้างเสริมสุขภาในกลุ่มเด็กวัยก่อนเรียน ถือ ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะ จะทำให้เด็ก มีรากฐานของผู้มีสุขภาวะตั้งแต่เล็ก ๆ จากการลงพื้นที่ร่วมกีบนักศึกษา พบปัญหา เด็กฟันผุ จึงนำมาสู่การจัดกิจกรรม ฟันสวยยิ้มใส  ซึ่ง เน้นให้ เด็กมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี เสริมแรงให้ด็กมีการแปรงฟันอย่างต่อเนื่องโดยเฉาะการแปรงฟันก่อนนอนและที่สำคัญที่สุดคือ การกระตุ้นให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็ก ภายหลังการจัดกิจกกรรมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ได้มีการถอดบทเรียน พบข้อคิดดี ๆ จากกิจกรรมดังกล่าวในหลายเรื่อง

การคิด ต้องคิดในเชิงบวก ก่อน เช่น อย่า ไปคิดว่า งาน มันยาก ไป  ต้องคิดว่า เราสามารถทำได้ว่า ครูในโรงเรียนจะมองว่า การดึงผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

การทำงาน ต้องเริ่ม คิด วางแผน การจัดสรรงานให้เป็นระบบ แบ่งคนให้ เหมาะกับงาน เพื่อให้ คนมีความสุขในการทำงาน และทำงาน ออกมาได้เป็นอย่างดี   

มีการทำงานเป็นทีม อาศัยความร่วมมือ ความสามัคคีของคนในกลุ่ม ทำงาน สำเร็จไปได้

  1. การเป็นหัวหน้าทีมได้เรียนรู้ เรื่องการวางแผน แบ่งหน้าที่ เพราะถ้า ทำด้วยกันทั้งหมด งานจะไม่เดิน
  2. สมาชิกเรียนรู้ เรื่องการเป็นผู้ตามที่ดี  ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เพราะว่า ถ้า งานของเราดี ส่วนรวม ก็ จะดีไปด้วย

หลังจากวางแผน ต้องเริ่ม ดำเนินการทำงาน อย่างเป็นระบบ บางครั้งอาจไม่ได้ทำงาน ตาม แผน แบบไม่มีการเปลี่ยนแปลง แผนอาจมีการเปลี่ยนได้ ต้องปรับให้ เป็นไปตามสภาพจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

ต้องประเมินผู้รับบริการเพื่อจัดได้ให้บริการได้ตรงกับความต้องการ นำมาสู่การจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม โดยการประเมินจากครูผู้สอนและเด็กๆ

ต้องมีการเตรียมความพร้อมของงานที่จะทำ ทั้งเรื่อง อุปกรณ์ การแบ่งหน้าที่ของคน คนที่ได้รับหน้าที่ต้องทำตนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ

ต้องให้ มีการมีส่วนร่วม ของผู้ปกครอง และ เด็ก ๆ เพื่อให้ เขาได้รับรู้ว่า กิจกรรม ที่ทำ เป็นอย่างไร มีผลดีต่อเขาอย่างไร เช่นการทำการ์ด เพื่อให้ ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ต้อง ออกมาให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

การกระตุ้น ให้มีส่วนร่วม ที่เหมาะสมกับกลุ่ม เช่น เด็กชอบนิทาน เพลง เราก็ ใช้สิ่งนี้ เป็นตัวกระตุ้น ให้ เขาอยากเข้าร่วมมากขึ้น

มีการติดตาม เพราะว่า กิจกรรมได้ทำไปแล้ว เช่น ใบที่ให้ ผู้ปกครองแสดง ความคิดเห็น ทำให้ เราได้ทราบว่า เด็ก มีส่วนร่วม หรือ ตื่น ตัวอย่างไร ในขณะที่อยู่ที่บ้าน ว่า มีการเปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไร

          สะท้อน คิด จาก จุดนี้ คือ การ์ด ทำหน้าที่สอง อย่าง คือ ทำหน้าที่ติดตาม งานและทำหน้าที่ดึง ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอความคิดเห็น ทำให้ได้ความคิดในหลายรูปแบบ เช่น การสอบถาม เรื่องตารางเวลาของเด็ก ทำให้ ทราบว่า ควรจัดกิจกรรม ในเวลาใด จึงจะเหมาะสม

การบริหารเวลา ต้องทำ ให้ เหมาะสม ทัน กับที่เด็กว่า หรือ ก่อนที่เด็ก กลับบ้าน ถ้า เราไปไม่ทัน หรือ ไม่ไปตามเวลาที่เหมาะสม ก็ จะทำให้ ให้ ไม่สามารถทำกิจกรรม ได้ เช่น การไป ตอนที่เด็ก รับประทานอาหารแล้ว ทำ ให้ ไม่สามารถตรวจฟันได้ หรือ ไปตอนเด็ก กลับบ้านแล้ว ก็ ไม่สามารถพบผู้ปกครองของเด็กได้เป็นต้น

มีการทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา เช่น พัฒนาการเด็ก การเลือกของเล่น ที่เหมาะสม เพื่อนไปสู่การออกแบบกิจกรรมหรือการทำงาน ได้ อย่างเหมาะสม ถูกต้อง

มีการสรุปผลกิจกรรม ทั้งหมด ผลเป็นอย่างไร บรรลุหมดหรือ ไม่ ส่งผลให้ รู้ว่า กระบวนการคิดที่เราคิดเป็นไปตาม เป้าหมายไหม ความรู้ได้นำไปใช้หรือ เปล่า เป็นการประเมินพฤติกรรม น้องไปด้วย

การสานต่อ หรือ ทำต่อสามารถทำได้ เพราะว่า แต่ละปีก็จะมีเด็กใหม่ เข้ามาอีก

หมายเลขบันทึก: 481399เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2012 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท