หมออนามัย การแต่งงานแบบไทย


 การแต่งงานแบบไทย

หมออนามัย นายอานนท์ ภาคมาลี

การแต่งงานแบบไทย เป็นประเพณีที่สำคัญสำหรับวิถีชีวิตไทย เพราะเป็นการบ่งบอกว่าผู้ที่แต่งงานนั้นมีความเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีความรับผิดชอบมากขึ้น และพร้อมที่จะเป็นครอบครัว รับผิดชอบชีวิตอีกหลายคนเพิ่มขึ้นนอกจากชีวิตของตนเอง และยังได้ทำหน้าที่แสดงความสามารถ ตามบทบาทของตนเองในฐานะหัวหน้าของครอบครัว มีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายยอมรับและสังคมต้องรับรู้ด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ประเพณีการแต่งงานจึงจำเป็นต้องจัดให้

พิธีกรรมตามขั้นตอนของประเพณีไทย เริ่มตั้งแต่

  • การทาบทาม สู่ขอ
  • การหมั้น และแต่งงาน

การทาบทามสู่ขอ

         ในพิธีแต่งงานตามธรรมเนียมไทยนั้น การสู่ขอ เปรียบเสมือนด่านแรกของการเริ่มต้นชีวิตคู่ระหว่างคนสองคน โดยฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่หรือที่เรียกกันว่า เถ้าแก่ หรือ เฒ่าแก่ มาทำการทาบทามสู่ขอว่าที่เจ้าสาวจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิง ซึ่งการสู่ขอในสมัยโบราณนั้นถึงกับต้องมีการเลียบเคียงด้วยวาจาอันไพเราะ ถ้าหากว่าการเจรจาผ่านไปได้ด้วยดี ฝ่ายหญิงไม่ขัดข้อง ก็จะมีการตกลงกันเรื่องสินสอดทองหมั้น และการหาฤกษ์หายามสำหรับจัดพิธีมงคลแต่งงานต่อไป

         จากประเพณีการแต่งงานที่จัดทำเป็นพิธีการขั้นตอนต่าง ๆ นั้น จึงนับว่ามีความสำคัญมาก และเป็นประเพณีที่งดงามเหมาะสม แสดงถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมด้านจิตใจ และวัฒนธรรมทางด้านวัตถุของบรรพบุรุษของไทยเราที่มองการณ์ไกล และมีความละเอียดอ่อน โดยธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิตแล้วย่อมมีความต้องการทางเพศสัมพันธ์ และต้องการสืบสกุลต่อไปด้วย จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างคนกับสัตว์ และขณะเดียวกันกฎหมายและประเพณีไทยเราจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์ของบุคคลที่จะทำการแต่งงานได้ จะต้องมีเงื่อนไขอีกหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

         1. การแต่งงานจะกระทำได้ ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ แต่ในกรณีที่มีเหตุสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการแต่งงานก่อนนั้นได้ (ป.พ.พ.ม. 1448)

         2. การแต่งงานจะกระทำมิได้ ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (ม.1449)

         3. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะแต่งงานกันไม่ได้ โดยให้ถือความเป็นญาติตามสายโลหิต ไม่คำนึงว่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

         4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะแต่งกันกันไม่ได้ (ม. 1451)

         5. ชายหรือหญิงจะทำการแต่งงานในขณะที่ตนมีคู่แต่งงานอยู่ไม่ได้ (ม. 1452)

         6.หญิงที่สามีตายหรือที่การแต่งงานสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการแต่งงานใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการแต่งงานได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน หรือคลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือแต่งงานกับคู่คนเดิม หรือได้มีใบรับรองของแพทย์ประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรระบุไว้ว่าไม่มีครรภ์ตลอดจนมีคำสั่งของศาลให้ทำการแต่งงานได้

         7. เงื่อนไขเกี่ยวกับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง (ตาม ม. 1436) มาตรา 1455 การให้ความยินยอมให้ทำการแต่งงานกระทำได้ แต่จะต้องมีการลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส และผู้ปกครองจะต้องทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม โดยระบุชื่อผู้แต่งงานและผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอมด้วย สุดท้ายถ้าหากมีเหตุที่จำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนก็ได้ ความยินยอมนั้นเมื่อเซ็นให้แล้วถอนไม่ได้

         8. การแต่งงานตามประมวลกฎหมายนี้ จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนแต่งงานแล้วเท่านั้น ธรรมเนียมไทยนั้น “การสู่ขอ” เปรียบเสมือนด่านแรกของการเริ่มต้นชีวิตคู่ระหว่างคนสองคน โดยฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่หรือที่เรียกกันว่า “เถ้าแก่” หรือ “เฒ่าแก่” มาทำการทาบทามสู่ขอ

การหาฤกษ์ยาม

         หลังจากผ่านธรรมเนียมขั้นตอน การสู่ขอ โดย เถ้าแก่ แล้ว หนุ่มสาวที่รักใคร่ชอบพอกันและตัดสินใจเข้าสู่พิธีแต่งงานกัน แต่ก่อนจะเข้าสู่พิธีแต่งงานจำเป็นจะต้องหาฤกษ์ยามเพื่อเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว ดังนั้นญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายจะต้องเอา วัน เดือน ปี ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางดวงชะตา หรือไปให้โหรดูว่าจะเหมาะสมกันหรือไม่ อยู่ด้วยกันแล้วจะเจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมโทรม เมื่อเห็นว่าเป็นคู่ที่ไปกันได้หรือมีความเหมาะสมกันก็จะหาฤกษ์ที่จะให้คู่บ่าวสาว อยู่ด้วยกันอย่างเจริญรุ่งเรืองตลอดไป โดยหาฤกษ์วันเวลาที่ยกขันหมาก ฤกษ์หมั้น ฤกษ์รดน้ำสังข์ และส่งตัวคู่บ่าวสาวไว้เรียบร้อย เพื่อสะดวกในการดำเนินงานตามพิธีการ และเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว เพื่อให้ครองคู่กันตลอดชั่วชีวิต ถือไม้เท้ายอดทองตะบองยอดเพชร ส่วนมากมักจะแต่งกันในเดือนคู่ เพื่อจะได้อยู่คู่เคียงกันตลอดไปนั่นเอง ยกเว้นเดือน 12 จะไม่นิยมแต่งงานกันในเดือนนี้ เพราะเป็นเดือนที่สุนัขมันติดสัดกัน และถ้าเป็น ข้างขึ้น ถือว่าดีกว่า ข้างแรม เพื่อให้ชีวิตจะได้เจริญรุ่งเรืองสว่างไสว แต่บางทีก็จะแต่งงานกันในเดือน 9 ถือเคล็ดถึงความก้าวหน้า และเดือนที่นิยมแต่งงานกันมากที่สุดก็คือเดือน 6 เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน อาจเป็นเพราะบรรยากาศช่วยเป็นใจมากกว่าในฤดูอื่น และเป็นต้นฤดูทำการเพาะปลูกของคนไทย ซึ่งหนุ่มสาวจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่โดยการสร้างฐานะร่วมกัน

พิธีหมั้น

เมื่อได้ฤกษ์ยามวันมงคลแล้ว ต่อไปก็จะต้องเตรียมพิธีการหมั้นและพิธีมงคลแต่งงานกันต่อไป พิธีหมั้นนั้นเปรียบเหมือนการตีตราหรือการจับจองกันและกัน ก่อนที่จะจูงมือเข้าสู่พิธีวิวาห์ การหมั้นก็คล้ายธรรมเนียม อยู่ก่อนแต่ง ของฝรั่ง ซึ่งจุดประสงค์ก็อยู่ที่การเปิดโอกาสให้คนทั้งคู่ได้ศึกษาอุปนิสัยใจคอกันมากขึ้น รู้จักเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าหากันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นผลดีต่อชีวิตคู่ในอนาคต พิธีหมั้นอาจจัดควบคู่กับพิธีสู่ขอหรืออาจจัดในช่วงเช้าของวันแต่งงานเลยก็ได้ แต่พิธีหมั้นที่นิยมก็คือการหมั้นแล้วแต่งเลยในวันเดียวกัน เพราะถือเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการเตรียมงานคู่กันไป

การผิดสัญญาการหมั้น

หากฝ่ายชายผิดสัญญาไม่มาทำการแต่งงานตามวันเวลาที่กำหนด ทำให้ฝ่ายหญิงเป็นหม้ายขันหมาก ฝ่ายชายจะต้องถูกริบสินสอด ทองหมั้น จะเรียกร้องคืนไม่ได้ หากฝ่ายหญิงผิดสัญญา คือไม่ยอมแต่งงานกับฝ่ายชายด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องคืนสินสอดทองหมั้นทั้งหมดแก่ฝ่ายชาย ด้วยเหตุนี้เฒ่าแก่ อาจต้องจดบันทึกรายการของหมั้นเอาไว้เป็นหลักฐาน แต่มักไม่นิยมเพราะเหมือนกับว่าไม่ไว้ใจกัน การผิดสัญญาหมั้น

การเตรียมพิธีการหมั้น

        ในธรรมเนียมการหมั้นนั้น เท่ากับเป็นการวางมัดจำไว้ว่า หญิงที่ถูกหมั้นหมายแล้วจะไปชอบพอกับใครไม่ได้อีก หรือผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะยกให้ใครอีกไม่ได้เด็ดขาด การแต่งงานของลูกสาวมักถือเป็นงานออกหน้าออกตาใหญ่โต ฝ่ายหญิงจึงพยายามเรียกร้องของหมั้นที่มีราคาแพง โดยมักจะเรียกเป็น “ทองคำ” และเรียกเป็นน้ำหนัก เลยทำให้เป็นคำติดปากมาจนทุกวันนี้ ว่า “ทองหมั้น” ซึ่งตามประเพณีถือเป็นของที่เจ้าสาวจะนำไปเป็น เครื่องแต่งตัวในวันแต่งงานนั่นเอง   ส่วนสินสอดนั้น คือ เงินสินสอดและผ้าไหว้ที่ทางฝ่ายหญิงเป็นผู้กำหนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ แต่มักจะเรียกกันเป็นพิธีตามโบราณคือไม่เกิน 40 บาท เป็นค่าน้ำนม ถ้าเกินกว่านั้นจะถือเป็นการขายลูกสาว ทั้งสินสอดและทองหมั้นจะต้องใส่พานห่อไว้รวมกันเรียกว่า ขันหมากหมั้น อีกหนึ่งในความสนุกในขบวนขันหมากนั้นอยู่ที่ การกั้นประตูเงิน ประตูทองของทางฝ่ายหญิง ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นลูกหลานของฝ่ายหญิง โดยนำเอาเข็มขัดหรือสร้อยเงินมากั้นขบวนไว้ไม่ให้ผ่านเข้าไปได้ง่ายๆ เถ้าแก่ฝ่ายชายจะต้องควักห่อเงินที่เตรียมไว้ให้เป็นรางวัลก่อนจึงจะผ่านได้ โดยประตูท้ายๆ มักจะใช้ทองหรือเพชรกั้น ค่าผ่านทางจึงต้องเพิ่มสูงตามลำดับขั้นตอนตรงนี้อาจมีการหยอกล้อระหว่างญาติฝ่ายหญิงและขบวนของฝ่ายชาย สร้างความครึกครื้นเป็นยิ่งนัก

การเตรียมขันหมาก

        ขันหมากเป็นสิ่งจำเป็นในพิธีการแต่งงาน ซึ่งฝ่ายชายจะต้องเตรียมมาโดยจัดเป็นขบวนแห่มาบ้านฝ่ายหญิงในวันพิธีที่จัดงานในช่วงเช้า แล้วแต่ฤกษ์จะเป็นเวลาใด หรืออาจจะใช้ฤกษ์สะดวก ซึ่งปัจจุบันจะไม่เคร่งครัดนัก ขันหมากที่ฝ่ายชายจะเตรียมมาแห่ขันหมากนั้น ประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้

ขันหมากเอก
        จะจัดเป็นขันเดี่ยวหรือขันคู่แล้วแต่ประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่นส่วนใหญ่ จะมีขันใส่หมากพลู ขันใส่เงินทองหรือสินสอด และขันใส่สิ่งของอันเป็นมงคล เช่น ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบเงิน ใบทอง ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะดูความหมายที่เป็นมงคล และนิยมจัดเป็นคู่ จะทำให้ดูสวยงามและเป็นมงคล ขันหมากโท ได้แก่ พวกของที่ใช้เป็นอาหารและขนม รวมทั้งบริวารขันหมากอื่น ได้แก่ ต้นกล้วย ต้นอ้อย หมู ไก่ เหล้า มะพร้าว ขนมต้มขาว ขนมต้มแดงและยังมีขนมนานาชนิด เป็นจำนวน 10 คู่ขึ้นไป เช่น ขนมเปียก ขนมกวน กาละเม ข้าวเหนียวแดง ฯลฯ แต่ละถาดต้องมีกระดาษสีแดงแผ่นเล็ก ๆ วางปะหน้าไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลขณะที่แห่ขบวนขันหมาก จะมีการโห่ร้องไชโย ขบวนขันหมากต้องหยุดอยู่นอกรั้วบ้าน มีการกั้นประตูทางเข้าบ้าน เจ้าบ่าวต้องเตรียมซองค่าผ่านทาง มีการต่อรองราคาค่าผ่านประตู จะเรียกค่าผ่านทางเท่าไรก็แล้วแต่ตกลงกัน เมื่อขบวนขันหมากเข้าบ้าน จากนั้นต้องนำต้นกล้วยและต้นอ้อยไปปลูก พร้อมทั้งพูดเป็นเคล็ดว่า นำกล้วยอ้อยมาปลูกให้ และรดน้ำให้อย่างดี จะได้มีลูกดกมากมาย ในการนี้ ผู้ปลูกจะขอรางวัลจากเจ้าภาพ เช่น เหล้า เป็นต้นๆ แต่ประเพณีบางแห่งก็จะไม่เอาอาหารซึ่งอาจจะเป็นหมูสามชั้น และขนมที่ใช้ในงานแต่งงาน เพราะเอาความสะดวกจะไม่ค่อยเคร่งนัก แต่ที่ขาดไม่ได้คือเหล้า ต้นกล้วย และต้นอ้อย   ในวันแต่ง เจ้าบ่าว และเพื่อนพร้อมขบวนขันหมากจะไปถึงบ้านเจ้าสาว เมื่อไปถึงจะพบกับการกั้นประตูตามประเพณี โดยฝ่ายหญิงจะจัดญาติ ลูกหลาน หรือเพื่อนเจ้าสาว มากั้นเป็นด่านประตู 4 ด่าน มีประตูเงิน ประตูทองอย่างละคู่ หรือจะใช้เพียง 2 ประตูก็ได้ โดยใช้เข็มขัดเงินและสายสร้อยทองคำกั้น จะมีผู้กล่าวนำซักถามกันตามประเพณี จึงจะปล่อยเจ้าบ่าว และขบวนขันหมากให้ผ่านด่านประตูเข้าไป สุดท้ายก่อนจะเข้าไปในบ้านหรือขึ้นบันไดบ้านก็จะมีเด็ก 2 คนที่ฝ่ายหญิงจัดไว้ให้พรมน้ำที่เท้าเจ้าบ่าว แล้วเจ้าบ่าวจะต้องจ่ายเงินให้ด่านประตูทุกด่านจนกระทั่งถึงการพรมน้ำที่เท้าเป็นอันเสร็จพิธีขบวนการแห่ขันหมาก เมื่อเข้าไปในบ้านเจ้าสาวก็จะมีการรับขันหมากตามประเพณี ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องจ่ายให้คนที่อุ้มขันหมากเอกและขันหมากโทด้วย แต่เน้นให้เงินขันหมากเอกมากกว่า ตอนเช้าทำบุญเลี้ยงพระ เจ้าบ่าวเจ้าสาวร่วมกันประเคนอาหารถวายพระ เมื่อพระฉันเสร็จและถวายของแล้ว จึงกรวดน้ำร่วมกัน จากนั้นคู่บ่าวสาวจะไหว้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย เพื่อแสดงความคารวะนบนอบต่อบิดามารดาและบรรดาญาติผู้ใหญ่ โดยเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะกราบลงพร้อมกันที่หมอนสามครั้งถ้าผู้รับไหว้เป็นบิดามารดาหรือผู้หลักผู้ใหญ่ แต่หากเป็นญาติคนอื่นๆ ก็จะกราบหนึ่งครั้งโดยไม่ต้องแบมือ จากนั้นจึงส่งพานดอกไม้ ธูปเทียนให้ พ่อแม่ก็จะรับไหว้และให้ศีลให้พรแก่คนทั้งคู่ หลังจากรับไหว้ผู้ใหญ่ก็จะส่งเงินในพานให้บ่าวสาวเพื่อเป็นเงินทุนขั้นตอนนี้ญาติพี่น้องอาจจะสมทบทุนเพิ่มให้ด้วยตามอัธยาศัย ต่อจากนั้นก็ช่วยกันนำถั่วงาและแป้งมาประพรมอวยพร

พิธีรับไหว้

การทำพิธีรับไหว้นี้จัดขึ้นเพื่อแสดงความคารวะนบนอบต่อบิดามารดาและบรรดาผู้ใหญ่ นอกจากนี้เงินที่ไดจากพิธีรับไหว้ ถือว่าเป็นเงินทุนให้แกคู่บ่าวสาวอีกด้วย เหมือนกับพิธียกน้ำชาในการแต่งงานแบบคนจีน สำหรับสถานที่ในการจัดงาน เน้นนิยมความสะดวกของคู่บ่าวสาว คือจัดเก้าอี้ หรือสื่อไว้ ผู้ใดจะทำพิธีไหว้ก็มานั่งลงในสถานที่นั้นต่อหน้าคู่บ่าวสาว พอทำพิธีเสร็จก็ลุกออกไป เพื่อให้ผู้อื่นเข้ามาทำพิธีรับไหว้ต่อซึ่งการไหว้นั้นเรียงตามอาวุโส ส่วนใหญ่พ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นเจ้าภาพจะให้เกียรติโดยให้ฝ่ายชายก่อน หรือจะให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก่อนก็ได้ ไม่เคร่งครัดในเรื่องนี้เท่าไร พิธีการรับไหว้ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงหรือชายไปนั่งคู่กันในที่จัดไว้ เจ้าบ่าวเจ้าสาวเจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งนั่งตู่กันอยู่ตรงข้าม จะกราบลงพร้อมกันที่หมอนสามครั้งรวมทั้งผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายถ้าหากเป็นญาติคนอื่นๆกราบหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องแบมือ แล้วส่งพานดอกไม้ธูปเทียนให้ พ่อแม่รับและให้ศีลให้พรอวยพรทั้งคู่ หลังจากนั้นหยิบด้วยมงคลหรือสายสิญจน์เส้นเล็กๆผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาวแสดงการรับไหว้ หลังจากทำพิธีรับไหว้เสร็จ อาจมีการเพิ่มทุนให้แกคู่บ่าวสาว โดยนำพานใส่ใบเงินใบทองมาวางไว้นำเงินรับไหว้มาทับข้างบน ต่อจากนั้นพ่อแม่ญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายที่มีความประสงค์จะมอบเงินเพิ่มทุนให้แก่คู่บ่าวสาว ก็ใส่เพิ่มตามพอใจ ต่อจากนั้น จึงนำถั่วงาและแป้งประพรมพร้อมอวยพร

พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว

ตามธรรมเนียมไทย เมื่อทำพิธีหรืองานมงคลใดๆก็ตาม ย่อมต้องมีการทำบุญสร้างกุศลมาเกี่ยวข้องเสมอ เพื่อเป็นการสร้าง ศิริมงคล และนี้ก็เช่นกันการร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว ซึ่งนิยมทำกันหลังจากพิธีรับไหว้ คือเจ้าภาพจะนิยมพระมาสวดเจริญพุทธมนต์และรับอาหารบิณฑบาต คู่บ่าวสาวตักบาตรทัพพีเดียวกันตักบาตรพร้อมกัน วิธีการจับทัพพีด้วยการแก้เคล็ดด้วยการจับที่คอทัพพีอย่างนี้ไม่มีใครเหนือใครเสมอภาคแบบนี้ เกี่ยวกับการนิมนต์พระมาสวด แต่ก่อนนิยมเป็นคู่แต่ปัจจุบันนิยม 9 องค์ เป็นเพระประธานเป็นองค์ที่ 10เลขมงคล หมายถึงความเจริญก้าวหน้า โดยนับ การตักบาตรอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น เพื่อเป็น ศิริมงคล

 

 

 

พิธีรดน้ำสังข์

  ถือเป็นการอวยพรความสุขให้คู่บ่าวสาว โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่จะรดให้เจ้าสาวก่อนแล้วจึงรดให้เจ้าบ่าว หลักจากเสร็จพิธีแล้วหากฝ่ายใดลูกขึ้นยืนก่อนก็จะสามารถอยู่เหนือกว่าคู่ของตนเหมือนดังความเชื่อในเรื่องตักบาตรของบ่าวสาวนั่นเอง  พิธีรดน้ำจะต้องมีโต๊ะหมู่บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล ปกติจะอยู่ทางขวาของเจ้าบ่าว เมื่อถึงฤกษ์ที่กำหนด คู่บ่าวสาวจะเข้าไปในห้องพิธีพร้อมเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวฝ่ายละ 2 คน จะมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าสาวนำคู่บ่าวสาวไปจุดเทียนชัย ปักธูปและกราบพระที่โต๊ะหมู่บูชา แล้วญาติผู้ใหญ่ก็จะพาคู่บ่าวสาวไปนั่งบนตั่งที่จัดไว้ วางแขนลงบนหมอน ยื่นมืออกไปพนมตรงขันรองน้ำโดยหญิงนั่งทางซ้าย ชายนั่งทางขวา ก้มศีรษะลงเล็กน้อย เชิญผู้ใหญ่ที่เป็นประธานมาประกอบพิธีรดน้ำ ประธานสวมพวงมาลัยให้คู่บ่าวสาว รับมงคลคู่มาจบเสร็จแล้วสวมที่ศีรษะของคู่บ่าวสาวคนละข้างและรับโถแป้งกระแจ เอานิ้วหัวแม่มือขวาแตะแป้งที่ผสมน้ำหอมและน้ำมนต์ เจิมลงหน้าบ่าวสาวคนละ 1 แต้มหรือ 3 แต้มก็ได้ พร้อมทั้งอวยพร ต่อจากนั้นก็เชิญแขกเข้ารดน้ำตามลำดับ เสร็จจากการรดน้ำสังข์แล้วเจ้าภาพจะปลดมงคลคู่เอง หรือจะเชิญประธานหรือผู้อาวุโสคนใดปลดก็ได้แล้วมอบให้คู่บ่าวสาวเพื่อนำไปเก็บไว้บนหัวเตียงนอนของตน หลังจากเสร็จพิธีรดน้ำสังข์หรือหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพรแล้วก็มีการเลี้ยงฉลองพิธีแต่งงาน สำหรับญาติและแขกที่มาร่วมในงานก็เสร็จพิธี แล้วรอฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาวให้เจ้าบ่าว ทั้งนี้ก็จะมีพิธีบ้างเล็กน้อยตามประเพณีของตน เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือพาเจ้าสาวส่งให้แก่เจ้าบ่าว พร้อมกับอบรมเจ้าสาวให้เคารพนับถือยำเกรง ซื่อสัตย์ต่อสามี และอบรมเจ้าบ่าวให้รักใคร่ เลี้ยงดูซื่อสัตย์ต่อภรรยา และปฏิบัติต่อภรรยาอย่างเหมาะสมกับหน้าที่ของสามีที่ดี แล้วเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะกราบผู้ใหญ่ อาจจะมีพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายให้โอวาทต่อไป เจ้าบ่าวก็จะกราบพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย ก็เสร็จพิธีทุกคนจะออกจากห้องหอให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวอยู่กันตามลำพัง จะได้พักผ่อนเพราะเหนื่อยในงานพิธีมามากแล้ว  พิธีรดน้ำ อาจจะทำได้หลายกรณีแล้วแต่ความสะดวกและความเหมาะสมของทั้งสองฝ่าย จะทำพิธีรดน้ำในตอนเช้าหลังจากทำพิธีทางศาสนาแล้ว โดยรดเฉพาะญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือจริง ๆ จะมีจำนวนไม่มากนัก หลังจากนั้นก็เลี้ยงฉลองพิธีแต่งงานสำหรับแขกที่มาในงานก็เสร็จพิธี หรือจะทำพิธีรดน้ำในตอนเย็นเพื่อเป็นการให้ความสะดวกแก่แขกที่มาในงาน แล้วจึงฉลองพิธีแต่งงานก็ได้ คู่บ่าวสาวควรจะไปถึงสถานที่ประกอบพิธีก่อนเวลาพอสมควร

พิธีส่งตัวบ่าวสาว..เข้าห้องหอ

        พิธีการส่งตัวเข้าหอ ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวต้องจัดเตรียมปูที่นอนหมอนมุ้งไว้เรียบร้อย แต่ก่อนที่จะส่งตัวเจ้าบ่าวและเจ้าสาวเข้าสู่ห้องหอ ต้องมีพิธีปูที่นอน โดยเชิญสามีภรรยาที่เป็นที่นับถือ อยู่กินกันมาไม่เคยทะเลาะวิวาททุบตีกัน ครั้งถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว เมื่อผู้ใหญ่พาเจ้าสาวเข้าไปส่งตัวต้องมีการให้โอวาทแก่เจ้าสาวให้รู้จักเอาใจปรนนิบัติ ฝากเนื้อฝากตัวกับสามี และสอนให้เจ้าบ่าวเอาใจภรรยา ถนอมน้ำใจ รักใครกัน จนถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร แล้วมอบตัวเจ้าสาวให้เจ้าบ่าว เจ้าสาวเจ้าบ่าวกราบผู้ใหญ่เป็นเสร็จพิธี   เมื่อได้ฤกษ์ทำพิธี ผู้ทำพิธีก็จะจัดแจงปูที่นอน จัดหมอน ผ้าห่ม พอถึงฤกษ์เรียงหมอน ผู้ทำพิธีก็จะหยิบเอาสิ่งของมงคลต่างๆ มาวางไว้บนที่นอน ได้แก่ หินบดยา (มีน้ำใจหนักเหมือนศิลา)  ฟักเขียว (ให้คู่บ่าวสาวมีใจเย็นเสมือนฟัก) ถั่วงา ข้าวเปลือก (มีความเจริญวัฒนา) หรือในสมัยนี้มักจะนิยมใช้แค่โรยกลีบดอกไม้ลงบนที่นอน จากนั้นผู้ทำพิธีฝ่ายชายก็จะล้มตัวลงนอนทางด้านขวา ฝ่ายหญิงนอนทางด้านซ้าย เป็นการนอนเพื่อเอาเคล็ดแล้วจึงลุกขึ้นโดยแสร้งทำเป็นเพิ่งตื่นนอน ฝ่ายหญิงจะพูดในสิ่งอันเป็นมงคล ฝ่ายชายก็ปลอบขวัญและพากันลุกออกไป         ปัจจุบัน การแต่งงานมักไม่มีการสร้างเรือนหอ เจ้าบ่าวก็เลยไม่ต้องนอนเฝ้าหอ ให้ต้องว้าเหว่ในหัวใจแต่งงาน แล้วส่งตัวกันในคืนนั้นทีเดียว รวบรัดสั้นเข้า พิธีมงคลแต่งงาน ก็เป็นอันยุติเพียงนี้

 

จะหย่าจะแต่ง..ก็ต้องรู้ไว้ "สินสมรส-สินส่วนตัว"

เงินทองเป็นของนอกกาย แต่ก็น้อยคนนักที่จะหักใจ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง หรือ พ่อแม่ลูกก็ตาม เงินก็ทำให้ความรักของ คนเหล่านั้นหดหายไปได้หลายคู่ที่แต่งงานโดยไม่ได้คำนึงถึงเธอรวย หรือ ฉันจน หรือใครจะคุมกองคลังของครอบครัว แต่เมื่อความรักล่มสลาย ทั้งสองฝ่ายต่างต้องประหลาดใจที่กฎหมายระบุต่างจากที่น่าจะเป็น หลายรายเป็นฝ่ายเข้ามาควบคุมกำกับดูแลการใช้จ่ายในครอบครัว แต่เอาเข้าจริงกลับต้องสูญเสียสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิของตัวเอง เพราะกฎหมายกับความเข้มใจนั้นเป็นคนละเรื่องเดียวกัน

เมื่อแต่งงานกันแล้ว ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรเป็นส่วน คือ

 1. ส่วนที่เป็นสินสมรส (คือ เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง) กับ

 2. ส่วนที่เป็นสินส่วนตัว (คือ เป็นทรัพย์สินของใครของมัน ไม่กระเด็นไปยังภรรยาหรือสามี) 

แต่อาจจะสับสนบ้างว่า อย่างไหนที่จะส่วนตัว อย่างไหนที่จะร่วมกันเป็นเจ้าของตามกฎหมาย

สินสมรส” คือทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และบรรดาที่เป็นสินส่วนตัวด้วย ส่วนสินส่วนตัวนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือบรรดาที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหลาย จนถึงเครื่องประดับตามฐานะ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่านอกจากนั้นแล้ว กฎหมายยังขยายความถึงทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสที่มีคนยกให้ หรือได้มรดกมาด้วย แต่ถ้ายกให้หรือเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรสเรามักได้ยินข่าวที่พ่อแม่ไม่อยากยกที่ดินให้ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว เพราะกลัวจะกลายเป็นสินสมรส แท้จริงแล้ว การยกให้ในระหว่างสมรส ไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรส เว้นเสียแต่ระบุในหนังสือยกให้ว่าเป็นสินสมรส ยิ่งถ้าเป็นมรดกก็แน่นอนที่จะเป็นสินส่วนตัว คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งในสินส่วนตัวต่อเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว สินส่วนตัวจึงกลายเป็นมรดก เวลาจะแต่งงานก็ไม่ค่อยคิดเรื่องนี้ จะมานึกออกก็ตอนต้องแบ่งสมบัติ ซึ่งมักจะแบ่งตอนที่ฝ่ายหนึ่งอยากหย่ากับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เป็นเรือนหอของเขาและเธอที่เคยสร้างด้วยเงินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่ง หรือจากการที่พ่อแม่ของฝ่ายหนึ่งยกให้เป็นของขวัญแต่งงาน แบบนี้ไม่เหมือนการให้ของขวัญในวันฉลองแต่งงานที่ถือซอง ถือของกันมาเอิกเกริก อย่างนั้นเป็นการให้ที่ชัดเจน ให้แก่คู่บ่าวสาวทั้งสองเนื่องในโอกาสแต่งงาน เป็นสินสมรสแน่นอน แต่ถ้าให้ที่ดิน บ้าน จะให้แน่ต้องสืบตามที่กฎหมายว่าไว้ก็คือ การให้จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการให้ที่สำนักงานที่ดิน และในการให้ที่จะเป็นสินสมรสนั้น กฎหมายก็เขียนไว้ชัดแจ้งว่า การให้เป็นหนังสือยกให้ต้องระบุว่าเป็นสินสมรส ซึ่งจะเป็นสินสมรส ดังนั้น ถ้าจะให้ใครคนหนึ่งหรือจะให้ทั้งสอง ก็ควรระบุให้ชัดเจนยกตัวอย่าง เช่น เสกสรรมีเงินฝากในธนาคารก่อนแต่งงาน เป็นเลข 6 หลัก เขาไม่คิดจะปกปิดภรรยาเพราะทราบดีว่า ถึงรู้ไปก็ไม่น่าเดือดร้อน เพราะเขามีบัญชีร่วมระหว่างเขากับภรรยาแล้ว ส่วนบัญชีเดิมเป็นสินส่วนตัวของเขา แต่หลังจากที่เขากับเธอมีปัญหาจนถึงขั้นแยกทางกัน เงินในบัญชีส่วนตัวของเขาก็ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งสมบัติ และนำไปสู่การฟ้องศาลตามกฎหมาย แม้เงินฝากที่ธนาคารในบัญชีของเสกสรร จะเป็นเงินส่วนตัวที่มีก่อนสมรส แต่ในการฝากเงินย่อมต้องมีดอกผลงอกเงย ภรรยาของเสกสรรไม่ลืมข้อนี้ เธอจึงอ้างเอาดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นสินสมรสมาขอแบ่งด้วย เมื่ออยู่ด้วยกันกว่า 6 ปี จึงมีเงินฝากหลายล้าน งานนี้อดีตคุณผู้หญิงของเสกสรรมีส่วนแบ่งจากดอกเบี้ยไม่น้อยทีเดียวชื่อที่ปรากฏในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้สินสมรสกลายเป็นสินส่วนตัว เพราะกฎหมายกล่าวว่า ถ้ากรณีที่สงสัยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ฝ่ายที่เถียงว่าไม่ใช่ ต้องมีภาระหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ ถ้าเสกสรรเห็นว่า ตัวเองทำงานงกเงินอยู่คนเดียว จึงสมควรควบคุมดูแลด้านการเงินทุกอย่างอยู่ในชื่อตัวเขาเอง เงินทองทรัพย์สินเหล่านนั้นก็ยังเป็นสินสมรสอยู่ดี แม้จะไม่มีชื่อภรรยาปรากฏอยู่ก็ตามไม่ว่าจะมีชื่อใครอย่างไร แต่เมื่อเป็นสินสมรสแล้ว กฎหมายให้อำนาจทั้งสองฝ่าย ในการจัดการทรัพย์สินนั้นได้โดยอิสระ ไม่ต้องมาขออนุมัติก่อน เว้นแต่เสียบางเรื่องที่อาจจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว กฎหมายก็จะบังคับให้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งอีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ อานนท์ ทำงานเป็นนิติกร อยู่ฝ่ายเร่งรัดหนี้สินในบริษัทแห่งหนึ่ง เขาได้อาศัยโอกาสเกี่ยวข้องเรื่องที่ดินนำมาซื้อขายอยู่เนืองๆ แต่ภรรยาของเขาไม่รู้เรื่องนี้เท่าใดนัก รู้เพียงว่า อานนท์ มีที่ดินอยู่ในเมืองหลายแปลง ปล่อยขายได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่เธอก็สงสัยว่า ทำไมไม่มีการมาขออนุญาตตามกฎหมายจากเธอ ในทางปฏิบัติ เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีวันรู้ว่า อานนท์ แต่งงานหรือไม่ เพราะไม่ได้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ดังนั้น ในการขายที่ดิน เขาจึงลอยตัวโดยแสดงต่อเจ้าพนักงานว่าตนเป็นชายโสด เว้นเสียแต่จะมีหลักฐานปรากฏให้เห็น เช่น สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่หลังเดียวกับลูกๆ และระบุชื่อแม่ของลูกไว้ (การแจ้งเท็จมีความผิดทางอาญา) ซึ่งถ้าถือตามกฎหมายแล้ว การขายที่ดินที่เป็นสินสมรส (เพราะได้มาในระหว่างแต่งงาน) จะต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาเขาแต่ในการซื้อนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ คงเป็นเพราะการซื้อของเข้าบ้าน น่าจะเป็นการทำให้หลักทรัพย์ของครอบครัวมากขึ้น ไม่กระทบถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว จึงไม่ต้องขอความยินยอมหรือกรณีที่สามีมีภรรยาหลายบ้าน และถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินขอให้จัดการให้สามีเซ็นยินยอมในการซื้อที่ดิน ถ้าหย่าก็ต้องเอาใบหย่ามา  ถ้าเป็นหม้ายก็เอามรณะบัตรมา  ซึ่งตามกฎหมายแล้ว การซื้อที่ดินไม่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรส  โดยอาจเป็นระเบียบภายในที่ทำกันไว้ในยุคที่ใช้กฎหมายเก่า ซึ่งกำหนดให้ภรรยาไม่มีความสามารถทำนิติกรรมถ้าสามีไม่อนุญาตแล้วถ้างุบงิบซื้อที่ดินให้มือที่สาม หรือมีการโยกบัญชีซุกหุ้นที่ซื้อมาให้สาวอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาแล้ว บรรดาภรรยาหลวงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะตามล้างตามล่ากันได้

 สัญญาก่อนสมรส

กว่าจะแต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝากับเขาสักที อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายคน ก่อนตัดสินใจแต่งงานก็มีการสาบานว่าจะรักกันวันตาย สัญญากันไว้ในเรื่องความรักความซื่อสัตย์จนจำไม่หวาดไม่ไหว  ว่าได้สัญญาอะไรไปบ้าง แต่มีอยู่อย่างที่เริ่มนิยมกัน ก็คือ การทำสัญญาเอาไว้ในเรื่องทั้งหลายของคู่บ่าวสาว รวมทั้งเรื่องของทรัพย์สินเงินทองถ้าทำสัญญาระหว่างสมรสกันในเรื่องทรัพย์สินแล้ว อย่าได้เอาโล้เอาพายอะไรมากมาย หากทำไปเพราะมีการบอกล้างกันได้ ภรรยาทั้งหลายจึงใช้ทำเสียก่อนแต่งงานซึ่งก็เป็นการดี แต่ขอบอกอีกหน่อยว่า แม้จะทำอย่างนี้ก็คงมีขั้นตอนบางอย่าง

สัญญาก่อนสมรส ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินอีกนั่นเอง  ข้อตกลงพวกนี้ไม่เพียงจะลงชื่อพร้อมพยานเท่านั้น จะต้องนำไปจดแจ้งไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนสมรสด้วย จะทำแบบไหนไม่ว่า เช่น ทำเป็นหนังสือสัญญาแล้วนำไปจดในทะเบียนสมรส หรือให้เจ้าหน้าที่นายทะเบียนจดแจ้งให้ก็ได้  การจดแจ้งนี้ต้องทำพร้อมการจดทะเบียนสมรส แน่นอนว่าถ้าทำก่อนก็คงไม่มีใครเขาทำให้ แต่ถ้าทำหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว สัญญานั้นก็จะกลายเป็นสัญญาระหว่างสมรสไป และถ้าไม่จดแจ้งแทงเอาไว้กฎหมายก็ให้สัญญานั้นเป็นโฆษะ ของพรรค์นี้อยู่ที่ศิลปะในการเจรจาว่า จะทำสัญญากันก่อนดีมัย และจะตกลงกันอย่างไรในเรื่องของทรัพย์สิน และต้องให้แน่ใจว่า ใช่อย่างที่ต้องการ เพราะขืนทำไว้แล้ว อยู่ๆกันไปจะมาขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข ใช่ว่าจะทำได้เลย ต่อให้ทั้งสองฝ่ายยินยอมเต็มใจอย่างไร กฎหมายก็ไม่ยอมให้แก้ไขกันง่ายๆ เดี๋ยวไม่ศักดิ์สิทธิ์ จะต้องมีขั้นตอนที่ต้องไปทำที่ศาล   โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาตเสียก่อน เมื่อศาลตรวจสอบพิจารณาโดยไต่สวนสอบถามความนัยแล้ว จึงมีคำสั่ง จากนั้นก็นำคำสั่งไปแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส เห็นหรือยังว่ามันขลังขนาดไหน มีผลผูกผันแน่นแฟ้น ต่อกันขนาดที่พร้อมใจกันเปลี่ยนแปลงแก้ไข ยังต้องให้ศาลมาดูแลเสียก่อนเลย แต่ถึงจะเข้มขนาดไหน กฎหมายก็ไม่ให้กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต แม้จะได้จดแจ้งไว้ในทะเบียน ซึ่งเก็บไว้ที่หน่วยราชการ การจดไว้ในทะเบียนนั้น เพื่อประโยชน์ระหว่างคู่สามีภรรยาเท่านั้น คนนอกไม่ต้องเขามาผูกพันรับผิดชอบได้เสียด้วยเช่น ทำสัญญาก่อนสมรสกันว่ากระเป๋าของใครของมัน ถ้าฉันหาเงินได้ให้เป็นสินส่วนตัวของฉัน ของเธอก็เช่นกัน ถ้ามีลูกกัน ก็ให้เป็นภาระร่วมกันคนละครึ่ง พอแต่งงานแล้ว ต่างก็ขยันหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง สามีนำเงินขอ

หมายเลขบันทึก: 481385เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2012 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท