กิจกรรมบำบัด กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)


โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง - Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) เป็นโรคไม่ติดต่อ เป็นโรคที่เกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ4 ในปี พ.ศ. 2545 คน 2.75 ล้านคน / ร้อยละ 4.8 ของการเสียชีวิตทั่วโลก นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายยังสูงในการรัก ดังนั้นจึงมองว่ากิจกรรมบำบัดจะมีส่วนช่วยยังไง ?

 

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง - Chronic obstructive pulmonary disease (COPD)

คือกลุ่มของโรคที่ทำให้มีความผิดปกติของทางเดินหายใจ จนมีการแคบลงอย่างเรื้อรัง ซึ่งโรคนี้เป็นโรคไม่ติดต่อ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดอันดับ 4 ในปี พ.ศ.2545 และเป็นโรคที่ใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงอีกด้วย

สาเหตุ

-          สูบบุหรี่

-          มีประวัติเคยเป็นวัณโรค

-          ติดเชื้อ HIV จากการสูบบุหรี่

-          การใช้ถ่าน ฟืน

-          การทำเหมืองแร่ ถ่านหิน

-          สูดดมมลพิษในอากาศ

-          จากพันธุกรรม

อาการ

          ระยะที่ 1 Mild COPD: ไอเรื้อรัง มีเสมหะ

            ระยะที่ 2 Moderate COPD: ไอเรื้อรัง มีเสมหะ เหนื่อย หอบเวลาออกแรง

            ระยะที่ 3 Severe COPD: หอบเหนื่อยแม้เวลาพัก มีภาวะหัวใจล้มเหลว หอบบ่อยรุนแรง

            ระยะที่ 4 Severe acute exaceration: หอบเหนื่อยขณะพัก มีการใช้กล้ามเนื้อเสริมการหายใจ

คุณภาพชีวิตในผู้ป่วย COPD

            ด้านร่างกาย – อาการหายใจเหนื่อยหอบเริ่มรุนแรง ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ ความสามารถในการทำงานของร่างกาย และความทนทานของร่างกายลดลง

            ด้านจิตสังคม – การทำกิจวัตรประจำวันทำได้ลดน้อยลง และส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในสังคมด้วย เนื่องจากกลัวการต่อต้านจากคนในสังคม ทำให้ขาดความมั่นใจ

            ด้านเศรษฐกิจ – การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องทำให้ขาดบทบาทการทำงาน ไม่มีรายได้ และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

-            คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยเน้นถึงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเป็นหลัก จากนั้นให้เสริมแรงจูงใจโดยการหากิจกรรมที่ชอบมากระตุ้นความสามารถ โดยกิจกรรมนั้นๆต้องไม่หนักมาก และควรสังเกต Heart rate, breathing rate, and oxygen saturation ตลอดการทำกิจกรรม จากนั้นวางแผนการรักษา

 

-          ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแบบประยุกต์

  • ออกกำลังกายร่างกายส่วนบนโดยการใช้แรงต้าน (resistance exercise)

-          ทำการประเมินซ้ำเพื่อนำข้อมูลการบำบัดมาวิเคราะห์ และวางแผนการรักษาเพิ่มเติมกับสหวิชาชีพอื่นๆต่อไป

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 481371เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2012 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท