Children with Mental Retardation


คนที่มีภาวะบกพร่องเมื่อได้รับการเปิดโอกาสและให้ความช่วยเหลือ เรากับเขาคือความเท่าเทียมกัน ;]

Children with Mental Retardation

Mental Retardation (MR) แปลว่า ความบกพร่องด้านสติปัญญา หรือ Intellectual Disabilities (ID) แปลว่า ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ในนิยามทางการแพทย์ 2 คำนี้ใช้แทนกันได้ C:

การวินิจฉัยว่าบุคคลมีภาวะ MR หรือ ID หรือไม่ พิจารณาจาก 3 ส่วน ได้แก่ การมีระดับเชาวน์ปัญญา(IQ)ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย (เกณฑ์ของบุคคลทั่วไปอยู่ระหว่าง 90-110) มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่องมากกว่า 1 ด้านจากทั้งหมด 10 ด้าน ซึ่งได้แก่ Communication, Self-care, Home living, Social and Interpersonal Skills, Use of Community Resources, Self- direction, Functional Academic Skills, Leisure, Work, Health and Safety และมีอาการแสดงก่อนอายุ 18 ปี ดังนั้นบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจึงหมายถึงเด็ก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กที่เกิดมามีภาวะเช่นนี้เป็นได้จากปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome), ความผิดปกติในพัฒนาการของทารกระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น มารดารับประทานอาหารไม่เพียงพอส่งผลให้ทารกขาดสารอาหาร มารดาสูบบุหรี่หรือรับประทานยาที่มีผลต่อทารก, ปัญหาต่างๆในระยะตั้งครรภ์และคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนหรือเลือดระหว่างครรภ์, ปัญหาต่างๆในระยะหลังคลอด เช่น มีการเกิดโรคลมชักส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน, ปัจจัยต่างๆจากสิ่งแวดล้อมและความผิดปกติทางจิตใจ เช่น การอยู่สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี-ครอบครัวแตกแยก มีปัญหาที่กระทบกระเทือนจิตใจ การเลี้ยงดูที่ผิดแปลกของผู้ปกครอง

แบ่งประเภทของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาตามระดับเชาว์ปัญญา คือมากกว่า 50 ขึ้นไปแสดงว่าสามารถให้การศึกษากับเด็กได้ และหากต่ำกว่า 50 ควรเน้นให้ฝึกทักษะการทำกิจกรรมในชีวิตเพื่อให้เด็กดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง

แบ่งประเภทของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาตามความรุนแรง คือ

  • น้อย (Mild) >> สามารถเรียนรู้ได้แม้ยากลำบาก สร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น ทำประโยชน์แก่สังคมได้
  • ปานกลาง (Moderate) >> สามารถฝึกทักษะบางอย่างได้บ้าง การเรียนรู้สูงสุดได้ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 2
  • รุนแรง (Severe) >> อยู่ในกลุ่มที่ต้องพึ่งพิง มักมีปัญหาการเคลื่อนไหว การพูดและภาษา รวมอยู่ด้วย
  • รุนแรงมาก (Profound) >> ต้องได้รับการช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง มักมีปัญหาในด้านการดูแลตนเอง การขับถ่าย การสื่อสาร การเคลื่อนไหว

 

ภาวะนี้ส่งผลต่อพัฒนาการ ด้านร่างกาย(Physical) เช่น กล้ามเนื้อมัดเล็ก/มัดใหญ่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ด้านความคิด(Cognitive)ที่แก้ไขปัญหาได้ ไม่ทราบว่าความเป็นเหตุเป็นผลคืออะไร ด้านอารมณ์(Emotion)ที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ด้านสังคม(Social)ที่อยู่กับคนทั่วไปได้ปกติและสร้างสัมพันธภาพได้ไม่ดีเท่าที่ควร ด้านจิตวิญญาณ(Spiritual)ที่ไม่ทราบว่าจะดำเนินชีวิตตามจริยธรรมที่ดีได้อย่างไร

 

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด  เช่นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กโดยการหยิบช้อนทานอาหาร การร้อยลูกปัด ฝึกการประสานงานกันของตากับมือ ฝึกการพูดสื่อความหมายให้พูดชัดมากขึ้น ฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพในผู้ที่มีภาวะไม่รุนแรง ฝึกให้ตรงต่อเวลา รับและทำตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องให้ผู้อื่นช่วย และสนับสนุนให้ได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมร่วมกับคนทั่วไป

ขอบคุณการบรรยายดีๆจากนางสาวเพ็ญศรี สิงพันธ์ นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล C:

หมายเลขบันทึก: 481088เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2012 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท