บันทึกการเดินทาง....สู่อินเดีย


ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก มีทั้งคนรวยและจน แต่สัดส่วนคนจนจะมากกว่ามาก ความเจริญของแต่ละพื้นที่ก็ไม่เท่าเทียมกัน

สิ่งที่ได้จากการไปสังเวชนียสถานประเทศอินเดีย

 

สิ่งภายนอกที่ได้เรียนรู้       ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก มีทั้งคนรวยและจน แต่สัดส่วนคนจนจะมากกว่ามาก ความเจริญของแต่ละพื้นที่ก็ไม่เท่าเทียมกัน  ในชนบทมีความลำบากทั้งความเป็นอยู่ของผู้คน การคมนาคม ถนนหนทางเล็กและแคบ ขรุขระ สรรพชีวิต ใช่เพียงแต่คนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้ถนน

        วัฒนธรรมการเป็นอยู่ของชาวชนบทเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่ต้องมีส้วม การขับถ่ายตามริมถนน ตามท้องทุ่งพบเห็นได้ตลอดเวลา ในบ้านไม่มี โทรทัศน์ วิทยุ หรือโทรศัพท์ไว้รับข่าวสารหรือสื่อสารข้อมูลจากภายนอก สังคมยังมีระบบแบ่งชั้น วรรณะ  ซึ่งเป็นที่สงสัยว่ายังมีการดำรงชีวิตเช่นนี้อยู่ได้อย่างไร ทำไมเขาถึงยังมีความสุข ยังยิ้มได้ หรือนี่เองคือความพอเพียง และทำไมถึงไม่เกิดโรคระบาดรุนแรง หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารให้เห็นมากมายนัก

 

ความเชื่อ และการนับถือที่สืบทอดกันมา ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรม เช่นความเชื่อเรื่องแม่น้ำคงคา มีประชาชนมาทำทุกสิ่งทุกอย่างกับแม่น้ำคงคา มาอาบน้ำ ดื่มกินน้ำ มาเผาศพ ลอยเถ้ากระดูก ลอยสรีระของคนที่ตายแล้ว มีโรงแรมสำหรับคนที่ใกล้จะตาย หรือการนับถือวัวเป็นเทพเจ้าก็เช่นกัน ทำให้ชาวอินเดียไม่รังเกียจอุจจาระวัว ปั้นเป็นแผ่นๆด้วยมือเอามาตากแห้งใกล้บ้าน ตามฝาบ้าน กำแพง ต้นไม้ เต็มไปหมด ไม่เว้นแม้แต่ในเมืองใหญ่ เช่น พาราณาสี หรือ เดลลี วัวเต็มไปหมดบนท้องถนน หรือแม้แต่เอาวัวไปเลี้ยงในบ้าน

ความเจริญสูงสุด ต่อมาก็จะมีความเสื่อมตามมา เช่นศาสนาพุทธ สมัยพระพุทธเจ้า และหลังสมัยพระพุทธเจ้า 200-250 ปี เป็นช่วงที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศกำเนิดพุทธศาสนา เราได้พบเห็นหลักฐานที่แสดงถึงว่าพระพุทธเจ้ามีจริง และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในช่วงนั้นเป็นอย่างดี เช่น สถูปตามสังเวชนียสถาน เจดีย์พุทธคยา มหาวิทยาลัยนาลันทา จวบจนกระทั่งมีกษัตริย์ หรือบุคคลในศาสนาอื่นเข้ามาทำลายศาสนาพุทธ จนเกือบทำให้ศาสนาพุทธหายไปจากอินเดีย แผ่นดินจากต้นกำเนิดเลยที่เดียว ปัจจุบันคนอินเดียนับถือศาสนาพุทธไม่ถึง 1 % ด้วยซ๊ำไป

อ่านบทความเพื่อเติมได้ที่  เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ (คศน.)

นพ.ปวิตร  วณิชชานนท์ คศน. 003

ขอขอบคุณภาพประกอบจากผู้นำ คศน. ทุกท่าน

หมายเลขบันทึก: 481057เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2012 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท