กิจกรรมบำบัดกับภาวะซึมเศร้า (Major depression)


ภาวะซึมเศร้าและบทบาทนักกิจกรรมบำบัด

Major Depression (โรคซึมเศร้า)

เป็นโรคมีการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น การเบื่อหน่าย เศร้า ร้องไห้ง่าย ซึ่งอาการต่างๆ นี้ ก็สามารถส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น การดูแลตัวเอง, การพักผ่อน, การทานอาหาร เป็นต้น

สาเหตุ
อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ครอบครัว, สิ่งแวดล้อม, โฮโมน, สารเสพติด รวมถึงการปรับตัวไม่ได้อีกด้วย

อาการ
จะส่งผลต่อสภาพจิตใจทำให้รู้สึกท้อแท้, หมดหวังในชีวิต, เศร้าเสียใจ ทำให้หมดแรงกระตุ้นในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

การป้องกันควรดูแลคนรอบข้างคนในครอบครัวให้ดี มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกล้ายอมรับ กล้าพูดคุย และเข้าใจกัน ควรสังเกตคนใน ครอบควรอยู่เสมอ หากมีอาการหรืออารมณ์ผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ผลกระทบของโรค
ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาทั้งกับตัวผู้ป่วยเอง ผู้คนรอบข้างและกลายเป็นปัญหาสังคม และ การฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เกิดมาจากโรคซึมเศร้า  รวมถึงส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการดูแลตัวเองการพักผ่อน และอีกมากมาย

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด
PEOP Model

          Person : ผู้รับบริการมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมขั้นพื้นฐาน (BADL), การมีส่วนร่วมในสังคม, การทำกิจกรรมขั้นสูง (IADL) เป็นต้น
          Environment : สภาพแวดล้อมภายในบ้านและนอกบ้าน, ครอบครัว ซึ่งมีผลต่อผู้รับบริการ
          Occupation : จัดกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจ (Interest), ความต้องการในการทำกิจกรรมนั้น เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำกิจกรรม ลืมภาวะที่ซึมเศร้าไป, เสริมให้มีการทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับสังคม
          Performance : เกิดการทำกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ, สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้

                                     

หมายเลขบันทึก: 480930เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2012 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท