กิจกรรมบำบัดกับโรคเกาต์ (Gout)


โรคเกาต์และบทบาทนักกิจกรรมบำบัด

 

โรคเกาต์ (Gout)

 โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ผิดปกติทางพันธุกรรมพบในชายอายุ 30 ขึ้นไป พบในหญิงเล็กน้อยหรือหลังหมดประจำเดือนรายที่เรื้อรังการเกาะของเกลือ Monosodium urate จะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi นอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วยรักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

สาเหตุ

เกิดจากร่างกายมีกรดยูริก (uric acid) สะสมมากเกินไปการตกตะกอนของ กรดยูริก หรือ  ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ ที่ได้จากการย่อยสลายของสาร เพียวริน (Purine)ที่มีมากในเนื้อสัตว์ปีกเครื่องในสัตว์ และผักยอดอ่อน ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด และจะสะสมในข้อ

อาการ

มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง ร้อนและแดงและจะพบลักษณะจำเพาะ คือ ขณะที่อาการเริ่มทุเลาผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคัน 

โรคที่มักพบร่วมกับเกาต์

  • ข้อพิการ  กระดูกพรุน
  • ภาวะไตอักเสบเรื้อรัง และภาวะไตวาย
  • เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • หลอดเลือดแดงแข็ง
  • ไขมันในเลือดสูง

การรักษา

แนวทางการรักษาโรคเกาต์ ได้แก่ ให้ยาลดการอักเสบ ให้ยาลดกรดยูริคในเลือด ทั้งนี้การให้ยาต่างๆขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ การจำกัดอาหารมี กรดยูริค(สารพิวรีน) สูง และให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ เป็นต้น และปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ แต่ถ้าปล่อยเป็นเรื้อรัง จนเกิดไตวาย อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากไตวาย

การปฏิบัติตัว

  1. การรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  2. หยุด พักการใช้ข้อระยะที่มีการอักเสบ
  3. รับ ประทานอาหารโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ
  4. ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตรต่อวัน
  5. หลีกเลี่ยงอากาศเย็น
  6. ลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่อ้วน
  7. เมื่อมีอาการหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
  8. ดำเนินชีวิตอย่าให้เคร่งเครียดมากนัก

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

Domain & Process

          - Performance skills (ทักษะความสามารถ)
          - Context and Environment (บริบท และสิ่งแวดล้อม)

ICF

          - Activity limitations (ข้อจำกัดในการทำกิจกรรม)
          - Activity Participation (การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม) 

นักกิจกรรมมีบทบาทหลายๆด้าน เช่นการทำ Splint, Adaptive Device เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อต่อ, ความปลอดภัยในการทำกิจกรรมต่างๆ, การทำกิจกรรมเพื่อให้ลืมเรื่องความเจ็บปวดของร่างกาย เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 480928เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2012 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท