กิจกรรมบำบัดกับโรคไมเกรน


โรคไมเกรนและบทบาทนักกิจกรรมบำบัด

โรคไมเกรน (Migraine)

โรคที่มีความผิดปกติของการทำงานของเซลล์สมอง, การขยายตัวของหลอดเลือดในศรีษะ, ฮอร์โมน, และความผิดปกติของเกร็ดเลือด นอกจากนี้ยังรวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ รอบกะโหลก ได้แก่ ตา หู จมูก โพรงอากาศหรือไซนัส คอ และกระดูกคอ

อาการ

อาการของโรคสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระยะซึ่งมีความแตกต่างกันของระดับความรุนแรง อาการเบื้องต้นคือ เกิดอาการปวดศีรษะซ้ำๆกัน ซึ่งการปวดศีรษะนั้นมีความแปรปรวนได้มาก ทั้งความรุนแรงของอาการ ความถี่ และระยะเวลาของการปวดศีรษะ อาการศีรษะมักปวดข้างเดียว และมักมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเสมอ เช่น คลื่นไส้อาเจียน, หน้าซีดขาว มือเท้าเย็น อาจมีไข้สูง, ตาพร่ามัว กลัวแสง รับแสงไวกว่าปกติ, อาการทางประสาทสัมผัสต่างๆ, หงุดหงิดง่าย, ขาดสมาธิ สมองตื้อ, ปวดต้นคอ, คัดจมูกตาแดง, กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย, วิงเวียนหรือมึนงง และสุดท้ายคือ หมดสติ

การรักษา

  • การรักษาโดยการใช้ยา
  • การรักษาโดยการไม่ใช้ยา
    • Stress management program
    • Psychotherapy
    • Physiotherapy : เช่น การนวด, short wave diathermy, การประคบด้วยความร้อน
    • การฝังเข็ม (acupuncture)
    • Hypnotherapy

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

  •  ตรวจประเมินถึงความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับการรับความรู้สึก และตอบสนองของผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไมเกรน
  •  ถ้าพบว่าผู้รับบริการมีอาการล้า หรือเครียด ต้องหาสาเหตุ สอบถามข้อมูล หรือคำวินิจฉัยแพทย์ว่ามาจากสาเหตุใด
  •  เกิดจากความเครียด ก็ให้เข้ารับการบำบัดทางจิตใจ เช่น ให้พักผ่อนในห้องผ่อนคลายความเครียด หรือบำบัดความล้า เป็นต้น
  •  เกิดจากความผิดปกติที่เส้นเลือดในสมอง ขั้นรุนแรงควรให้แนวทางป้องกัน เช่น แนะนำการออกกำลังกาย การพักผ่อน    หากิจกรรมที่ชอบให้ทำ เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 480920เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท