กิจกรรมบำบัดกับโรคเบาหวาน (Diabetes)


โรคเบาหวานและบทบาทนักกิจกรรมบำบัด

 

โรคเบาหวาน (Diabetes)

เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือจากประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง ซึ่งอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆได้ เช่น ระบบประสาท, ตา, และไต เป็นต้น และสามารถแบ่งแยกประเภทของเบาหวานได้ออกเป็น 4 ประเภท

อาการ

  • ปัสสาวะบ่อย และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
  • หิวน้ำบ่อย
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ทั้งที่กินอาหารตามปกติ
  • การติดเชื้อ แผลหายช้า    
  • เห็นภาพไม่ชัด  ชาไม่มีความรู้สึก
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

นอกจากนี้ยังเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น โรคไต, เบาหวานเข้าตา, โรคหลอดเลือด,   หัวใจตีบ, อัมพาต, หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ประสาทอัตโนมัติเสื่อม เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยง

  • กรรมพันธุ์ 
  • อ้วน (มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25)
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmHg
  • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อายุมากกว่า45ปี

การรักษา

  • การเปลี่ยนพฤติกรรม การทานอาหาร, ออกกำลังกาย, ดื่มสุรา, สูบบุหรี่, การดูแลระดับน้ำตาลในเลือด, ความดัน
  • ยารักษาเบาหวาน

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

แนะนำเรื่องการควบคุมปริมาณน้ำตาล, การออกกำลังกาย หากผู้ป่วยไม่ชอบการออกกำลังกาย ควรใช้กิจกรรมที่ผู้ป่วยชื่นชอบและมีคววามสนใจแทนการออกกำลังกายแบบธรรมดา, ระวังเรื่องความปลอดภัยของระบบการรับความรู้สึก เพราะหากเกิดบาดแผลแล้ว จะทำให้บาดแผลหายช้า นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีภาวะซึมเศร้าซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต, การมีส่วนร่วมในสังคม ดังนั้นนักกิจกรรมจึงมีบทบาทที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน

 

หมายเลขบันทึก: 480899เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท